Categories
Technical Analysis การลงทุน

ทฤษฎี Dow Theory ต้นกำเนิด กราฟเทคนิค ที่มือใหม่ ห้ามพลาด

ทฤษฎี Dow Theory ต้นกำเนิด กราฟเทคนิค ที่มือใหม่ ห้ามพลาด

ทฤษฎี Dow Theory ถือกำเนิดขึ้นโดย Charles Henry Dow ที่นับได้ว่าเป็น ศาสดา แห่งการวิเคราะห์ กราฟเทคนิค ต้องย้อนไปถึงปี 1896 เขาคิดค้นสิ่งที่เรียกว่า “ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์” ซึ่งเขายังเป็น บรรณาธิการ หนังสือพิมพ์ The Wall Street ที่จะต้อเขียน บทวิเคราะห์ รวมถึงต้องติดตามราคา หุ้น ทองคำ ต่างๆ แต่ในยุคนั้นยังไม่มีกราฟให้เทรดในทุกวันนี้ เขาจึงติดตามราคา ด้วยการสร้างการบันทึก กระทั่งนำมาสร้างเป็น ดัชนี ที่เราใช้กันในทุกวันนี้ จึงต้องยอมรับให้เขาเป็น ศาสดาแห่ง กราฟ รวมถึงการวิเคราะห์ทางเทคนิค เพราะพื้นฐานการวิเคราะห์หลายๆอย่างนั้น ถูกสร้างขึ้นมาจาก พื้นฐานของ ทฤษฎี นี้นั่นเอง

ทฤษฎี Dow Theory ต้นกำเนิด กราฟเทคนิค ที่มือใหม่ ห้ามพลาด Charles henry dow Goo invest Trade

ทฤษฎี Dow Theory แบ่งออกเป็น 6 หลักการสำคัญ คือ

1. ตลาดมีการเคลื่อนไหวหลักๆ อยู่ 3 รูปแบบ (The market has three movements) คือ

  • แนวโนมโหญ่ (The main movement or Primary trend) = 1-3 ปี หรือมากกว่า
  • แนวโน้มกลาง(The medium swing or Intermediate trend) = 3 สัปดาห์ – 3 เดือน หรือมากกว่า
  • แนวโน่้มระยะสั้นๆ (The short swing or Minor trend) = รายวัน – เดือน หรือมากกว่า

2. ตลาดหุ้นมี Trend

แบ่งเป็น 3 ช่วงใหญ่ๆ (Market trends have three phases) คือ ช่วงสะสมหุ้น (The accumulation phase) ช่วงมหาชนมีส่วนร่วม (The public participation phase) ช่วงแจกจ่ายหรือปล่อยของ (The distribution phase)

 

3. ราคาสะท้อนทุกอย่างในตลาดอยู่แล้ว (The prices reflect the market already)

 

4. ทุกอย่างต้องมีความสอดคล้องกัน (Market Indexes Must Confirm Each Other)

 

5. ถ้าตลาดจะมีเทรนด์ ต้องมีปริมาณยืนยัน (Volume Must Confirm The Trend)

 

6. ราคาจะขึ้นจนกว่ามันจะไม่ขึ้น และจะลงจนกว่ามันจะลง (Trends exist until definitive signals prove that they have ended)

แนวโน้มตลาดแบ่งเป็น 3 แนวโน้มหลัก

แนวโน้มขาขึ้น ตามหลักการของ ทฤษฎี Dow Theory

ทฤษฎี Dow Theory ต้นกำเนิด กราฟเทคนิค ที่มือใหม่ ห้ามพลาด แนวโน้มขาขึ้น Goo Invest trade

แนวโน้มขาขึ้น ตาม ทฤษฏี นั้นราคาจะต้องทำ จุดสูงสุดใหม่ Higher high  และ จุดต่ำสุดใหม่ Higher Low สูงขึ้นไปเรื่อยๆ และจุดต่ำสุดใหม่ Higher Low จะต้องไม่ลงมาทำจุดต่ำสุดใหม่ ต่ำกว่า จุดสูงสุดใหม่ก่อนหน้า Higher high จึงจะถือเป็นแนวโน้มที่แข็งแรง

แนวโน้มขาลง ตามหลักการของ ทฤษฎี Dow Theory

ทฤษฎี Dow Theory ต้นกำเนิด กราฟเทคนิค ที่มือใหม่ ห้ามพลาด แนวโน้มขาลง Goo Invest trade

แนวโน้มขาลง ตาม ทฤษฏี นั้นราคาจะต้องทำ จุดต่ำสุดใหม่ Lower Low  และ จุดสุดสุดใหม่ Lower High ต่ำลงไปเรื่อยๆ และจุดสูงสุดใหม่ Lower High จะต้องไม่ขึ้นมาทำจุดสูงสุดใหม่ สูงกว่า จุดต่ำสุดใหม่ก่อนหน้า Lower Low จึงจะถือเป็นแนวโน้มที่แข็งแรง

แนวโน้ม Sideway ตามหลักการของ ทฤษฎี Dow Theory

ทฤษฎี Dow Theory ต้นกำเนิด กราฟเทคนิค ที่มือใหม่ ห้ามพลาด sideway Goo Invest trade

ช่วง Sideway หรือช่วงที่ไม่มีแนวโน้มชัดเจน high low ไม่ทำจุดสูงสุดใหม่ หรือจุดต่ำสุดใหม่ ราคามักจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบราคา โดย จุดสูงสุด High หรือ จุดต่ำสุด Low ทำอยู่ในระดับราคาเดิม

ทฤษฎี Dow Theory ต้นกำเนิด กราฟเทคนิค ที่มือใหม่ ห้ามพลาด sideway up Goo Invest trade

แนวโน้ม Sideway Up ตาม ทฤษฏี นั้นราคาจะต้องทำ จุดสูงสุดใหม่ Higher high  และ จุดต่ำสุดใหม่ Higher Low สูงขึ้นไปเรื่อยๆ และจุดต่ำสุดใหม่ Higher Low จะต้องลงมาทำจุดต่ำสุดใหม่ ต่ำกว่า จุดสูงสุดใหม่ก่อนหน้า Higher high จึงจะถือเป็นแนวโน้ม Sideway Up

ทฤษฎี Dow Theory ต้นกำเนิด กราฟเทคนิค ที่มือใหม่ ห้ามพลาด sideway down Goo Invest trade

แนวโน้ม Sideway Down ตาม ทฤษฏี นั้นราคาจะต้องทำ จุดต่ำสุดใหม่ Lower Low  และ จุดสุดสุดใหม่ Lower High ต่ำลงไปเรื่อยๆ และจุดสูงสุดใหม่ Lower High จะต้องขึ้นมาทำจุดสูงสุดใหม่ สูงกว่า จุดต่ำสุดใหม่ก่อนหน้า Lower Low จึงจะถือเป็นแนวโน้ม Sideway Down

ทฤษฎี Dow Theory วัฏจักรตลาด Market Cycle

ทฤษฎี Dow Theory ต้นกำเนิด กราฟเทคนิค ที่มือใหม่ ห้ามพลาด Market Cycle วัฏจักรตลาด Goo Invest trade

เรื่อง วัฏจักรตลาด Market Cycle ตามหลักการของ ทฤษฎี Dow Theory ได้บอกไว้ว่า ตลาดจะมีรอบหรือ cycle ของตลาดทุกๆ 10 – 12 ปี ซึ่งรอบหนึ่งจะมีช่วงที่ ราคาขึ้นไปถึงสูงสุด และ ลงมาที่จุดต่ำสุดจะนับเป็น 1 รอบซึ่งหากใครได้ศึกษาประวัติของกราฟ ก็จะพบว่ามีหลักฐานอ้างอิงถึงหลักการดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็น ราคาของ Dow Jones หรือ SET INDEX เองก็ตามโดยมีประวัติราคาเป็นตัวอ้างอิง ซึ่งรอบตลาดนี้ เกิดขึ้นกับทุกๆตลาด หากเกิดขึ้นกับตลาดที่มีพื้นฐานเช่น หุ้น หรือ ดัชนี Index เราจะพบว่า ราคาจุดสูงสุด และราคาจุดต่ำสุด มักจะมีการปรับตัวยกสูงขึ้นเนื่องจาก มูลค่าพื้นฐานของหุ้นนั้นเติบโตขึ้นด้วยเช่นกัน

 

และตาม ทฤษฏี ยังได้พูดถึง คลื่นย่อยหรือ Wave ย่อย ซึ่งมันจะมี รอบ วัฏจักร ย่อยของมันเช่นกัน โดย คลื่นหนึ่งคลื่น หรือ หนึ่ง Wave จะมี ระยะเวลา หรือ รอบ ที่ 9-12 เดือน ในแต่ละคลื่น

โดยคลื่นแต่ละคลื่นจะสามารถย่อยลงได้อีกโดยจะแบ่งย่อยลงไปถึง คลื่นเล็กที่อยู่ในระยะ 3 เดือน

ซึ่งหากเข้าใจหลักการนี้ จะสามารถช่วยให้คุณนำไปวางแผนช่วยเทรด ได้เป็นอย่างดีซึ่งหากคุณรู้ว่าคุณอยู่ในช่วงไหนของตลาด จะช่วยให้คุณปรับกลยุทธ์ หรือวางแผนกลยุทธ์ได้ดียิ่งขึ้น

ทฤษฎี Dow Theory ต้นกำเนิด กราฟเทคนิค ที่มือใหม่ ห้ามพลาด Market Cycle วัฏจักรตลาด Dow jones Goo Invest trade

ตัวอย่าง วัฏจักรตลาด Market Cycle จาก Dow Jones

ทฤษฎี Dow Theory ต้นกำเนิด กราฟเทคนิค ที่มือใหม่ ห้ามพลาด Market Cycle วัฏจักรตลาด set index Goo Invest trade

ตัวอย่าง วัฏจักรตลาด Market Cycle จาก SET Index

ทฤษฎี Dow Theory ต้นกำเนิด กราฟเทคนิค ที่มือใหม่ ห้ามพลาด ปัจจัยพื้นฐานตามช่วงตลาด Goo Invest trade

ในแต่ละช่วงเวลา จะมีปัจจัยที่เป็นพื้นฐาน ในการขับเคลื่อนราคา ของแต่ละช่วงอยู่ ตามทฤษฏี

ช่วงเริ่มต้นแนวโน้มขาขึ้น เริ่มจากช่วงที่ราคาอยู่ใกล้จุดต่ำสุดหรือช่วงเริ่มต้นแนวโน้ม ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่ไม่ได้รับความสนใจ จากคนทั่วไป แต่หากมองลงไปในพื้นฐาน ของหุ้นนั้นๆ จะพบว่า ผลการดำเนินการของหุ้น จะเริ่มทรงตัว หรือปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย จากที่ตลาดผ่านช่วงการเทขาย หรือช่วงขาดทุนมาต่อเนื่อง และมีการเทขาย มาจากมวลชน แต่นักลงทุน กลับเริ่มเข้ามาในตลาด และซื้อสะสมใน ช่วงเริ่มต้นแนวโน้ม

ช่วงมวลชน หรือ ระยะกลางของแนวโน้มขาขึ้น ในช่วงนี้ มวลชน สื่อ หรือ คนทั่วไปจะเริ่มเข้ามาจับตามอง และทยอยเข้ากันเป็นจำนวนมาก มักจะเป็นช่วงที่ ราคาจะวิ่งแรงและไกลที่สุด เพราะ สื่อทุกสื่อ จะจับตามองและมีการพูดถึงกันในวงกว้าง รวมถึง ผลประกอบการพื้นฐานก็จะดีขึ้น ตามลำดับซึ่งเป็นไปตามกลไกล ของระบบเศรษฐกิจ คนที่เข้ามาซื้อในช่วงนี้ มักจะเป็น นักเกร็งกำไร หรือ คนที่เทรดในระยะกลาง รวมถึง Trend Following

ช่วงท้ายตลาดของขาขึ้น หรือเรียกว่าเป็นช่วงเริ่มต้นของขาลง จะเป็นช่วงที่ตลาดกำลังคึกคักกันอย่างมาก และเป็นช่วงที่ได้รับความนิยมจากคนทั่วไปเป็นอย่างสูง แต่พื้นฐาน หุ้นกลับ ไม่เติบโตหรือ ผลประกอบการ แย่ลง และจะเป็นช่วงที่นักลงทุนระยะยาวเริ่มจะปล่อยของ แต่มักจะเป็นช่วงที่ แมงเม่า เข้ามา หรือจะบอกว่าเป็น ยอดดอยก็ไม่ผิด

ช่วงระยะกลางของแนวโน้มขาลง เช่นเดียว กับระยะกลางของแนวโน้มขาขึ้น แต่เป็นไปในทิศทางที่กลับกัน กับแนวโน้มขาขึ้นจะเป็นข่าวดีเข้ามารองรับการขึ้นเป็นจำนวนมาก สื่อต่างๆจะพูดถึงแต่เรื่องดีๆของหุ้นตัวนี้ แต่ในทางขาลงจะเป็นข่าวที่เป็นข่าวเชิงลบทั้งสิ้น ส่งผลทำให้ มวลชนแห่ขายกันจำนวนมาก

ช่วงท้ายตลาดของขาลง จะเป็นช่วงที่ แทบจะไม่ได้รับรับความสนใจเลย และมี แมงเม่า ติดดอยกันเป็นจำนวนมาก และส่วนมากก็จำต้อง ตัดขาดทุนกันไป แต่กลับกันในช่วงนี้พื้นฐานของหุ้นเริ่มชลอการขาดทุน ตัวเลขกลับเริ่มพื้นตัว และนักลงทุนระยะยาว หรือ Value Investor VI เริ่มจับตามอง หรือ เริ่มสะสม ในช่วงนี้

Facebook
Twitter

เปิดบัญชีซื้อขายทองคำ

Categories
Technical Analysis การลงทุน

Pivot Point คืออะไร ใช้งานอย่างไร

Pivot Point คืออะไร ใช้งานอย่างไร

Pivot Points คือราคากลางที่ นักลงทุน นักเกร็งกำไร และ นักเทรด ให้การยอมรับและนำมาใช้เป็น ค่าราคากลางเพื่อวางแผนการเทรดในวันถัดไปโดย จะนำค่าราคาดังกล่าวมาสร้างเป็น แนวรับ แนวต้าน ของแต่ละวัน โดยการคำนวนนั้นจะใช้ ราคาสูงสุดของวันก่อนหน้า ราคาต่ำสุดของวันก่อนหน้า และ ราคาปิดของวันก่อนหน้า มาคำนวนโดยจะมี สูตรดังนี้

Download โปรแกรมเทรดฟรี

ขอรับ ลิ้ง Download Pivot Indicator

สูตรคำนวน Pivot Point

Pivot Point = [High + Low + Close] / 3

แนวต้าน1 ( R1 )= (2 x Pivot ) – Low
แนวต้าน2 ( R2 ) = (Pivot – แนวรับ 1) + แนวต้าน 1
แนวต้าน3 ( R3 ) = (Pivot – แนวรับ 2) + แนวต้าน 2

แนวรับ1 ( S1 ) = (2 x Pivot ) – High
แนวรับ2 ( S2 ) = Pivot  – (แนวต้าน 1 – แนวรับ 1)
แนวรับ3 ( S3 ) = Pivot  – (แนวต้าน 2 – แนวรับ 2)

Pivot point Goo Invest Trade

นับว่าเป็น อินดิเคเตอร์ ที่น่าสนใจมากโดยเฉพาะ เทรดเดอร์ ที่เทรดแบบ Price Action เพราะเป็นเครื่องมือที่คำนวนหา แนวรับ แนวต้าน ให้ได้เป็นอย่างดี แต่อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ เป็นเพียงการคาดการณ์ เท่านั้น การจะใช้งานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ควรใช้เครื่องมือหรือการวิเคราะห์อื่นๆ เพื่อเป็นการยืนยันสัญญาณการกลับตัว หรือ หาแนวโน้มหลัก เพื่อประกอบ การวิเคราะห์ด้วย

เครื่อเมือที่เหมาะกับ การใช้งานประกอบ การยืนยัน การกลับตัว เช่น

Stochastic เป็น Indicator ที่ค่อนข้างไวกับการเปลี่ยนแปลงของราคาการเข้าที่เหมาะสมควรเข้าประกอบกับการ Overbought หรือ Oversold

Relative Strength Index RSI เหมาะกับการหา จุดกับตัวของคลื่น ซึ่งจะให้สัญญาณ ที่ช้ากว่า Stochastic แต่สัญญาณการกลับตัว ของ RSI นั้นค่อนข้างจะให้ความแม่นยำกว่า Stochastic จะบอกถึงการพักตัวในระยะสั้นๆเท่านั้น

เครื่อเมือที่เหมาะกับ การใช้งานประกอบ การยืนยัน แนวโน้ม เช่น

Moving Average เป็น Indicator ประเภทบอกแนวโน้มที่ นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ในกลุ่ม เทรดเดอร์ ซึ่งสิ่งสำคัญในการเริ่มต้น การวิเคราะห์ นั้นคงดีไม่พ้นเรื่องการหาแนวโน้ม เพื่อวางแผนการเทรด 

Trend line เป็นเครื่องมือประเภท Price Action ที่ไม่มีใครไม่รู้จักแนว ซึ่งสามารถ นำมาประกอบการวิเคราะห์ ได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว

MACD Indicator ที่เป็นประเภท Index หรือ ดัชนี ที่วัดการแกว่งของตลาด ได้อีกด้วย แต่ Indicator ตัวนี้จะนิยมใช้สำหรับหา แนวโน้มตลาด โดยมีค่ากลางที่ 0 

นี่เป็นเพียงตัวอย่างเครื่องมือ การวิเคราะห์ ที่สามารถนำมาใช้ประกอบกับ Pivot Point ได้ท่านยังสามารถ ลงทะเบียน เข้าเรียนเครื่องมือเหล่านี้ได้ฟรีกับเราได้ แต่ยังมีเครื่องมือวิเคราะห์อีกมาก ที่มีให้เลือกใช้ การวิเคราะห์มีปัจจัยหลายอย่างที่ต้องศึกษา เพื่อที่จะอยู่รอดในตลาด รวมถึง การบริการจัดการเงิน ที่เป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก แม้คุณจะมีกลยุทธ์การเทรด ที่ดีเพียงใด แต่การจัดการเงินไม่ดีสุดท้ายก็สร้างความเสียหายให้ การลงทุนของท่านอยู่ดี 

Facebook
Twitter

เปิดบัญชีซื้อขายทองคำ

Categories
Technical Analysis การลงทุน

แนวรับ แนวต้าน

แนวรับ แนวต้าน

แนวรับ แนวต้าน หากจะให้พูดถึง กันอย่างละเอียดแล้วเราต้องมาพูด ถึง พฤติกรรม การเทรดกันสักหน่อย หรือ จะเรียกว่า จิตวิทยาการเทรดกันเลยก็ว่าได้ อย่างที่ทราบกันดีว่า ราคาตลาดมีการขยับขึ้นลงอยู่ตลอดเวลา และมันไม่ได้เคลื่อนไหวได้เองจากระบบ คอมพิวเตอร์ แต่อย่างใด แต่มันขึ้นจากแรงกระทำจากการซื้อขายของนักลงทุนนี่เอง และมันเกี่ยวอะไรกับแนวรับแนวต้านอย่างนั้นเหรอ เพราะ นักเทรด หรือนักลงทุน ทั่วโลกให้ความสำคัญกับมันและยอมรับมันในสิ่งที่เรียกว่าแนวรับแนวต้าน ซึ่งเป็นจุดที่จะทำให้ นักเทรด หรือ นักลงทุน ตัดสินใจซื้อหรือขาย ที่บริเวณกล่าว เกิดการต่อสู้กัน ระหว่าง นักเทรด ที่มีมุนมองต่างกัน กระทำการบางอย่างที่บริเวณนี้ ยิ่งเป็น แนวรับแนวต้านสำคัญในระดับ เดือน หรือ ปี แล้วยิ่งมีจำนวน การซื้อขายมาก

ซึ่งหากเกิดความชัดเจนหลังการต่อสู้กันของ นักลงทุน หรือนักเทรดที่เห็นต่างกันในแต่ละระดับราคา ก็จะยิ่งส่งให้ เกิด ปริมาณการซื้อขายตามมาอีกที่ เช่นการทดสอบแนวต้านแล้วไม่ผ่านก็มักจะมีแรงขายตามมาจำนวนมาก หรือหาก สามารถผ่านแนวต้านไปได้ ราคาก็มักจะวิ่งขึ้นไป ไกล และมีปริมาณซื้อตามเข้ามาในตลาดจำนวนมากเช่นกัน

แนวรับ แนวต้าน จิตวิทยาการเทรด Goo Invest Trade

แนวรับ หรือเรียกกันว่า Demand Zone คือ ระดับราคาที่มีคนต้องการซื้อมากที่บริเวณนั้น แต่ระดับราคานั้นจะอยู่บริเวณที่ต่ำกว่าราคาในปัจจุบัน คาดการณ์ว่าจะมีความต้องการซื้อเข้ามาอย่างมากเมื่อราคาลงมาที่บริเวณดังกล่าว

และหากมีการซื้อเข้ามาที่มากเพียงพอ ก็จะสามารถหยุด หรือรับราคาที่กำลังลงมาได้ นั่นหมายถึง มีแรงซื้อที่มากกว่า แรงขาย ยิ่งมีการทดสอบ หรือ พยายามจะลงให้ผ่าน แนวรับนี้มากเท่าไหร แต่ไม่สามารถลงไปได้ จะยิ่งตอกย้ำ ความมั่นใจให้กับ ฝั่งที่เป็น แรงซื้อ มากขึ้นเท่านั้น กลับกันมันกลับ ทำลายความมั่นใจ ให้กับกลุ่มที่เป็น ฝั่งขาย ด้วยเช่นกัน

แนวต้าน หรือ เรียกกันว่า Supply Zone คือ ระดับราคาที่มีคนต้องการขายมากที่บริเวณนั้น แต่ระดับราคานั้นจะอยู่บริเวณที่สูงกว่าราคาในปัจจุบัน คาดการณ์ว่าจะมีความต้องการขายเข้ามาอย่างมากเมื่อราคาขึ้นมาที่บริเวณดังกล่าว และหากมีการขายเข้ามาที่มากเพียงพอก็จะสามารถหยุด หรือต้านราคาที่กำลังขึ้นมาได้ นั่นหมายถึงมีแรงขายที่มากกว่าแรงซื้อ ยิ่งมีการทดสอบหรือ พยายามจะขึ้นให้ผ่านแนวต้านนี้มากเท่าไหร แต่ไม่สามารถขึ้นไปได้จะยิ่งตอกย้ำความมั่นใจให้กับฝั่งที่เป็นแรงขายมากขึ้นเท่านั้น กลับกันมันกลับทำลายความมั่นใจให้กับกลุ่มที่เป็นฝั่งซื้อด้วยเช่นกัน

จึงเป็นที่มาของวลีที่ติดหูกันว่า ” รับไม่ให้ลง ต้านไม่ให้ขึ้น “

ความสำคัญของ แนวรับ แนวต้าน

หากจะถามว่าราคาไหนถูก ราคาไหนแพง ก็คงไม่มีคำตอบที่ชัดเจน หากไม่มีเกณฑ์มาวัดความพอใจของผู้เทรด จึงเกิดการสร้างเกณฑ์ความพอใจขึ้นจากผู้เทรด ซึ่งก็เกิดจากมุมมองที่ต่างกันไปอีก สำหรับผู้เทรดแต่ละคนแต่หาจุดไหนที่มีความชัดเจน ก็มักจะนำมาใช้เป็นเกณฑ์กันมากยิ่งมีความชัดเจน ของระดับราคา มากแค่ไหน ก็ยิ่งนำมาใช้เป็น เกณ์วัดความถูกแพง ของราคามากเท่านั้น การมองหา แนวรับแนวต้าน หรือระดับราคา ที่จะใช้เป็นเกณฑ์การตัดสินใจ ในการสร้างระดับราคา

ซื้อขายนั้นขึ้นมาก็มีหลากหลายปัจจัย และก็จะมีกลุ่มนักเทรดที่ต่างกันไป เช่นกลุ่มที่เทรดด้วยระสั้นหรือกลุ่ม เดย์เทรด Daytrade,  กลุ่มที่เทรดระยะกลางหรือ สวิงเทรด์ Swingtrade หรือเป็นกลุ่มที่เป็นระยะยาว มุมมองต่อระดับราคา หรือ แนวรับแนวต้าน ของแต่ละกลุ่มก็จะต่างกันออกไป แต่ การวิเคราะห์ส่วนใหญ่นักเทรด เกือบทุกกลุ่มเทรด มักให้ความสำคัญต่อ กราฟที่เป็น Daily เป็นอย่างมาเพราะเป็นระยะการเทรดที่ไม่สั้น และไม่ยาวจนเกินไป เหมาะสำหรับการเก็งกำไร และ ลงทุน

จึงทำให้ระดับราคา แแนวรับแนวต้าน กราฟระดับ Daily นั้นมีความนิยม และมีปริมาณการซื้อขายมาก ในระดับ timeframe นี้ เพื่อหาต้นทุนที่ถูกนักลงทุนมัก เข้าซื้อที่บริเวณแนวรับ และขายที่บริเวณแนวต้าน

โอกาศในการทำกำไร และ การควบคุมความเสี่ยง ด้วย แนวรับ แนวต้าน

จากพฤติกรรมราคา โดยทั่วไปเมื่อมันเข้าทดสอบกับ แนวรับแนวต้าน หลังจากที่มีการ แลกเปลี่ยนการซื้อขาย ที่บริเวณทดสอบ หรือ หลังจากการจบ การต่อสู้กัน ของ ผู้ซื้อ และ ผู้ขาย แล้วไม่ว่าฝ่ายใดจะชนะ ราคาก็มักจะวิ่งแรง และ ไกล ซึ่งเราสามารถ ควบคุมความเสี่ยงได้ด้วย การตัดขาดทุน ในระยะที่สั้นกว่า ระยะทำกำไร  ด้วยการตัดขาดทุน ที่บริเวณแนวรับ หรือ ต้าน นั้นเท่านั้นแต่อาจทำ กำไรได้ 2 – 3 เท่าตัวของระยะการตัดขาดทุนขาดทุน

 

แนวรับแนวต้าน ไม่ได้หมายถึงระดับ ราคาที่อยู่ในระนาบเดียวกันเท่านั้น มันอาจเกิดขึ้นได้ด้วยการสร้าง เทรนไลน์ Trend Line ด้วยหลักการในการซื้อขาย เดียวกัน

 

Facebook
Twitter
Categories
Technical Analysis การลงทุน

สัญญาณ overbought oversold จาก Indicator ต่างๆ

สัญญาณ Overbought Oversold จาก Indicator ต่างๆ

สัญญาณ Overbought Oversold นั้นบอกนั้นสภาวะตลาดที่ ไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง มากเกินไปและ อาจเกิดการพักตัว หรือกลับตัวได้ โดยจะมีเครื่องมืออินดิเคเตอร์ หลายตัวที่จะช่วยหา สัญญาณ ดังกล่าวได้ เพื่อป้องกัน และช่วยไม่ให้ท่านเข้าซื้อหรือในช่วงที่ได้เปรียบ และสามารถนำมาปรับใช้กับกลยุทธ์การเทรดของท่านได้

Overbought คือ โซนที่มีปริมาณในการซื้อมากจนเกินไป และอาจทำให้มีแรงขายเข้ามาจำนวนมากที่จะเข้ามาในเร็วๆนี้อาจจะเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงว่า ราคานั้นจะมีการเปลี่ยนแนวโน้มในไม่ช้า

Oversold คือ โซนที่มีปริมาณในการขายมากจนเกินไป และอาจทำให้มีแรงซื้อเข้ามาจำนวนมากที่จะเข้ามาเร็วๆนี้ อาจจะเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงว่า ราคานั้นจะมีการเปลี่ยนแนวโน้มในไม่ช้า

Indicator ที่นิยมใช้หา สัญญาณ Overbought Oversold

Relative strength index RSI

RSI indicator Relative Strength Index Overbought Oversold Goo Invest สัญญาณ Overbought Oversold

RSI Relative Strength Index คือ การวัดอัตราส่วนของ ” ขาขึ้น ” เปรียบเทียบกับราคา ” ขาลง ” ในช่วงเวลาหนึ่ง ว่า มีการเพิ่มขึ้น หรือลดลงของราคามากกว่ากันในช่วงเวลาหนึ่ง โดยจะแสดงผลออกมาเป็น ดัชนี Index 0-100 เปรียบเทียบว่า ในช่วงเวลาหนึ่ง ของขาขึ้นกับขาลงว่าแนวโน้มใดแข็งแกร่งกว่ากัน จึงตั้งชื่อว่า “Relative Strength”

 

สัญญาณ Overbought เกิดขึ้นเมื่อมีการซื้อมาเกินไป เป็นสัญญาณว่า ราคาจะมีการปรับตัวลง หรือ เป็นจุดขาย โดยการอ่านสัญญาณ Overbought ใน RSI นั้นเกิดขึ้นเมื่อระดับค่า RIS อยู่ที่ระดับ 70 หรือสูงกว่า

สัญญาณ Oversold เกิดขึ้นเมื่อมีการขายมาเกินไป เป็นสัญญาณว่า ราคาจะมีการปรับตัวขึ้น หรือ เป็นจุดซื้อ โดยการอ่านสัญญาณ Oversold ใน RSI นั้นเกิดขึ้นเมื่อระดับค่า RIS อยู่ที่ระดับ 30 หรือต่ำกว่า

Bollonger band

สัญญาณ Overbought Oversold Bollinger Bands Goo Invest Trade

Bollinger Bands เป็น Indicator หนึ่งที่ได้รับความนิยมและเป็นที่ยอมรับในวงการ การเทรดเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น หุ้น Futures ทองคำ น้ำมัน หรือ แม้แต่ Forex เนื่องจากมีประโยชน์หลากหลายและสามารถพลิกแพลงเทคนิคให้แปรเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ของตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถูกพัฒนาขึ้นมาโดย John Bollinger ในช่วงปี 1980s เป็นหนึ่งในนักวิเคราะห์ทางเทคนิคที่มีชื่อเสียงของโลก 

จุดประสงค์หลักของมันมีแนวคิดหลักคือการวัด “ความผันผวน” ของตลาด ซึ่งนิยมจัดให้เป็นเครื่องมือ “Technical Analysis” ในกลุ่ม Trend หรือใช้เพื่อเทรดในตลาดที่มีแนวโน้ม แต่ในขณะเดียวกันมันยังสามารถหาก Overbought และ Oversold ได้อีกด้วย โดยการสร้าง “Band” หรือกรอบราคาขึ้นมาอีก 2 เส้น ซึ่งช่วยหาจุดเข้าออกให้นักเทรดไปด้วยในเวลาเดียวกัน

Upper Band จะเป็นการแสดงถึงสภาวะการซื้อที่มากเกิน ไป Overbought มีโอกาศที่ราคาจะมีการพักตัวในไม่ช้า

Lower Band จะเป็นการแสดงถึงสภาวะการขายที่มากเกินไป Oversold มีโอกาศที่ราคาจะมีการพักตัวในไม่ช้า

Stochastic

Stochastic Oscillator Overbought Oversold goo invest สัญญาณ Overbought Oversold

Stochastic Oscillator เป็น indicator เหมาะกับการวิเคราะห์ในตลาด ที่เป็น Sideways รวมทั้งการลงทุน หรือเก็งกำไรในระยะสั้น สามารถจับเคลื่อนไหว หรือการแกว่งตาม momentum ได้เป็นอย่างดี แต่ไม่เหมาะในช่วงสภาวะตลาดที่มีแนวโน้ม

Stochastic ถูกคิดค้นและพัฒนามาโดย Dr. George C. Lane. เมื่อปี 1950 และเป็นหนึ่งใน Indicator ที่ได้รับนิยมมากที่สุดตัวหนึ่งสามารถใช้งานได้ดีทั้งในตลาด Forex หุ้น รวมถึงสินค้าอื่นๆ อย่างเช่น ทองคำ น้ำมัน โดยนิยมนำไปใช้ในการหาจุดกลับตัว และยังสามารถบอกภาวะการ ซื้อ หรือ ขายที่มากไป Overbought  Oversold

Overbought ของตัว Stochastic ก็จะมีลักษณะการ Overbought คล้ายกับการใช้งาน RSI Relative Strength Index คือดู “ปริมาณการซื้อที่มากเกินไป” ของพฤติกรรมราคาช่วงเวลานั้นแต่ต่างกันที่ระดับค่า Overbought ของ RSI จะอยู่ที่ 70 – 100 แต่ Stochastic จะอยู่ที่ระดับ 80 – 100 ซึ่งหมายความว่ามีปริมาณการซื้อ มากเกินไป มีโอกาสที่ราคาจะกลับตัวลงมาได้สูง 

Oversold ของตัว Stochastic ก็จะมีลักษณะการ Oversold คล้ายกับการใช้งาน RSI Relative Strength Index คือดู “ปริมาณการขายที่มากเกินไป” ของพฤติกรรมราคาช่วงเวลานั้นแต่ต่างกันที่ระดับค่า Oversold ของ RSI จะอยู่ที่ 0 – 30 แต่ Stochastic จะอยู่ที่ระดับ 0 – 20 ซึ่งหมายความว่ามีปริมาณการขาย มากเกินไป มีโอกาสที่ราคาจะกลับตัวขึ้นมาได้สูง

Facebook
Twitter

เปิดบัญชีซื้อขายทองคำ

Categories
Technical Analysis การลงทุน

Fibonacci Retracement

Fibonacci Retracement

Fibonacci Retracement เป็นที่รู้จัก และได้รับความนิยมเป็นอย่างมากไม่ว่าจะเป็นตลาด หุ้น ทอง น้ำมัน forex หรือ สินทรัพย์อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นสินทรัพย์ ความเสี่ยงสูงหรือความเสี่ยงต่ำต่างก็ยอมรับ ในตัวของ Fibonacci หรืออาจรู้จักกันในชื่อ สัดส่วนทองคำ

ซึ่งเป็นชุดสัดส่วนตัวเลขที่นับว่ามี ความมหัศจรรย์ เป็นอย่างมาก และสัดส่วนนี้ได้รับ การทดลอง ทดสอบหลายต่อหลายครั้ง กับ ด้านอื่นๆ ที่ไม่ใช่การเทรด หรือ แม้แต่ มนุษย์ ก็ถูกนำมาทดลองวัด สัดส่วนทองคำ ฟิโบนัชชี ด้วย ว่ากันว่า ผู้ที่หน้าตาดีนั้นจะมีสัดส่วนใบหน้าที่ลงตัวกับสัดส่วนตัวเลข ฟิโบนัชชี เป็นอย่างมาก หรือพื้นฐานของ องค์ประกอบธรรมชาติ เช่น ดอกไม้ เกสรดอกไม้ รังผึ้ง วงก้นหอย

 

ในโลกตะวันตก มันคือ ความงดงามทางคณิตศาสตร์ ชุดตัวเลขที่เกี่ยวกับสัดส่วนทางคณิตศาสตร์ ที่มีความพิเศษ สัดส่วนตัวเลข Fibonacci ที่แฝงอยู่ตามธรรมชาติ สถาปัตยกรรม ชีววิทยา รวมไปถึงตลาดหุ้น, Forex อีกด้วย โดยพื้นฐาน Fibonacci มันคือ “สัดส่วนของธรรมชาติ” มันจึงได้นำมาปรับใช้กับเครื่องมือในการวัดสัดส่วน ความเคลื่อนไหวของตลาดการเงิน จึงเป็นสาเหตุที่นักเทรด ทั้งหลาย เลือกที่จะใช้กลยุทธ์การเทรดด้วย Fibonacci 

 
fibonacci Retracement Goo Invest Trade

ความเป็นมาของ Fibonacci Retracement

เลโอนาร์โด ฟีโบนัชชี (Leonardo Fibonacci) หรือรู้กันในชื่อสั้น ๆ ว่า ฟีโบนัชชี Fibonacci (มักจะสะกดผิดว่า ฟีโบนักชี หรือ ฟิโบนักชี) เป็นนักคณิตศาสตร์ชาวอิตาลี มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดจากการค้นพบจำนวนฟีโบนัชชี และบทบาทในการเผยแพร่การเขียนและวิธีการคำนวณระบบจำนวนฐานสิบที่ให้ค่าตามหลักแบบอาราบิก (Arabic positional decimal system) ที่ใช้กันในปัจจุบัน หลายคนยกย่องว่าเขาเป็นนักคณิตศาสตร์ที่เก่งที่สุดในยุคกลาง และต่อมา โยฮันเนส เคปเลอร์  Johannes Kepler ชาวเยอรมัน ค้นพบ อัตราส่วนทอง ของ Fibonacci มันคือตัวเลขสำคัญที่เราใช้เทรดกันนั่นเองเองฐานของการค้นพบตัวเลข 1.618

อัตราส่วนทองคำ นั้นเป็นรากฐานสิ่งกำเนิดสรรพสิ่ง ในจักรวาลที่นำมาเชื่อมโยงกับ มนุษย์  สัตว์ พืช โครงสร้างระดับอะตอม งานปฏิมากรรมสำคัญของโลก และยังเกี่ยวข้องกับความงดงามและสุนทรียศาสตร์ “พีทาโกรัส” นักปราชญ์ยุคกรีกได้สันนิษฐานถึงความถึง ความสัมพันธุ์ระหว่างคณิตศาสตร์ และความสวยงาม

พีทาโกรัสสังเกตว่าสิ่งต่างๆ ที่มีสัดส่วนตามสัดส่วนทองคำ มักจะถูกมองว่ามีความสวยงามไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ที่มีหน้าตาร่างกาย แม้แต่ภาพวาด “โมนาลิซ่า” ภาพวาดของ ลีโอนาโด ดาวินชี ภาพก็ถูกวาดได้ตามอัตราส่วนทองคำ และถูกยกย่องให้เป็นภาพวาดผู้หญิงที่สวยที่สุดในโลก

การใช้งาน Fibonacci Retracement

การประยุกต์ใช้ Fibonacci ในการวิเคราะห์จะมีระดับราคาสำคัญดังนี้คือ 0, 23.6, 38.2, 50, 61.8, 78.6, 100, 127, 161.8 และมักจะนำมาใช้งานกับกลยุทธ์ต่างเช่น Dow Theory, Chart Patterns, Elliot waves, Harmonic Pattern เพื่อหาตัวอย่างการพักตัวและเป้าหมายของราคาซึ่งมีความสอดคล้องกันอย่างน่าอัศจรรย์มาก และ นักเทรดทั้งหลายก็ได้นำมาเป็นเครื่องมือหลักในการวิเคราะห์กันจำนวนมาก 

 

ก่อนที่จะเริ่มต้นการลากหรือ Fibonacci คุณควรจะมีพื้นฐานของการดูแล้วโน้มกันสักหน่อยเพื่อจะได้รู้ว่ากำลังใช้งานเพื่อหาสิ่งใดโดยอาจใช้เครื่องมือการดูแนวโน้มอื่นๆประกอบเช่น Trendline MA 

การหาแนวโน้มด้วย Fibonacci ในช่วงสภาวะขาขึ้น

fibonacci Retracement uptrend Goo Invest Trade

การลากเส้นหรือตีเส้นในช่วงตลาดขาขึ้นนั้นให้วางแนวค่า 0 ที่บริเวณสวิงโลว์ และ วางแนวค่า 100 ที่สวิงไฮ โดยมีแนวรับสำคัญที่บริเวณ 38.2 – 61.8 โดยมีเป้าหมาย ที่ 127 และ 161.8

การหาแนวโน้มด้วย Fibonacci ในช่วงสภาวะขาลง

fibonacci Retracement downtrend Goo Invest Trade

การลากเส้นหรือตีเส้นในช่วงตลาดขาขึ้นนั้นให้วางแนวค่า 0 ที่บริเวณสวิงไฮ และ วางแนวค่า 100 ที่สวิงโลว์ โดยมีแนวต้านสำคัญที่บริเวณ 38.2 – 61.8 โดยมีเป้าหมาย ที่ 127 และ 161.8

Facebook
Twitter

เปิดบัญชีซื้อขายทองคำ

Categories
Technical Analysis การลงทุน

Bollinger Bands

Bollinger Bands

Bollinger Bands เป็น Indicator หนึ่งที่ได้รับความนิยมและเป็นที่ยอมรับในวงการ การเทรดเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น หุ้น Futures ทองคำ น้ำมัน หรือ แม้แต่ Forex เนื่องจากมีประโยชน์หลากหลายและสามารถพลิกแพลงเทคนิคให้แปรเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ของตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถูกพัฒนาขึ้นมาโดย John Bollinger ในช่วงปี 1980s เป็นหนึ่งในนักวิเคราะห์ทางเทคนิคที่มีชื่อเสียงของโลก 

จุดประสงค์หลักของมันมีแนวคิดหลักคือการวัด “ความผันผวน” ของตลาด ซึ่งนิยมจัดให้เป็นเครื่องมือ “Technical Analysis” ในกลุ่ม Trend หรือใช้เพื่อเทรดในตลาดที่มีแนวโน้ม แต่ในขณะเดียวกันมันยังสามารถหาก Overbought และ Oversold ได้อีกด้วย โดยการสร้าง “Band” หรือกรอบราคาขึ้นมาอีก 2 เส้น ซึ่งช่วยหาจุดเข้าออกให้นักเทรดไปด้วยในเวลาเดียวกัน โดยส่วนประกอบของ Bolinger Band จะประกอบไปด้วยเส้นทั้งหมด 3 เส้นคือ

  1. เส้น Moving Average period20 เป็นค่ากลาง
  2. เส้น Upper Band
  3. เส้น Lower Band
bollinger Bands Goo invest trade

สูตรการคำนวณ

สำหรับการคำนวณ Bollinger Band นั้น สามารถสร้างได้ด้วยสูตรง่าย ๆ แบบ Excel หรือการคำนวณด้วยโปรแกรม MT4 โดยเราต้องเห็นภาพของหลักการก่อน ดังนี้

 

BOLU=MA(TP,n)+m∗σ[TP,n]
BOLD=MA(TP,n)−m∗σ[TP,n]

BOLU คือสูตรของ Upper Bollinger Band
BOLD คือสูตรของ Lower Bollinger Band
MA=Moving average เส้นค่าเฉลี่ย
TP (typical price) ค่าราคาวันปัจุบัน =(High+Low+Close)÷3
n = ค่า period ของ MA (ปรกติ Bollinger Band จะใช้ค่า 20)
m = standard deviations ( ค่าที่ใช้ทั่วไปคือ 2 )
σ[TP,n]=Standard Deviation ค่าที่สร้างขึ้นมาเป็นกรอบระยะห่าง

การใช้งาน Bollinger bands

1. ดูแนวโน้มตลาด

Bollinger Bands Trend Goo Invest Trade
Bollinger Bands up trend Goo invest trade

Bollinger Bands แม้จะนิยมใช้ในการดูจังหวะ Overbought หรือ Oversold แต่ค่าพื้นฐานของ Bollinger Bands นั้นถูกสร้างขึ้นมาจาก MA หรือ Moving Average ซึ่งเป็นที่ยอมรับและใช้งานกันอย่างมากในการหาแนวโน้ม และ เส้น MA ก็ได้ถูกใส่ลองมาในเครื่องมือ Bollinger Band อีกด้วยนั่นคือเส้นตรงกลางของ Bolling Band 

 

กลยุทธ์

สามารถใช้กลยุทธ์พื้นฐานการหาแนวโน้มของ MA ในการเข้าออเดอร์ได้เลยเมื่อเข้าออเดอร์ได้แล้วสามารถปิดออเดอร์ทำกำไรบริเวณ Upper Band หรือ Lower Band ได้เช่น

  • แนวโน้มขาขึ้นให้เข้า Buy หรือ Long ที่บริเวณ MA และปิดออเดอร์ที่ Upper Band
  • แนวโน้มขาลงให้เข้า Sell หรือ Short ที่บริเวณ MA และปิดออเดอร์ที่ lower Band
 

2. Overbought Oversold

สัญญาณ Overbought Oversold Bollinger Bands Goo Invest Trade

Overbought บอกถึงสภาวะการซื้อมากเกินไป และ Oversold บอกถึงสภาวะการขายมากเกินไป หากราคาขึ้นไปบริเวณ Upper Band จะเป็นการแสดงถึงสภาวะการซื้อที่มากเกินไปมีโอกาศที่ราคาจะมีการพักตัวในไม่ช้า และ หากราคาขึ้นไปบริเวณ Lower Band จะเป็นการแสดงถึงสภาวะการขายที่มากเกินไปมีโอกาศที่ราคาจะมีการพักตัวในไม่ช้า

 

 

 กลยุทธ์
  • เข้าออเดอร์ Sell หรือ Short บริเวณ Upper Band  อาจใช้สัญญาณจาก กราฟแท่งเทียน เป็นตัวช่วยยืนยันจังหวะ การเกิดสัญญาณกลับตัวที่ปิดสูงกว่า Upper Band จะเป็นสัญญาณที่ดีกว่า การที่ราคาปิดต่ำกว่า Upper Band
  • เข้าออเดอร์ Buy หรือ Long บริเวณ Lower Band  อาจใช้สัญญาณจาก กราฟแท่งเทียน เป็นตัวช่วยยืนยันจังหวะ การเกิดสัญญาณกลับตัวที่ปิดตำกว่า Lower Band จะเป็นสัญญาณที่ดีกว่า การที่ราคาปิดสูงกว่า Lower Band

3. ใช้เป็น แนวรับ แนวต้าน

แนวรับ แนวต้าน Bollinger Bands Goo Invest Trade

เมื่อตลาดอยู่ในช่วงแนวโน้มที่เป็น Sideway สามารถใช้ Lower Band และ Upper Band เป็นแนวรับและแนวต้านได้ ซึ่งจะสังเกตุได้ว่าในช่วงที่ Sideway เส้น Upper Band และ Lower Band จะบีบเข้าหากันและเคลื่อนไหวไปในแนวระนาบหรือยังไม่มีการขึ้นลงที่ขัดเจน โดยให้เส้น Upper Band = ทำหน้าที่เป็นแนวต้าน และ  Lower Band = ทำหน้าที่เป็นแนวรับ.

 

กลยุทธ์

  • เข้าออเดอร์บริเวณที่เป็นแนวรับแนวต้านหรือบริเวณเส้น Upper Band หรือ Lower Band อาจใช้สัญญาณจาก กราฟแท่งเทียน เป็นตัวช่วยยืนยันจังหวะ การเข้าออเดอร์โดยเข้า Sell หรือ Short บริเวณ แนวต้าน และ เข้า Buy หรือ Long บริเวณ แนวรับ
  • Breakeout หรือการที่ราคาวิ่งหลุดแนวต้านขึ้นไป หรือ ราคาวิ่งหลุดแนวรับลงมาเป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่มักใช้กับบริเวณ แนวรับ แนวต้าน เข้าออเดอร์โดยเข้า Sell หรือ Short เมื่อราคาวิ่งหลุดแนวรับลงมาเป็นการ Follow trend ขาลง หรือ เข้า buy หรือ Long เมื่อราคาวิ่งหลุดแนวต้านขึ้นมาเป็นการ Follow trend ขาขึ้น แล้วจึงใช้ เส้น MA หรือ Trend Line ช่วยหาแนวโน้ม

4. วัดความผันผวนของตลาด

Volume Bollinger Band Goo Invest Trade

Bollinger Bands สามารถบอกเราให้ทราบถึงความผันผวนและปริมาณการซื้อขายของตลาดว่า สถานะของตลาดเป็นยังไง มีการซื้อที่มากน้อยเพียงใดโดยจะแสดงออกโดยระยะห่างของเส้น Upper Band และ Lower Band หรืออยู่ในช่วงที่มีปริมาณการซื้อขายน้อย โดยให้ประเมิณจากระยะหากของเส้น Upper Band และ Lower Band ถ้าหากเส้นมีลักษณะ บีบ ชิดเข้าหากัน เป็นช่วงแคบ นั้นหมายถึงตลาดมีปริมาณซื้อขายน้อย แต่ถ้าเส้นแยกออกห่างออกจากกัน แล้วอยู่ห่างๆ กันยิ่งมากเมื่อไหร่ นั้นหมายถึง ยิ่งมีปริมาณซื้อขายที่มากขึ้นเท่านั้น 

 

กลยุทธ์

  •  หากอยู่ในช่วงที่ Upper Band และ Lower Band บีบตัวเข้าหากกันหรืออยู่ในช่วงที่แคบแนะนำให้ใช้กลยุทธ์ที่เหมือนกับ Sideway โดยทำกำไรในระยะสั้น
  • หากอยู่ในช่วงที่ Upper Band และ Lower Band ออกห่างจากกัน แนะนำให้ใช้กลยุทธ์ ที่เล่นตามแนวโน้มจะปลอดภัยกว่า หรือให้เข้าตอนตลาดพักตัวที่เส้น MA ซึ่งหมายถึงเส้นกลาง ของ Bollinger Band ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานในการเล่นกับแนวโน้มตามหลักการ MA
Facebook
Twitter

เปิดบัญชีซื้อขายทองคำ

Categories
Technical Analysis การลงทุน

Stochastic Oscillator

Stochastic Oscillator

Stochastic Oscillator เป็น indicator ที่เหมาะกับการวิเคราะห์ในตลาด ที่เป็น Sideways รวมทั้งการลงทุน หรือเก็งกำไรในระยะสั้น สามารถจับเคลื่อนไหว หรือการแกว่งตาม momentum ได้เป็นอย่างดี แต่ไม่เหมาะในช่วงสภาวะตลาดที่มีแนวโน้ม

Stochastic ถูกคิดค้นและพัฒนามาโดย Dr. George C. Lane. เมื่อปี 1950 และเป็นหนึ่งใน Indicator ที่ได้รับนิยมมากที่สุดตัวหนึ่งสามารถใช้งานได้ดีทั้งในตลาด Forex หุ้น รวมถึงสินค้าอื่นๆ อย่างเช่น ทองคำ น้ำมัน โดยนิยมนำไปใช้ในการหาจุดกลับตัวของและยังสามารถบอกภาวะการซื้อหรือขายที่มากไป Overbought  Oversold

ส่วนประกอบหลักในการใช้งาน

Stochastic Oscillator Goo Invest

Stochastic เป็น อินดิเคเตอร์ ที่เป็น ดัชนี หรือ Index ที่เป็นการชี้วัดการเคลื่อนที่ของตลาดโดยจะมีค่าต่ำสุดคือ 0 และสูงสุด 100 และจะมีเส้น Stochastic ที่เรียกกันว่าเส้น %K และมีเส้นค่าเฉลี่ยอีเส้นเป็นเส้น Signal หรือเส้น %D โดยเส้น %K หรือเส้น Stochastic จะมีสูตรดังนี้

%K = 100*(ราคาปิดวันนี้-ราคาต่ำสุด) / (ราคาสูงสุด-ราคาต่ำสุด)

การใช้งาน Stochastic Oscillator

1. Overbought Oversold

Stochastic Oscillator Overbought Oversold goo invest สัญญาณ Overbought Oversold

Overbought ของตัว Stochastic ก็จะมีลักษณะการ Overbought คล้ายกับการใช้งาน RSI Relative Strength Index คือดู “ปริมาณการซื้อที่มากเกินไป” ของพฤติกรรมราคาช่วงเวลานั้นแต่ต่างกันที่ระดับค่า Overbought ของ RSI จะอยู่ที่ 70 – 100 แต่ STO จะอยู่ที่ระดับ 80 – 100 ซึ่งหมายความว่ามีปริมาณการซื้อ มากเกินไป มีโอกาสที่ราคาจะกลับตัวลงมาได้สูง 

 

Oversold ของตัว Stochastic ก็จะมีลักษณะการ Oversold คล้ายกับการใช้งาน RSI Relative Strength Index คือดู “ปริมาณการขายที่มากเกินไป” ของพฤติกรรมราคาช่วงเวลานั้นแต่ต่างกันที่ระดับค่า Oversold ของ RSI จะอยู่ที่ 0 – 30 แต่ STO จะอยู่ที่ระดับ 0 – 20 ซึ่งหมายความว่ามีปริมาณการขาย มากเกินไป มีโอกาสที่ราคาจะกลับตัวขึ้นมาได้สูง

 

2. การ Cross กันของเส้น %K และ %D

Stochastic Oscillator Signal Goo Invest

สัญญาณ Overbought และ Oversold อย่างเดียวอาจจะยังไม่ใช่สัญญาณเข้า ซื้อ ขาย ที่ดีนักอย่างที่ได้เกรินไปตั้งแต่ช่วงแรกว่า Stochastic เป็น Indicator ที่สามารถทำงานได้ดี ในช่วงตลาด  Sideway เพื่อป้องกันไม่ให้เราเข้าซื้อหรือขาย ที่เร็วเกินไปหลังจากเกิดสัญญาณ Overbought Oversold แล้วจึงให้เราเตรียมตัวการพักตัวเท่านั้น และให้การ Cross เป็นสัญญาณเข้าจะดีกว่า

เส้น %D ตัดเส้น %K ลงหลังจากที่ราคาเข้าไปอยู่ใน ZONE Overbought ให้ถือเป็นสัญญาณการขาย

เส้น %D ตัดเส้น %K ขึ้นหลังจากที่ราคาเข้าไปอยู่ใน ZONE Oversold ให้ถือเป็นสัญญาณการซื้อ

3. Stochastic Oscillator Divergence

RSI indicator Relative Strength Index Divergence type Goo Invest

สัญญาณ Divergence คือความขัดแย้งกัน ระหว่างราคากับการเคลื่อนไหวของ Sto โดยปรกติแล้วราคากับดัชนีจะต้องแกว่งไปในทิศทางเดียวกันแต่จะมีความปิดปรกติในช่วงบางเวลาที่ไม่สอดคล้องกันระหว่างราคาและ Sto ซึ่งจะเรียกความขัดแย้งนี้ว่า Divergence

 

ความขัดแย้ง ในสภาวะขาขึ้นว่า Bearish Divergence

ความขัดแย้ง ในสภาวะขาลงว่า Bullish Divergence

Stochastic Oscillator Bearish Divergence goo invest
Stochastic Oscillator Bullish Divergence goo invest
Share Facebook
Share Twitter

เปิดบัญชีซื้อขายทองคำ

Categories
Technical Analysis การลงทุน

RSI indicator Relative Strength Index

RSI Indicator

RSI  Relative Strength Index พัฒนาโดย J.Welles Wilder โดยมีการพัฒนามาจาก ค่าความสัมพันธ์สัมพัทธ์เริ่มต้น หรือ RS เป็น Indicator ที่จัดว่าอยู่ในกลุ่ม Oscillator ที่เทรดเดอร์สาย Technical Analysis นิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง ประสิทธิภาพของมันเป็นที่ยอมรับในวงการเทรดทั่วโลก โดย RSI จัดอยู่ในหมวด Indicator ประเภท Momentum ที่เป็นดัชนีชี้ความแข็งแรง และการแกว่งของราคา หลายคนจะรู้จัก RSI มีดีเพียงแค่ ในช่วงตลาด Sidewat โดยไว้ใช้สำหรับดู Overbought  Oversold เท่านั้น แต่ยังสามารถช่วยหา Divergence หรือจะใช้วัดการแกว่งของตลาดตอนมี แนวโน้ม ได้อีกด้วย และมันเป็นประโยชน์อย่างมากในการเทรดสำหรับเทรดเดอร์

สูตรการคำนวณ RSI

การคำนวณของ  RSRelative Strength Index คือ การวัดอัตราส่วนของ ” ขาขึ้น ” เปรียบเทียบกับราคา ” ขาลง ” ในช่วงเวลาหนึ่ง ว่า มีการเพิ่มขึ้น หรือลดลงของราคามากกว่ากันในช่วงเวลาหนึ่ง โดยจะแสดงผลออกมาเป็น ดัชนี Index 0-100 เปรียบเทียบว่า ในช่วงเวลาหนึ่ง ของขาขึ้นกับขาลงว่าแนวโน้มใดแข็งแกร่งกว่ากัน จึงตั้งชื่อว่า “Relative Strength” 

ก่อนที่จะคำนวณสูตร RSI ได้ เราต้องได้ รู้จักค่า RS ก่อน ค่า RS คือค่าความสัมพันธ์สัมพัทธ์ โดยได้มาจากการคำนวณ ค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 14 วัน ที่ราคาปิด ซึ่งจะแยกเป็นการนับจากเฉลี่ยย้อนหลัง ของวันที่ขึ้น กับค่าเฉลี่ยของวันที่ลง

 

สูตร RS = ค่าเฉลี่ยวันขึ้น 14วันย้อนหลัง/ค่าเฉลี่ยวันลง 14วันย้อนหลัง

 

ตัวเศษ : ค่าเฉลี่ยย้อนหลังของวันที่ขึ้น (14 วัน ย้อนหลัง มีขึ้นกี่วัน ก็ใช้ค่านั้นมาคำนวณ)
ตัวส่วน : ค่าเฉลี่ยย้อนหลังของวันที่ลง (14 วัน ย้อนหลัง มีลงกี่วัน ก็ใช้ค่านั้นมาคำนวณ)

จากสูตร RS J.Welles Wilder  ได้พัฒนามาเป็น สูตรสำหรับตัวบ่งชี้ RSI ค่า RSI ที่แท้จริง จะอยู่ในรูปของดัชนี Oscillator ซึ่ง RSI Formula ของการแปลงเป็นดัชนี จะมีสูตรดังนี้

สูตร RSI = 100 – (100 /1 + RS)

การใช้งาน RSI Indicator

RSI indicator Relative Strength Index Goo Invest

ก่อนจะได้รู้จักการใช้งาน  RSI  Relative Strength Index เราต้องรู้จักส่วนประกอบต่างๆของมันเสียก่อน และหากท่านยังไม่มีโปรแกรม กราฟ MT4 สามารถ โหลดฟรีที่นี่ ซึ่งที่ได้แนะนำไปจะเป็นส่วนประกอบหลัก ที่นำมาใช้ในการอ่านค่าแก่

  •  เส้น RSI
  • เส้นระดับราคา 30
  • เส้นระดับราคา 70
ซึ่ง 3 ส่วนประกอบนี้ จะเป็นส่วนประกอบหลักที่จะใช้ อ่านสัญญาณที่จะได้เกิดขึ้นดังต่อไปนี้

1. สัญญาณ Overbought และ Oversold

RSI indicator Relative Strength Index Overbought Oversold Goo Invest สัญญาณ Overbought Oversold

Overbought บ่งบอกถึงสภาวะตลาด ที่มีการซื้อมาเกินไป เป็นสัญญาณว่า ราคาจะมีการปรับตัวลง หรือ เป็นจุดขาย โดยการอ่านสัญญาณ Overbought ใน RSI นั้นเกิดขึ้นเมื่อระดับค่า RIS อยู่ที่ระดับ 70 หรือสูงกว่า

Oversold บ่งบอกถึงสภาวะตลาด ที่มีการขายมาเกินไป เป็นสัญญาณว่า ราคาจะมีการปรับตัวขึ้น หรือ เป็นจุดซื้อ โดยการอ่านสัญญาณ Oversold ใน RSI นั้นเกิดขึ้นเมื่อระดับค่า RIS อยู่ที่ระดับ 30 หรือต่ำกว่า

2. สัญญาณ Divergence

RSI indicator Relative Strength Index Divergence type Goo Invest

สัญญาณ Divergence คือความขัดแย้งกัน ระหว่างราคากับการเคลื่อนไหวของค่า RSI เกิดขึ้นทั้งในสภาวะขาขึ้น และ สภาวะขาลง 

 

ความขัดแย้ง ในสภาวะขาขึ้นว่า Bearish Divergence

ความขัดแย้ง ในสภาวะขาลงว่า Bullish Divergence

RSI indicator Relative Strength Index Bearish Divergence Goo Invest

การอ่าน Trend หรือ แนวโน้ม ด้วย RSI Indicator

RSI indicator Relative Strength Index การอ่านแน้วโน้ม Trend Goo Invest

ใช่คุณฟังไม่ผิด แน่นอน หลายคนอาจไม่ทราบ หรือ ว่า RSI Relative Strength Index สามารถช่วยอ่าน แนวโน้มตลาดได้ ไม่ใช่แค่ อินดิเคเตอร์ Trend อย่าง MACD TRENDLINE หรือ MA อาจฟังดูแปลก เพราะหลายคน อาจทราบเพียงว่า RSI ใช้ช่วยหา  Overbought และ Oversold แต่ RSI มันสามารถทำได้ดีกว่านั้น อย่างที่ทราบกันดีว่า RSI นั้นเป็น Indicator ที่มีไว้จับการแกว่าง ของตลาด หรือ Momentum ดังนั้นการที่ Momentum แกว่งไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง มันจึงเกิดเป็นแนวโน้มเกิดขึ้น โดยการอ่านนั้นก็ไม่มีอะไรซับซ้อน

  • แนวโน้ม ขาขึ้นค่าของ RSI จะไม่ลงต่ำกว่า ค่า RSI 30 และจะแกว่งไปในทิศทาง Overbought อย่างต่อเนื่อง เป็นสัญญาณ แนวโน้มขาขึ้น
  • แนวโน้ม ขาลงค่าของ RSI จะไม่ขึ้นสูงกว่า ค่า RSI 70 และจะแกว่งไปในทิศทาง Oversold อย่างต่อเนื่อง เป็นสัญญาณ แนวโน้มขาลง
Share Facebook
Share Twitter

เปิดบัญชีซื้อขายทองคำ

Categories
Technical Analysis การลงทุน ธุรกิจ

trend line เทรนไลน์

TREND LINE เทรนไลน์

trend line เทรนไลน์ เป็นอีกหนึ่ง เทคนิคการวิเคราะห์กราฟ ที่ได้รับความนิยม และ เทรดเดอร์ ทุกคนต้องรู้จัก ไม่แพ้ กราฟแท่งเทียน เป็นเครื่องมือหนึ่ง ในการช่วยหาแนวโน้ม หรือ แนวรับ – แนวต้าน แต่ เทรนไลน์ ไม่มีสูตรคำนวนที่ตายตัวว่า การตีเทรนไลน์ของแต่ละคนก็อาจแตกต่างไป ไม่มีถูกผิด ขึ้นกับประสบการณ์และการนำไปประยุคต์ใช้  แต่ก็มีหลักการพื้นฐานการตีเดียวกัน

 

การใช้งาน TREND LINE

การสร้างเส้น แนวโน้ม หรือ Trend Line มีประโยชน์เพื่อหา แนวโน้มตลาด ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อนำมาประกอบในการวางแผนการเทรด โดยมีหลักการ ตีเส้นเทรนไลน์ หลักๆ ด้วยกัน 2 แบบคือ

1. แนวโน้มขาขึ้น Low to Higher Low

Trend Line เทรนไลน์ การตีเทรนไลน์ แนวโน้ม ขาขึ้น Low to Higher Low support แนวรับ Goo Invest

การตีเส้น เทรนไลน์ จากจุดต่ำ Low ไป หาจุดต่ำสุดที่สูงขึ้น Higher Low เกิดขึ้นในช่วงสภาวะตลาด แนวโน้มขาขึ้น โดยแนวเส้นเทรนไลน์ จะอยู่ใต้ราคา และบริเส้นเทรนไลน์ จะถือว่าเป็นเส้น แนวรับ support line สำหรับใครที่เทรดด้วย Trend Line สามารถใช้เส้นเทรนไลน์เป็นตัวกำหนดกลยุทธ์เช่นใช้เข้า ออเดอร์ Buy ( Long ) บริเวณที่ราคาลงมาทดสอบเส้นแนวโน้ม หรือใช้เป็นเกณฑ์ ในขายทำกำไร เมื่อราคาลงต่ำกว่าแนวเส้น Trend Line

2. แนวโน้มขาลง High to Lower High

Trend Line เทรนไลน์ การตีเทรนไลน์ แนวโน้ม ขาลง High to Lower High Resistant แนวต้าน Goo Invest

การตีเส้น เทรนไลน์ จากจุดสูง High ไป หาจุดสูงที่ต่ำลง Lower High เกิดขึ้นในช่วงสภาวะตลาด แนวโน้มขาลง โดยแนวเส้นเทรนไลน์ จะอยู่ต่ำกว่าราคา และบริเส้นเทรนไลน์ จะถือว่าเป็นเส้น แนวต้าน resistance line สำหรับใครที่เทรดด้วย Trend Line สามารถใช้เส้นเทรนไลน์เป็นตัวกำหนดกลยุทธ์เช่นใช้เข้า ออเดอร์ Sell ( Short ) บริเวณที่ราคาขึ้นมาทดสอบเส้นแนวโน้ม หรือใช้เป็นเกณฑ์ ในขายทำกำไร เมื่อราคาขึ้นสูงกว่าแนวเส้น Trend Line

3. ไม่มีแนวโน้ม หรือ Sideway High to High , Low to Low

Trend Line เทรนไลน์ การตีเทรนไลน์ แนวโน้ม Sideway High to High Resistant แนวต้าน, Low to Low Support แนวรับ Goo Invest

การตีเส้น เทรนไลน์ จากจุดสูง High ไป หาจุดสูง High ในระดับเดียวกัน เกิดขึ้นในช่วงสภาวะตลาด แบบไม่มีแนวโน้มหรือ Sideway โดยแนวเส้นเทรนไลน์ จะอยู่เหนือราคา และบริเส้นเทรนไลน์ จะถือว่าเป็นเส้น แนวต้าน resistance line 

 

การตีเส้น เทรนไลน์ จากจุดต่ำ Low ไป หาจุดต่ำ Low ในระดับเดียวกัน เกิดขึ้นในช่วงสภาวะตลาด แบบไม่มีแนวโน้มหรือ Sideway โดยแนวเส้นเทรนไลน์ จะอยู่ใต้ราคา และบริเส้นเทรนไลน์ จะถือว่าเป็นเส้น แนวรับ Support line 

 

สำหรับใครที่เทรดด้วย Trend Line สามารถใช้เส้นเทรนไลน์เป็นตัวกำหนดกลยุทธ์เช่นใช้เข้า ออเดอร์ Sell ( Short ) บริเวณที่ราคาขึ้นมาทดสอบเส้น แนวต้าน Resistant หรือใช้เป็นเกณฑ์ ตัดขาดทุน เมื่อราคาขึ้นสูงกว่าแนวเส้น แนวต้าน Resistant ในทางกลับกันสามารถใช้เข้า ออเดอร์ Buy ( Long ) บริเวณที่ราคาลงมาทดสอบเส้น แนวรับ Support หรือใช้เป็นเกณฑ์ ตัดขาดทุน เมื่อราคาขึ้นสูงกว่าแนวเส้น แนวรับ support

ความชันของ Trend Line บอกความแข็งแรงของแนวโน้ม

หลายคนอาจได้ศึกษาเรื่อง Trend Line เทรนไลน์ มาอยู่บ้างแต่ทราบหรือไม่ว่า ความชันของเส้นแนวโน้ม มีผลของความแข็งแรงของเส้นเทรนไลน์ และสามารถบอกถึงแนวโน้มตลาดได้อีกด้วย โดยจะแบ่งได้หลักๆ 3 แนวโน้ม

Trend Line เทรนไลน์ ความชัน ความแข็งแรงของแนวโน้ม Goo Invest

1. แนวโน้มขาขึ้น

ความชันของเส้น Trend Line ขาขึ้น 1 – 45 องศา วัดจาก จุดที่หนึ่ง ไปยังจุดที่สอง ในช่วงแนวโน้มขาขึ้นยังแบ่งย่อยระดับความชัน ลงได้อีก 3 ระยะ คือ 

  • ความชัน 1 – 5 องศา ถือเป็นแนวโน้มตลาดขาขึ้นแต่ยังไม่แข็งแรง มักเรียกแนวโน้มระดับความชันนี้ว่า Sideway Up
  • ความชัน 6 – 15  องศา ถือเป็นแนวโน้มตลาดขาขึ้น ที่มีความแข็งแรงและเส้นแนวโน้มในช่วงความชันนี้จะใช้งานได้ดี
  • ความชัน 16 – 45 องศา ถือเป็นแนวโน้มตลาดขาขึ้น ที่มีปริมาณซื้อขายปริมาณมากกว่าปรกติ เส้นแนวโน้มในช่วงความชันนี้จะเกิดขึ้นในช่วงสั้นๆเท่านั้นราคาอาจมีการทดสอบเส้นราคาเพียง 2-3 ครั้งเท่านั้นก่อนที่จุดตัดเส้นแนวโน้มลง เหมาะกับคนที่เล่นใน ระยะสั้น

2. แนวโน้มขาลง

ความชันของเส้น Trend Line เทรนไลน์ ขาลง 315 – 359 วัดจาก จุดที่หนึ่ง ไปยังจุดที่สอง ในช่วงแนวโน้มขาลงยังแบ่งย่อยระดับความชัน ลงได้อีก 3 ระยะ คือ 

  • ความชัน 355 – 359 องศา ถือเป็นแนวโน้มตลาดขาลงแต่ยังไม่แข็งแรง มักเรียกแนวโน้มระดับความชันนี้ว่า Sideway Down
  • ความชัน 345 – 354 องศา ถือเป็นแนวโน้มตลาดขาลง ที่มีความแข็งแรงและเส้นแนวโน้มในช่วงความชันนี้จะใช้งานได้ดี
  • ความชัน 315 – 344 องศา ถือเป็นแนวโน้มตลาดขาลง ที่มีปริมาณซื้อขายปริมาณมากกว่าปรกติ เส้นแนวโน้มในช่วงความชันนี้จะเกิดขึ้นในช่วงสั้นๆเท่านั้นราคาอาจมีการทดสอบเส้นราคาเพียง 2-3 ครั้งเท่านั้นก่อนที่จุดตัดเส้นแนวโน้มขึ้น เหมาะกับคนที่เล่นใน ระยะสั้น

3. ตลาดไม่มีแนวโน้ม Sideway

ความชันของเส้น Trend Line แบบไม่มีแนวโน้ม หรือ Sideway 356 – 4 องศา วัดจาก จุดที่หนึ่ง ไปยังจุดที่สอง ในช่วงแนวโน้มขาลงยังแบ่งย่อยระดับความชัน ลงได้อีก 3 ระยะ คือ 

  • ความชัน 0 องศา ถือเป็นตลาดไม่มีแนวโน้ม หรือ Sideway 
  • ความชัน 1 – 5 องศา ถือเป็นแนวโน้มตลาดขาขึ้นเล็กน้อย แต่ยังไม่แข็งแรงถือว่ายังไม่มีแนวโน้มชัดเจน มักเรียกแนวโน้มระดับความชันนี้ว่า Sideway Up
  • ความชัน 355 – 359 องศา ถือเป็นแนวโน้มตลาดขาลงเล็กน้อย แต่ยังไม่แข็งแรง ถือว่ายังไม่มีแนวโน้มชัดเจน มักเรียกแนวโน้มระดับความชันนี้ว่า Sideway Down
Share Facebook
Share Twitter

เปิดบัญชีซื้อขายทองคำ

Categories
Technical Analysis การลงทุน ธุรกิจ

กราฟแท่งเทียน Candlesticks

กราฟแท่งเทียน Candlesticks

กราฟแท่งเทียน ( Candlesticks ) เป็นรูปแบบการแสดงผลของกราฟราคาชนิดหนึ่ง ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แท่งเทียนเพียงหนึ่งแท่ง สามารถบอกอะไรได้หลายอย่าง ทั้งยังสามารถสื่อถึงอารมณ์ หรือพฤติกรรมของนักเทรด ที่แสดงออกมาในรูปแบบของแท่งเทียน ซึ่งนั่นหมายความว่า มันสามารถบอกถึง ความน่าจะเป็นที่จะเกิดขึ้น ในอนาคตได้ ด้วยตัวมันเอง รวมถึงยังมีการอ่านกราฟแบบหลายแท่ง ที่มีรูปแบบ ( Candlesticks pattern ) เป็นอีกหนึ่งประเภทกราฟที่ โปรแกรม MT4 มีให้บริการ และ สำหรับนักวิเคราะห์ แนะนำสำหรับผู้เริ่มต้น เพราะ MT4 สมัครง่ายไม่ยุ่งยากมีให้โหลดใช้ได้ทั่วไป ท่านสามาถ ขอ Log in ฟรี จากผู้ให้บริการได้ต่างจากโปรแกรมสำหรับหุ้น ที่มีขั้นตอนมากกว่า จึงเป็นทางเลือกที่ดีในการเริ่มต้นศึกษา

กราฟแท่งเทียน หนึ่งแท่ง ประกอบไปด้วย

  • ราคาเปิด (Open Price) เป็นราคาซื้อขายแรกที่เกิดขึ้นตั้งแต่เปิดตลาด
  • ราคาสูงสุด (High Price) การเคลื่อนไหวของราคาหุ้น ณ ระดับราคาสูงสุดในวันทำการ
  • ราคาต่ำสุด (Low Price) การเคลื่อนไหวของราคาหุ้น ณ ระดับราคาต่ำสุดในวันทำการ
  • ราคาปิด (Close Price) เป็นราคาสุดท้ายที่เกิดขึ้นจากการซื้อขายสิ้นสุดของวัน
  • ถ้าราคาปิด สูงกว่า ราคาเปิด แท่งเทียน สีเขียว
  • ถ้าราคาปิด ต่ำกว่า ราคาเปิด แท่งเทียน สีแดง
  • ระยะห่างระหว่างราคาเปิดและราคาปิดจะแสดงเป็นแท่งทึบเรียกว่า Body ( เนื้อเทียน )
  • ส่วนที่ราคาเคยวิ่งไประหว่างแท่งยังไม่ปิดที่เกินกว่าราคาเปิดและราคาปิดจะแสดงเป็นเส้นตรงทำมุมแนวตั้ง 90 องศา เรียก Shadow ( ไส้เทียน )
กราฟแท่งเทียน Candlesticks Goo Invest

สัญญาณ กราฟแท่งเทียน candlestick pattern

การอ่าน สัญญาณ กราฟแท่งเทียน แบบเดี่ยว

สัญญาณแบบเดี่ยว Single เป็น การอ่านแบบกราฟ แบบแท่งสัญญาณเดียว โดยไม่ได้อ้างอิงจากแท่งสัญญาณก่อนหน้าแต่อ้างอิงจากแนวโน้มเดิม และตำแหน่งที่เกิดสัญญาณ โดยที่แต่ละสัญญาณจะมีชื่อเฉพาะตัวและสามาถบอกถึง ลักษณะรูปแบบการซื้อขาย ของทางนักลงทุน ที่สะท้อนพฤติกรรมกการซื้อขายหรือ หลายคนอาจเคยได้ยินคำว่าอารมณ์ตลาด ออกมาในรูป แบบของแท่งราคา

Hammer

กราฟแท่งเทียน Candlesticks shooting star Goo Invest.

รูปแบบการกลับตัวแบบแท่งเดี่ยว ที่เกิดขึ้นในช่วงสภาวะตลาดขาลง ลักษณะจะเป็นแท่งเทียนที่มี body สั้นๆ แต่จะมีใส้เทียนด้านล่าง ( lower shadow ) ยาวเป็นอย่างน้อยสองเท่าของ body ลักษณะคล้ายๆกับ Hanging Man แต่กลับกันที่ Hanging Man จะเกิดในช่วงสภาวะขาขึ้น 

 

สัญญา กราฟแท่งเทียน Hammer บอกได้ถึง มีปริมาณแรงขายในช่วงแรก แต่มีการซื้อกลับเข้ามา อย่างมากระหว่างวัน หรือ ในช่วงเวลาของแท่งเทียนนั้น ( Timeframe ) ส่งผลทำให้ มีโอกาส ที่จะมีแรงซื้อ เข้ามาต่อเนื่องในวัน หรือ แท่งเทียน ถัดไป

Invert Hammer

กราฟแท่งเทียน Candlesticks inverted hammer Goo Invest

รูปแบบการกลับตัวที่เกิดขึ้น ในช่วงภาวะตลาดขาลง ลักษณะ เป็นแท่งเทียนที่มี body สั้นกว่าไส้เทียน เป็น 1 ใน 3 ของ หางหรือไส้เทียนด้านบน ( Upper Shadow ) ที่มีความยาวอย่างน้อย 2 ใน 3 ของ Body และมีราคา ปิดสูง หรือ ปิดต่ำ กว่า ราคาเปิดก็ได้ ลักษณะคล้ายกับ Shooting star แต่ต่างกันที่ Shooting star เกิดในช่วงสภาวะขาขึ้น

 

สัญญาณ กราฟแท่งเทียน Invert Hammer บอกถึง แรงซื้อที่มีเข้ามาในตลาดจำนวนมากซึ่ง ส่งผลทำให้ มีโอกาส ที่จะมีแรงซื้อ เข้ามาต่อเนื่องในวัน หรือ แท่งเทียน ถัดไป

Bullish Doji

กราฟแท่งเทียน Candlesticks bullish doji Goo Invest

รูปแบบการกลับตัว Bullish Doji เกิดขึ้น ในช่วงภาวะตลาดขาลง ลักษณะ เป็นแท่งเทียนแบบไม่มี Body เนื่องจากมีราคาเปิดและปิดที่ราคาเดียวกัน หรือใกล้กันมากจนกระทั่งมองเห็นตัว body และมีไส้ด้านบนและด้านล่างยาวใกล้เคียงกัน

 

สัญญาณ กราฟแท่งเทียน Bullish Doji บอกถึง ความลังเลของตลาดที่มีปริมาณการซื้อขายที่เท่ากัน ของวันนั้น หรือ แท่งเทียนแท่งวัน ในช่วง Timeframe นั้น มีโอกาส ที่ตลาดเข้าสู่การพักตัวจากแนวโน้มที่ลงมาอย่างต่อเนื่อง ในแท่งเทียน ถัดไป

Bearish Doji

กราฟแท่งเทียน Candlesticks bearish doji Goo Invest

รูปแบบการกลับตัว Bearish Doji เกิดขึ้น ในช่วงภาวะตลาดขาขึ้น ลักษณะ เป็นแท่งเทียนแบบไม่มี Body เนื่องจากมีราคาเปิดและปิดที่ราคาเดียวกัน หรือใกล้กันมากจนกระทั่งมองเห็นตัว body และมีไส้ด้านบนและด้านล่างยาวใกล้เคียงกัน

 

สัญญาณ กราฟแท่งเทียน Bearish Doji บอกถึง ความลังเลของตลาดที่มีปริมาณการซื้อขายที่เท่ากัน ของวันนั้น หรือ แท่งเทียนแท่งวัน ในช่วง Timeframe นั้น มีโอกาส ที่ตลาดเข้าสู่การพักตัวจากแนวโน้มที่ขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ในแท่งเทียน ถัดไป

Long Legged Doji

กราฟแท่งเทียน Candlesticks long legged doji Goo Invest

รูปแบบการกลับตัว Long Legged Doji เกิดขึ้น ในช่วงภาวะตลาดขาขึ้น ลักษณะ เป็นแท่งเทียนแบบไม่มี Body เนื่องจากมีราคาเปิดและปิดที่ราคาเดียวกัน หรือใกล้กันมากจนกระทั่งมองเห็นตัว body และมีใส้ด้านบนและด้านล่างยาวใกล้เคียงกัน แต่จะมีความยาวมาก มากกว่า Doji ธรรมมาดา

 

สัญญาณ กราฟแท่งเทียน Long Legged Doji บอกถึง ความลังเลของตลาดที่มีปริมาณการซื้อขายที่เท่ากัน ของวันนั้น หรือ แท่งเทียนแท่งวัน ในช่วง Timeframe นั้น เช่นเดียวกับ Doji ธรรมดา แต่มีความผันผวนที่สูงมาก มีโอกาส ที่ตลาดเข้าสู่การพักตัวจากแนวโน้มที่ขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ในแท่งเทียน ถัดไป

Dragon Fly Doji

กราฟแท่งเทียน Candlesticks dragonfly doji Goo Invest

รูปแบบการกลับตัว Dragon Fly Doji เกิดขึ้น ในช่วงภาวะตลาดขาลง ลักษณะ เป็นแท่งเทียนแบบไม่มี Body เนื่องจากมีราคาเปิดและปิดที่ราคาเดียวกัน หรือใกล้กันมากจนกระทั่งมองเห็นตัว body และมีไส้ ด้านบนสั้นกว่า ด้านล่าง 

 

สัญญาณ กราฟแท่งเทียน Dragon Fly Doji บอกถึง แรงขายจำนวนมากในระหว่างวันๆนั้น แต่ ก็ถูก แรงซื้อ จนกระทั้งกลับมาปิดบริเวณ ใกล้เคียงกับราคาเปิด ของวันนั้น หรือ แท่งเทียนแท่งวัน ในช่วง Timeframe นั้น แสดงถึงความผันผวน หรือความลังเลจากแนวโน้มเดิม และมีความผันผวนที่สูงมาก มีโอกาส ที่ตลาดเข้าสู่การพักตัวจากแนวโน้มที่ขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ในแท่งเทียน ถัดไป

Gravestone Doji

กราฟแท่งเทียน Candlesticks gravestone doji Goo Invest

รูปแบบการกลับตัว Gravestone Doji  เกิดขึ้น ในช่วงภาวะตลาดขาขึ้น ลักษณะ เป็นแท่งเทียนแบบไม่มี Body เนื่องจากมีราคาเปิดและปิดที่ราคาเดียวกัน หรือใกล้กันมากจนกระทั่งมองเห็นตัว body และมีไส้ยาว ด้านบน แต่ไม่มีไส้ด้านล่าง

 

สัญญาณ กราฟแท่งเทียน Gravestone Doji รู้จักกันดีในชื่อว่า ” ป้ายหลุมศพ ” สัญลักษณ์ แห่งความโชคร้าย บอกถึง แรงซื้อจำนวนมากในระหว่างวันๆนั้น แต่ ก็ถูก แรงขาย ขายมาจำนวนมาก จนกระทั้งกลับมาปิดบริเวณราคาเปิด ของวันนั้น หรือ แท่งเทียนแท่งวัน ในช่วง Timeframe นั้น แสดงถึงความผันผวน หรือความลังเลจากแนวโน้มเดิม และมีความผันผวนที่สูงมาก มีโอกาส ที่ตลาดเข้าสู่การพักตัวจากแนวโน้มที่ขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ในแท่งเทียน ถัดไป

Hanging Man

กราฟแท่งเทียน Candlesticks Hanging man Goo Invest

รูปแบบการกลับตัวแบบแท่งเดี่ยว ที่เกิดขึ้นในช่วงสภาวะตลาดขาขึ้น ลักษณะจะเป็นแท่งเทียนที่มี body สั้นๆ แต่จะมีไส้เทียนด้านล่าง ( lower shadow ) ยาวเป็นอย่างน้อยสองเท่าของ body ลักษณะคล้ายๆกับ Hammer แต่กลับกันที่ Hammer จะเกิดในช่วงสภาวะขาลง 

 

สัญญา กราฟแท่งเทียน Hanging Man บอกได้ถึง มีปริมาณแรงขายในช่วงแรกของวันหรือแท่งเทียนนั้น  แต่มีการซื้อกลับเข้ามา อย่างมากระหว่างวัน หรือ ในช่วงเวลาของแท่งเทียนนั้น ( Timeframe ) แสดงถึงความลังเลต่อแนวโน้มเดิมซึ่งอาจส่งผลทำให้พักตัวจากแนวโน้มเดิมได้ใน แท่งเทียน ถัดไป หรือวันถัดไป

Shooting star

กราฟแท่งเทียน Candlesticks shooting star Goo Invest

Shooting star รูปแบบการกลับตัวที่เกิดขึ้น ในช่วงภาวะตลาดขาขึ้น ลักษณะ เป็นแท่งเทียนที่มี body สั้นกว่าไส้เทียน เป็น 1 ใน 3 ของ หางหรือไส้เทียนด้านบน ( Upper Shadow ) ที่มีความยาวอย่างน้อย 2 ใน 3 ของ Body และมีราคา ปิดสูง หรือ ปิดต่ำ กว่า ราคาเปิดก็ได้ ลักษณะคล้ายกับ Invert Hammer แต่ต่างกันที่ Shooting star เกิดในช่วงสภาวะขาลง

 

สัญญาณ กราฟแท่งเทียน Invert Hammer บอกถึง แรงซื้อที่มีเข้ามาในตลาดจำนวนมากซึ่ง ส่งผลทำให้ มีโอกาศ ที่จะมีแรงซื้อ เข้ามาต่อเนื่องในวัน หรือ แท่งเทียน ถัดไป

การอ่าน สัญญาณ กราฟแท่งเทียน candlestick pattern

สัญญาณแบบ Pattern เป็น การอ่านแบบกราฟ แบบแท่งสัญญาณหลายแท่ง โดยอ้างอิงสัญญาณจากหลายแท่งมาประกอบกันเป็นรูปแบบ โดยจะให้ความสำคัญกับตำแหน่งที่เกิดสัญญาณด้วยเป็นการประกอบการตัดสินใจ โดยที่แต่ละสัญญาณจะมีชื่อเฉพาะตัวและการอ่านสัญญาณแท่งเทียน สามาถบอกถึง ลักษณะรูปแบบการซื้อขาย ของทางนักลงทุน ที่สะท้อนพฤติกรรมกการซื้อขายหรือ หลายคนอาจเคยได้ยินคำว่าอารมณ์ตลาด ออกมาในรูป แบบของแท่งราคา

Piercing pattern

กราฟแท่งเทียน Candlesticks Piercing pattern Goo Invest

Piercing pattern รูปแบบการกลับตัวที่อ่านสัญญาณ 2 แท่ง ในช่วงภาวะตลาดขาลง ลักษณะ เป็นแท่งเทียนที่มี body ปิดสูงกว่าแท่งเทียนก่อนหน้า ที่มีลักษณะขายเป็นแทงแดงยาวลงมาหรือราคาปิดต่ำกว่าราคาเปิดยาวลงมา และในแทงเทียนถัดมามีการเปิด Gap ลงพร้อมมีการซื้อกลับเข้ามาในปริมาณมาก แต่ราคาปิดต้องปิดได้ไม่น้อยกว่า 50% ของแท่งเทียนก่อนหน้า และมีไส้เทียนน้อย 

 

สัญญาณแท่งเทียน Piercing pattern หมายถึง มีแรงซื้อกลับเข้ามาในตลาดหรืออาจมีการทำกำไรจากนักลงทุนออกมาจากตลาดขาลงหรือมีการชลอการขายซึ่งเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการเข้าซื้อจากนักลงทุน ส่งผลให้ อาจมีแรงซื้อเข้ามาต่อเนื่องในวันถัดไปหรือแท่งเทียนถัดไป ซื้อ เข้ามาต่อเนื่องในวัน หรือ แท่งเทียน ถัดไป

Dark Cloud Cover

กราฟแท่งเทียน Candlesticks Dark Cloud Cover Goo Invest

Dark Cloud Cover รูปแบบการกลับตัวที่อ่านสัญญาณ 2 แท่ง ในช่วงภาวะตลาดขาขึ้น ลักษณะ เป็นแท่งเทียนที่มี body ปิดต่ำกว่าราคาเปิด โดยแท่งเทียนก่อนหน้าที่มีลักษณะลงขายเป็นแท่งเขียวยาวหรือราคาปิดสูงกว่าราคาเปิดยาวขึ้นมาและในแทงเทียนถัดมามีการเปิด Gap ขายกลับเข้ามาในปริมาณมาก แต่ราคาปิดจะต้องปิดได้ไม่น้อยกว่า 50% ของแท่งเทียนก่อนหน้า และมีไส้เทียนน้อย 

 

สัญญาณแท่งเทียน Dark Cloud Cover หมายถึง มีแรงขายกลับเข้ามาในตลาดหรืออาจมีการทำกำไรจากนักลงทุนออกมาจากตลาดขาขึ้นหรือมีการชลอการซื้อซึ่งเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการขายจากนักลงทุน ส่งผลให้ อาจมีแรงขายต่อเนื่องในวันถัดไปหรือแท่งเทียนถัดไป

Bullish Engulfing

กราฟแท่งเทียน Candlesticks Bullish Engulfing Goo Invest

Bullish Engulfing รูปแบบการกลับตัวที่อ่านสัญญาณ 2 แท่ง ในช่วงภาวะตลาดขาลง ลักษณะ 

  •  แท่งแรกสีแดง มี body เล็กกว่าแท่งที่ 2
  • แท่งที่สองราคาเปิด Gap ต่ำลงกว่าราคาปิดของแท่งเทียนก่อนหน้า แต่ก็สามารถกลับมาปิดได้สูงกว่าเราเปิดของแท่งเทียนก่อนหน้า 

 

ส่งผลให้ อาจมีแรงซื้อเข้ามาต่อเนื่องในวันถัดไปหรือแท่งเทียนถัดไป

Bearish Engulfing

กราฟแท่งเทียน Candlesticks Bearish Engulfing Goo Invest

Bearish Engulfing รูปแบบการกลับตัวที่อ่านสัญญาณ 2 แท่ง ในช่วงภาวะตลาดขาขึ้น ลักษณะ 

  •  แท่งแรกสีเขียว มี body เล็กกว่าแท่งที่ 2
  • แท่งที่สองราคาเปิด Gap สูงขึ้นกว่าราคาปิดของแท่งเทียนก่อนหน้า แต่ก็สามารถกลับมาปิดได้ต่ำกว่าเราเปิดของแท่งเทียนก่อนหน้า 

 

ส่งผลให้ อาจมีแรงขายเข้ามาต่อเนื่องในวันถัดไปหรือแท่งเทียนถัดไป

Bullish Harami

กราฟแท่งเทียน Candlesticks Bullish Harami Goo Invest

Bullish Harami รูปแบบการกลับตัวที่อ่านสัญญาณ 2 แท่ง ในช่วงภาวะตลาดขาลง ลักษณะ 

  •  แท่งแรกสีแดง มี body ใหญ่กว่าแท่งที่ 2
  • แท่งที่สองราคาเปิด Gap สูงกว่าราคาปิดของแท่งก่อนหน้าแต่ยังเปิดไม่สูงกว่าราคาเปิดของแท่งก่อนหน้า และราคาปิดของแท่งที่สองปิดได้สูงกว่าราคาเปิดแต่ไม่สูงกว่าราคาเปิดของแท่งก่อนหน้า

 

แสดงถึงความไม่มั่นใจต่อแนวโน้มเดิมอาจส่งผลให้เกิดการพักตัวในระยะสั้นหรือมีแรงซื้อมา ส่งผลให้ อาจมีแรงซื้อสะสมเข้ามาต่อเนื่องในวันถัดไปหรือแท่งเทียนถัดไป

Bearish Harami

กราฟแท่งเทียน Candlesticks Bearish Harami Goo Invest

Bearish Harami รูปแบบการกลับตัวที่อ่านสัญญาณ 2 แท่ง ในช่วงภาวะตลาดขาลง ลักษณะ 

  •  แท่งแรกสีเขียว มี body ใหญ่กว่าแท่งที่ 2
  • แท่งที่สองราคาเปิด Gap ต่ำกว่าราคาปิดของแท่งก่อนหน้าแต่ยังเปิดไม่ต่ำกว่าราคาเปิดของแท่งก่อนหน้า และราคาปิดของแท่งที่สองปิดได้สูงกว่าราคาเปิดแต่ไม่ต่ำกว่าราคาเปิดของแท่งก่อนหน้า

 

แสดงถึงความไม่มั่นใจต่อแนวโน้มเดิมอาจส่งผลให้เกิดการพักตัวในระยะสั้นหรือมีแรงขายเข้ามา ส่งผลให้ อาจมีแรงขายสะสมเข้ามา ต่อเนื่องในวันถัดไปหรือแท่งเทียนถัดไป

Three Crows

กราฟแท่งเทียน Candlesticks Three Black Crows Goo Invest

Three Crows หรือ Tree black crows รูปแบบนี้ประกอบด้วย แท่งเทียนหลัก 3 แท่งยาวๆแดงๆ เรียงติดกัน แสดงถึงความกังวลต่อแนวโน้มเดิมเป็นอย่างมากหรือหลายคนอาจเคยได้ยินกันบ่อยๆคือ ช่วงสภาวะ Panic sell ทั้งนี้หลายๆประเทศเองก็มีความเชื่อเกี่ยวกับ “อีกา” ว่าหมายถึงหายนะ หรือ ความโชคร้ายนั่นเอง

Three White Soldiers

กราฟแท่งเทียน Candlesticks Three White Soldiers Goo Invest

Three White Soldiers เกิดขึ้นในช่วงสภาวะตลาดขาลง โดยในชุดราคาจะมีแรงซื้อปริมาณมากเข้ามาต่อเนื่อง 3 วันติดกันหรือ 3 แท่งติดต่อกัน เป็นสัญญาณแนวโน้มตลาดกลับตัวจากแนวโน้มเดิม บอกได้ถึงความมั่งใจในตลาดเป็นอย่างมากทำให้มีการเข้าซื้อสะสมกันเป็นปริมาณมาก อาจส่งผลได้ถึงแนวโน้มตลาด หรือการพักตัว ระยะกลาง

Share Facebook
Share Twitter

เปิดบัญชีซื้อขายทองคำ

เปิดบัญชีซื้อขายทองคำ

เปิดบัญชีซื้อขายทองคำ

เปิดบัญชีซื้อขายทองคำ

เปิดบัญชีซื้อขายทองคำ

เปิดบัญชีซื้อขายทองคำ

เปิดบัญชีซื้อขายทองคำ

เปิดบัญชีซื้อขายทองคำ

เปิดบัญชีซื้อขายทองคำ

เปิดบัญชีซื้อขายทองคำ