Categories
Technical Analysis การลงทุน

ทฤษฎี Dow Theory ต้นกำเนิด กราฟเทคนิค ที่มือใหม่ ห้ามพลาด

ทฤษฎี Dow Theory ต้นกำเนิด กราฟเทคนิค ที่มือใหม่ ห้ามพลาด

ทฤษฎี Dow Theory ถือกำเนิดขึ้นโดย Charles Henry Dow ที่นับได้ว่าเป็น ศาสดา แห่งการวิเคราะห์ กราฟเทคนิค ต้องย้อนไปถึงปี 1896 เขาคิดค้นสิ่งที่เรียกว่า “ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์” ซึ่งเขายังเป็น บรรณาธิการ หนังสือพิมพ์ The Wall Street ที่จะต้อเขียน บทวิเคราะห์ รวมถึงต้องติดตามราคา หุ้น ทองคำ ต่างๆ แต่ในยุคนั้นยังไม่มีกราฟให้เทรดในทุกวันนี้ เขาจึงติดตามราคา ด้วยการสร้างการบันทึก กระทั่งนำมาสร้างเป็น ดัชนี ที่เราใช้กันในทุกวันนี้ จึงต้องยอมรับให้เขาเป็น ศาสดาแห่ง กราฟ รวมถึงการวิเคราะห์ทางเทคนิค เพราะพื้นฐานการวิเคราะห์หลายๆอย่างนั้น ถูกสร้างขึ้นมาจาก พื้นฐานของ ทฤษฎี นี้นั่นเอง

ทฤษฎี Dow Theory ต้นกำเนิด กราฟเทคนิค ที่มือใหม่ ห้ามพลาด Charles henry dow Goo invest Trade

ทฤษฎี Dow Theory แบ่งออกเป็น 6 หลักการสำคัญ คือ

1. ตลาดมีการเคลื่อนไหวหลักๆ อยู่ 3 รูปแบบ (The market has three movements) คือ

  • แนวโนมโหญ่ (The main movement or Primary trend) = 1-3 ปี หรือมากกว่า
  • แนวโน้มกลาง(The medium swing or Intermediate trend) = 3 สัปดาห์ – 3 เดือน หรือมากกว่า
  • แนวโน่้มระยะสั้นๆ (The short swing or Minor trend) = รายวัน – เดือน หรือมากกว่า

2. ตลาดหุ้นมี Trend

แบ่งเป็น 3 ช่วงใหญ่ๆ (Market trends have three phases) คือ ช่วงสะสมหุ้น (The accumulation phase) ช่วงมหาชนมีส่วนร่วม (The public participation phase) ช่วงแจกจ่ายหรือปล่อยของ (The distribution phase)

 

3. ราคาสะท้อนทุกอย่างในตลาดอยู่แล้ว (The prices reflect the market already)

 

4. ทุกอย่างต้องมีความสอดคล้องกัน (Market Indexes Must Confirm Each Other)

 

5. ถ้าตลาดจะมีเทรนด์ ต้องมีปริมาณยืนยัน (Volume Must Confirm The Trend)

 

6. ราคาจะขึ้นจนกว่ามันจะไม่ขึ้น และจะลงจนกว่ามันจะลง (Trends exist until definitive signals prove that they have ended)

แนวโน้มตลาดแบ่งเป็น 3 แนวโน้มหลัก

แนวโน้มขาขึ้น ตามหลักการของ ทฤษฎี Dow Theory

ทฤษฎี Dow Theory ต้นกำเนิด กราฟเทคนิค ที่มือใหม่ ห้ามพลาด แนวโน้มขาขึ้น Goo Invest trade

แนวโน้มขาขึ้น ตาม ทฤษฏี นั้นราคาจะต้องทำ จุดสูงสุดใหม่ Higher high  และ จุดต่ำสุดใหม่ Higher Low สูงขึ้นไปเรื่อยๆ และจุดต่ำสุดใหม่ Higher Low จะต้องไม่ลงมาทำจุดต่ำสุดใหม่ ต่ำกว่า จุดสูงสุดใหม่ก่อนหน้า Higher high จึงจะถือเป็นแนวโน้มที่แข็งแรง

แนวโน้มขาลง ตามหลักการของ ทฤษฎี Dow Theory

ทฤษฎี Dow Theory ต้นกำเนิด กราฟเทคนิค ที่มือใหม่ ห้ามพลาด แนวโน้มขาลง Goo Invest trade

แนวโน้มขาลง ตาม ทฤษฏี นั้นราคาจะต้องทำ จุดต่ำสุดใหม่ Lower Low  และ จุดสุดสุดใหม่ Lower High ต่ำลงไปเรื่อยๆ และจุดสูงสุดใหม่ Lower High จะต้องไม่ขึ้นมาทำจุดสูงสุดใหม่ สูงกว่า จุดต่ำสุดใหม่ก่อนหน้า Lower Low จึงจะถือเป็นแนวโน้มที่แข็งแรง

แนวโน้ม Sideway ตามหลักการของ ทฤษฎี Dow Theory

ทฤษฎี Dow Theory ต้นกำเนิด กราฟเทคนิค ที่มือใหม่ ห้ามพลาด sideway Goo Invest trade

ช่วง Sideway หรือช่วงที่ไม่มีแนวโน้มชัดเจน high low ไม่ทำจุดสูงสุดใหม่ หรือจุดต่ำสุดใหม่ ราคามักจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบราคา โดย จุดสูงสุด High หรือ จุดต่ำสุด Low ทำอยู่ในระดับราคาเดิม

ทฤษฎี Dow Theory ต้นกำเนิด กราฟเทคนิค ที่มือใหม่ ห้ามพลาด sideway up Goo Invest trade

แนวโน้ม Sideway Up ตาม ทฤษฏี นั้นราคาจะต้องทำ จุดสูงสุดใหม่ Higher high  และ จุดต่ำสุดใหม่ Higher Low สูงขึ้นไปเรื่อยๆ และจุดต่ำสุดใหม่ Higher Low จะต้องลงมาทำจุดต่ำสุดใหม่ ต่ำกว่า จุดสูงสุดใหม่ก่อนหน้า Higher high จึงจะถือเป็นแนวโน้ม Sideway Up

ทฤษฎี Dow Theory ต้นกำเนิด กราฟเทคนิค ที่มือใหม่ ห้ามพลาด sideway down Goo Invest trade

แนวโน้ม Sideway Down ตาม ทฤษฏี นั้นราคาจะต้องทำ จุดต่ำสุดใหม่ Lower Low  และ จุดสุดสุดใหม่ Lower High ต่ำลงไปเรื่อยๆ และจุดสูงสุดใหม่ Lower High จะต้องขึ้นมาทำจุดสูงสุดใหม่ สูงกว่า จุดต่ำสุดใหม่ก่อนหน้า Lower Low จึงจะถือเป็นแนวโน้ม Sideway Down

ทฤษฎี Dow Theory วัฏจักรตลาด Market Cycle

ทฤษฎี Dow Theory ต้นกำเนิด กราฟเทคนิค ที่มือใหม่ ห้ามพลาด Market Cycle วัฏจักรตลาด Goo Invest trade

เรื่อง วัฏจักรตลาด Market Cycle ตามหลักการของ ทฤษฎี Dow Theory ได้บอกไว้ว่า ตลาดจะมีรอบหรือ cycle ของตลาดทุกๆ 10 – 12 ปี ซึ่งรอบหนึ่งจะมีช่วงที่ ราคาขึ้นไปถึงสูงสุด และ ลงมาที่จุดต่ำสุดจะนับเป็น 1 รอบซึ่งหากใครได้ศึกษาประวัติของกราฟ ก็จะพบว่ามีหลักฐานอ้างอิงถึงหลักการดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็น ราคาของ Dow Jones หรือ SET INDEX เองก็ตามโดยมีประวัติราคาเป็นตัวอ้างอิง ซึ่งรอบตลาดนี้ เกิดขึ้นกับทุกๆตลาด หากเกิดขึ้นกับตลาดที่มีพื้นฐานเช่น หุ้น หรือ ดัชนี Index เราจะพบว่า ราคาจุดสูงสุด และราคาจุดต่ำสุด มักจะมีการปรับตัวยกสูงขึ้นเนื่องจาก มูลค่าพื้นฐานของหุ้นนั้นเติบโตขึ้นด้วยเช่นกัน

 

และตาม ทฤษฏี ยังได้พูดถึง คลื่นย่อยหรือ Wave ย่อย ซึ่งมันจะมี รอบ วัฏจักร ย่อยของมันเช่นกัน โดย คลื่นหนึ่งคลื่น หรือ หนึ่ง Wave จะมี ระยะเวลา หรือ รอบ ที่ 9-12 เดือน ในแต่ละคลื่น

โดยคลื่นแต่ละคลื่นจะสามารถย่อยลงได้อีกโดยจะแบ่งย่อยลงไปถึง คลื่นเล็กที่อยู่ในระยะ 3 เดือน

ซึ่งหากเข้าใจหลักการนี้ จะสามารถช่วยให้คุณนำไปวางแผนช่วยเทรด ได้เป็นอย่างดีซึ่งหากคุณรู้ว่าคุณอยู่ในช่วงไหนของตลาด จะช่วยให้คุณปรับกลยุทธ์ หรือวางแผนกลยุทธ์ได้ดียิ่งขึ้น

ทฤษฎี Dow Theory ต้นกำเนิด กราฟเทคนิค ที่มือใหม่ ห้ามพลาด Market Cycle วัฏจักรตลาด Dow jones Goo Invest trade

ตัวอย่าง วัฏจักรตลาด Market Cycle จาก Dow Jones

ทฤษฎี Dow Theory ต้นกำเนิด กราฟเทคนิค ที่มือใหม่ ห้ามพลาด Market Cycle วัฏจักรตลาด set index Goo Invest trade

ตัวอย่าง วัฏจักรตลาด Market Cycle จาก SET Index

ทฤษฎี Dow Theory ต้นกำเนิด กราฟเทคนิค ที่มือใหม่ ห้ามพลาด ปัจจัยพื้นฐานตามช่วงตลาด Goo Invest trade

ในแต่ละช่วงเวลา จะมีปัจจัยที่เป็นพื้นฐาน ในการขับเคลื่อนราคา ของแต่ละช่วงอยู่ ตามทฤษฏี

ช่วงเริ่มต้นแนวโน้มขาขึ้น เริ่มจากช่วงที่ราคาอยู่ใกล้จุดต่ำสุดหรือช่วงเริ่มต้นแนวโน้ม ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่ไม่ได้รับความสนใจ จากคนทั่วไป แต่หากมองลงไปในพื้นฐาน ของหุ้นนั้นๆ จะพบว่า ผลการดำเนินการของหุ้น จะเริ่มทรงตัว หรือปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย จากที่ตลาดผ่านช่วงการเทขาย หรือช่วงขาดทุนมาต่อเนื่อง และมีการเทขาย มาจากมวลชน แต่นักลงทุน กลับเริ่มเข้ามาในตลาด และซื้อสะสมใน ช่วงเริ่มต้นแนวโน้ม

ช่วงมวลชน หรือ ระยะกลางของแนวโน้มขาขึ้น ในช่วงนี้ มวลชน สื่อ หรือ คนทั่วไปจะเริ่มเข้ามาจับตามอง และทยอยเข้ากันเป็นจำนวนมาก มักจะเป็นช่วงที่ ราคาจะวิ่งแรงและไกลที่สุด เพราะ สื่อทุกสื่อ จะจับตามองและมีการพูดถึงกันในวงกว้าง รวมถึง ผลประกอบการพื้นฐานก็จะดีขึ้น ตามลำดับซึ่งเป็นไปตามกลไกล ของระบบเศรษฐกิจ คนที่เข้ามาซื้อในช่วงนี้ มักจะเป็น นักเกร็งกำไร หรือ คนที่เทรดในระยะกลาง รวมถึง Trend Following

ช่วงท้ายตลาดของขาขึ้น หรือเรียกว่าเป็นช่วงเริ่มต้นของขาลง จะเป็นช่วงที่ตลาดกำลังคึกคักกันอย่างมาก และเป็นช่วงที่ได้รับความนิยมจากคนทั่วไปเป็นอย่างสูง แต่พื้นฐาน หุ้นกลับ ไม่เติบโตหรือ ผลประกอบการ แย่ลง และจะเป็นช่วงที่นักลงทุนระยะยาวเริ่มจะปล่อยของ แต่มักจะเป็นช่วงที่ แมงเม่า เข้ามา หรือจะบอกว่าเป็น ยอดดอยก็ไม่ผิด

ช่วงระยะกลางของแนวโน้มขาลง เช่นเดียว กับระยะกลางของแนวโน้มขาขึ้น แต่เป็นไปในทิศทางที่กลับกัน กับแนวโน้มขาขึ้นจะเป็นข่าวดีเข้ามารองรับการขึ้นเป็นจำนวนมาก สื่อต่างๆจะพูดถึงแต่เรื่องดีๆของหุ้นตัวนี้ แต่ในทางขาลงจะเป็นข่าวที่เป็นข่าวเชิงลบทั้งสิ้น ส่งผลทำให้ มวลชนแห่ขายกันจำนวนมาก

ช่วงท้ายตลาดของขาลง จะเป็นช่วงที่ แทบจะไม่ได้รับรับความสนใจเลย และมี แมงเม่า ติดดอยกันเป็นจำนวนมาก และส่วนมากก็จำต้อง ตัดขาดทุนกันไป แต่กลับกันในช่วงนี้พื้นฐานของหุ้นเริ่มชลอการขาดทุน ตัวเลขกลับเริ่มพื้นตัว และนักลงทุนระยะยาว หรือ Value Investor VI เริ่มจับตามอง หรือ เริ่มสะสม ในช่วงนี้

Facebook
Twitter

เปิดบัญชีซื้อขายทองคำ

Categories
Technical Analysis การลงทุน ธุรกิจ

trend line เทรนไลน์

TREND LINE เทรนไลน์

trend line เทรนไลน์ เป็นอีกหนึ่ง เทคนิคการวิเคราะห์กราฟ ที่ได้รับความนิยม และ เทรดเดอร์ ทุกคนต้องรู้จัก ไม่แพ้ กราฟแท่งเทียน เป็นเครื่องมือหนึ่ง ในการช่วยหาแนวโน้ม หรือ แนวรับ – แนวต้าน แต่ เทรนไลน์ ไม่มีสูตรคำนวนที่ตายตัวว่า การตีเทรนไลน์ของแต่ละคนก็อาจแตกต่างไป ไม่มีถูกผิด ขึ้นกับประสบการณ์และการนำไปประยุคต์ใช้  แต่ก็มีหลักการพื้นฐานการตีเดียวกัน

 

การใช้งาน TREND LINE

การสร้างเส้น แนวโน้ม หรือ Trend Line มีประโยชน์เพื่อหา แนวโน้มตลาด ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อนำมาประกอบในการวางแผนการเทรด โดยมีหลักการ ตีเส้นเทรนไลน์ หลักๆ ด้วยกัน 2 แบบคือ

1. แนวโน้มขาขึ้น Low to Higher Low

Trend Line เทรนไลน์ การตีเทรนไลน์ แนวโน้ม ขาขึ้น Low to Higher Low support แนวรับ Goo Invest

การตีเส้น เทรนไลน์ จากจุดต่ำ Low ไป หาจุดต่ำสุดที่สูงขึ้น Higher Low เกิดขึ้นในช่วงสภาวะตลาด แนวโน้มขาขึ้น โดยแนวเส้นเทรนไลน์ จะอยู่ใต้ราคา และบริเส้นเทรนไลน์ จะถือว่าเป็นเส้น แนวรับ support line สำหรับใครที่เทรดด้วย Trend Line สามารถใช้เส้นเทรนไลน์เป็นตัวกำหนดกลยุทธ์เช่นใช้เข้า ออเดอร์ Buy ( Long ) บริเวณที่ราคาลงมาทดสอบเส้นแนวโน้ม หรือใช้เป็นเกณฑ์ ในขายทำกำไร เมื่อราคาลงต่ำกว่าแนวเส้น Trend Line

2. แนวโน้มขาลง High to Lower High

Trend Line เทรนไลน์ การตีเทรนไลน์ แนวโน้ม ขาลง High to Lower High Resistant แนวต้าน Goo Invest

การตีเส้น เทรนไลน์ จากจุดสูง High ไป หาจุดสูงที่ต่ำลง Lower High เกิดขึ้นในช่วงสภาวะตลาด แนวโน้มขาลง โดยแนวเส้นเทรนไลน์ จะอยู่ต่ำกว่าราคา และบริเส้นเทรนไลน์ จะถือว่าเป็นเส้น แนวต้าน resistance line สำหรับใครที่เทรดด้วย Trend Line สามารถใช้เส้นเทรนไลน์เป็นตัวกำหนดกลยุทธ์เช่นใช้เข้า ออเดอร์ Sell ( Short ) บริเวณที่ราคาขึ้นมาทดสอบเส้นแนวโน้ม หรือใช้เป็นเกณฑ์ ในขายทำกำไร เมื่อราคาขึ้นสูงกว่าแนวเส้น Trend Line

3. ไม่มีแนวโน้ม หรือ Sideway High to High , Low to Low

Trend Line เทรนไลน์ การตีเทรนไลน์ แนวโน้ม Sideway High to High Resistant แนวต้าน, Low to Low Support แนวรับ Goo Invest

การตีเส้น เทรนไลน์ จากจุดสูง High ไป หาจุดสูง High ในระดับเดียวกัน เกิดขึ้นในช่วงสภาวะตลาด แบบไม่มีแนวโน้มหรือ Sideway โดยแนวเส้นเทรนไลน์ จะอยู่เหนือราคา และบริเส้นเทรนไลน์ จะถือว่าเป็นเส้น แนวต้าน resistance line 

 

การตีเส้น เทรนไลน์ จากจุดต่ำ Low ไป หาจุดต่ำ Low ในระดับเดียวกัน เกิดขึ้นในช่วงสภาวะตลาด แบบไม่มีแนวโน้มหรือ Sideway โดยแนวเส้นเทรนไลน์ จะอยู่ใต้ราคา และบริเส้นเทรนไลน์ จะถือว่าเป็นเส้น แนวรับ Support line 

 

สำหรับใครที่เทรดด้วย Trend Line สามารถใช้เส้นเทรนไลน์เป็นตัวกำหนดกลยุทธ์เช่นใช้เข้า ออเดอร์ Sell ( Short ) บริเวณที่ราคาขึ้นมาทดสอบเส้น แนวต้าน Resistant หรือใช้เป็นเกณฑ์ ตัดขาดทุน เมื่อราคาขึ้นสูงกว่าแนวเส้น แนวต้าน Resistant ในทางกลับกันสามารถใช้เข้า ออเดอร์ Buy ( Long ) บริเวณที่ราคาลงมาทดสอบเส้น แนวรับ Support หรือใช้เป็นเกณฑ์ ตัดขาดทุน เมื่อราคาขึ้นสูงกว่าแนวเส้น แนวรับ support

ความชันของ Trend Line บอกความแข็งแรงของแนวโน้ม

หลายคนอาจได้ศึกษาเรื่อง Trend Line เทรนไลน์ มาอยู่บ้างแต่ทราบหรือไม่ว่า ความชันของเส้นแนวโน้ม มีผลของความแข็งแรงของเส้นเทรนไลน์ และสามารถบอกถึงแนวโน้มตลาดได้อีกด้วย โดยจะแบ่งได้หลักๆ 3 แนวโน้ม

Trend Line เทรนไลน์ ความชัน ความแข็งแรงของแนวโน้ม Goo Invest

1. แนวโน้มขาขึ้น

ความชันของเส้น Trend Line ขาขึ้น 1 – 45 องศา วัดจาก จุดที่หนึ่ง ไปยังจุดที่สอง ในช่วงแนวโน้มขาขึ้นยังแบ่งย่อยระดับความชัน ลงได้อีก 3 ระยะ คือ 

  • ความชัน 1 – 5 องศา ถือเป็นแนวโน้มตลาดขาขึ้นแต่ยังไม่แข็งแรง มักเรียกแนวโน้มระดับความชันนี้ว่า Sideway Up
  • ความชัน 6 – 15  องศา ถือเป็นแนวโน้มตลาดขาขึ้น ที่มีความแข็งแรงและเส้นแนวโน้มในช่วงความชันนี้จะใช้งานได้ดี
  • ความชัน 16 – 45 องศา ถือเป็นแนวโน้มตลาดขาขึ้น ที่มีปริมาณซื้อขายปริมาณมากกว่าปรกติ เส้นแนวโน้มในช่วงความชันนี้จะเกิดขึ้นในช่วงสั้นๆเท่านั้นราคาอาจมีการทดสอบเส้นราคาเพียง 2-3 ครั้งเท่านั้นก่อนที่จุดตัดเส้นแนวโน้มลง เหมาะกับคนที่เล่นใน ระยะสั้น

2. แนวโน้มขาลง

ความชันของเส้น Trend Line เทรนไลน์ ขาลง 315 – 359 วัดจาก จุดที่หนึ่ง ไปยังจุดที่สอง ในช่วงแนวโน้มขาลงยังแบ่งย่อยระดับความชัน ลงได้อีก 3 ระยะ คือ 

  • ความชัน 355 – 359 องศา ถือเป็นแนวโน้มตลาดขาลงแต่ยังไม่แข็งแรง มักเรียกแนวโน้มระดับความชันนี้ว่า Sideway Down
  • ความชัน 345 – 354 องศา ถือเป็นแนวโน้มตลาดขาลง ที่มีความแข็งแรงและเส้นแนวโน้มในช่วงความชันนี้จะใช้งานได้ดี
  • ความชัน 315 – 344 องศา ถือเป็นแนวโน้มตลาดขาลง ที่มีปริมาณซื้อขายปริมาณมากกว่าปรกติ เส้นแนวโน้มในช่วงความชันนี้จะเกิดขึ้นในช่วงสั้นๆเท่านั้นราคาอาจมีการทดสอบเส้นราคาเพียง 2-3 ครั้งเท่านั้นก่อนที่จุดตัดเส้นแนวโน้มขึ้น เหมาะกับคนที่เล่นใน ระยะสั้น

3. ตลาดไม่มีแนวโน้ม Sideway

ความชันของเส้น Trend Line แบบไม่มีแนวโน้ม หรือ Sideway 356 – 4 องศา วัดจาก จุดที่หนึ่ง ไปยังจุดที่สอง ในช่วงแนวโน้มขาลงยังแบ่งย่อยระดับความชัน ลงได้อีก 3 ระยะ คือ 

  • ความชัน 0 องศา ถือเป็นตลาดไม่มีแนวโน้ม หรือ Sideway 
  • ความชัน 1 – 5 องศา ถือเป็นแนวโน้มตลาดขาขึ้นเล็กน้อย แต่ยังไม่แข็งแรงถือว่ายังไม่มีแนวโน้มชัดเจน มักเรียกแนวโน้มระดับความชันนี้ว่า Sideway Up
  • ความชัน 355 – 359 องศา ถือเป็นแนวโน้มตลาดขาลงเล็กน้อย แต่ยังไม่แข็งแรง ถือว่ายังไม่มีแนวโน้มชัดเจน มักเรียกแนวโน้มระดับความชันนี้ว่า Sideway Down
Share Facebook
Share Twitter

เปิดบัญชีซื้อขายทองคำ

เปิดบัญชีซื้อขายทองคำ

เปิดบัญชีซื้อขายทองคำ

เปิดบัญชีซื้อขายทองคำ