Categories
Technical Analysis การลงทุน ธุรกิจ

trend line เทรนไลน์

TREND LINE เทรนไลน์

trend line เทรนไลน์ เป็นอีกหนึ่ง เทคนิคการวิเคราะห์กราฟ ที่ได้รับความนิยม และ เทรดเดอร์ ทุกคนต้องรู้จัก ไม่แพ้ กราฟแท่งเทียน เป็นเครื่องมือหนึ่ง ในการช่วยหาแนวโน้ม หรือ แนวรับ – แนวต้าน แต่ เทรนไลน์ ไม่มีสูตรคำนวนที่ตายตัวว่า การตีเทรนไลน์ของแต่ละคนก็อาจแตกต่างไป ไม่มีถูกผิด ขึ้นกับประสบการณ์และการนำไปประยุคต์ใช้  แต่ก็มีหลักการพื้นฐานการตีเดียวกัน

 

การใช้งาน TREND LINE

การสร้างเส้น แนวโน้ม หรือ Trend Line มีประโยชน์เพื่อหา แนวโน้มตลาด ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อนำมาประกอบในการวางแผนการเทรด โดยมีหลักการ ตีเส้นเทรนไลน์ หลักๆ ด้วยกัน 2 แบบคือ

1. แนวโน้มขาขึ้น Low to Higher Low

Trend Line เทรนไลน์ การตีเทรนไลน์ แนวโน้ม ขาขึ้น Low to Higher Low support แนวรับ Goo Invest

การตีเส้น เทรนไลน์ จากจุดต่ำ Low ไป หาจุดต่ำสุดที่สูงขึ้น Higher Low เกิดขึ้นในช่วงสภาวะตลาด แนวโน้มขาขึ้น โดยแนวเส้นเทรนไลน์ จะอยู่ใต้ราคา และบริเส้นเทรนไลน์ จะถือว่าเป็นเส้น แนวรับ support line สำหรับใครที่เทรดด้วย Trend Line สามารถใช้เส้นเทรนไลน์เป็นตัวกำหนดกลยุทธ์เช่นใช้เข้า ออเดอร์ Buy ( Long ) บริเวณที่ราคาลงมาทดสอบเส้นแนวโน้ม หรือใช้เป็นเกณฑ์ ในขายทำกำไร เมื่อราคาลงต่ำกว่าแนวเส้น Trend Line

2. แนวโน้มขาลง High to Lower High

Trend Line เทรนไลน์ การตีเทรนไลน์ แนวโน้ม ขาลง High to Lower High Resistant แนวต้าน Goo Invest

การตีเส้น เทรนไลน์ จากจุดสูง High ไป หาจุดสูงที่ต่ำลง Lower High เกิดขึ้นในช่วงสภาวะตลาด แนวโน้มขาลง โดยแนวเส้นเทรนไลน์ จะอยู่ต่ำกว่าราคา และบริเส้นเทรนไลน์ จะถือว่าเป็นเส้น แนวต้าน resistance line สำหรับใครที่เทรดด้วย Trend Line สามารถใช้เส้นเทรนไลน์เป็นตัวกำหนดกลยุทธ์เช่นใช้เข้า ออเดอร์ Sell ( Short ) บริเวณที่ราคาขึ้นมาทดสอบเส้นแนวโน้ม หรือใช้เป็นเกณฑ์ ในขายทำกำไร เมื่อราคาขึ้นสูงกว่าแนวเส้น Trend Line

3. ไม่มีแนวโน้ม หรือ Sideway High to High , Low to Low

Trend Line เทรนไลน์ การตีเทรนไลน์ แนวโน้ม Sideway High to High Resistant แนวต้าน, Low to Low Support แนวรับ Goo Invest

การตีเส้น เทรนไลน์ จากจุดสูง High ไป หาจุดสูง High ในระดับเดียวกัน เกิดขึ้นในช่วงสภาวะตลาด แบบไม่มีแนวโน้มหรือ Sideway โดยแนวเส้นเทรนไลน์ จะอยู่เหนือราคา และบริเส้นเทรนไลน์ จะถือว่าเป็นเส้น แนวต้าน resistance line 

 

การตีเส้น เทรนไลน์ จากจุดต่ำ Low ไป หาจุดต่ำ Low ในระดับเดียวกัน เกิดขึ้นในช่วงสภาวะตลาด แบบไม่มีแนวโน้มหรือ Sideway โดยแนวเส้นเทรนไลน์ จะอยู่ใต้ราคา และบริเส้นเทรนไลน์ จะถือว่าเป็นเส้น แนวรับ Support line 

 

สำหรับใครที่เทรดด้วย Trend Line สามารถใช้เส้นเทรนไลน์เป็นตัวกำหนดกลยุทธ์เช่นใช้เข้า ออเดอร์ Sell ( Short ) บริเวณที่ราคาขึ้นมาทดสอบเส้น แนวต้าน Resistant หรือใช้เป็นเกณฑ์ ตัดขาดทุน เมื่อราคาขึ้นสูงกว่าแนวเส้น แนวต้าน Resistant ในทางกลับกันสามารถใช้เข้า ออเดอร์ Buy ( Long ) บริเวณที่ราคาลงมาทดสอบเส้น แนวรับ Support หรือใช้เป็นเกณฑ์ ตัดขาดทุน เมื่อราคาขึ้นสูงกว่าแนวเส้น แนวรับ support

ความชันของ Trend Line บอกความแข็งแรงของแนวโน้ม

หลายคนอาจได้ศึกษาเรื่อง Trend Line เทรนไลน์ มาอยู่บ้างแต่ทราบหรือไม่ว่า ความชันของเส้นแนวโน้ม มีผลของความแข็งแรงของเส้นเทรนไลน์ และสามารถบอกถึงแนวโน้มตลาดได้อีกด้วย โดยจะแบ่งได้หลักๆ 3 แนวโน้ม

Trend Line เทรนไลน์ ความชัน ความแข็งแรงของแนวโน้ม Goo Invest

1. แนวโน้มขาขึ้น

ความชันของเส้น Trend Line ขาขึ้น 1 – 45 องศา วัดจาก จุดที่หนึ่ง ไปยังจุดที่สอง ในช่วงแนวโน้มขาขึ้นยังแบ่งย่อยระดับความชัน ลงได้อีก 3 ระยะ คือ 

  • ความชัน 1 – 5 องศา ถือเป็นแนวโน้มตลาดขาขึ้นแต่ยังไม่แข็งแรง มักเรียกแนวโน้มระดับความชันนี้ว่า Sideway Up
  • ความชัน 6 – 15  องศา ถือเป็นแนวโน้มตลาดขาขึ้น ที่มีความแข็งแรงและเส้นแนวโน้มในช่วงความชันนี้จะใช้งานได้ดี
  • ความชัน 16 – 45 องศา ถือเป็นแนวโน้มตลาดขาขึ้น ที่มีปริมาณซื้อขายปริมาณมากกว่าปรกติ เส้นแนวโน้มในช่วงความชันนี้จะเกิดขึ้นในช่วงสั้นๆเท่านั้นราคาอาจมีการทดสอบเส้นราคาเพียง 2-3 ครั้งเท่านั้นก่อนที่จุดตัดเส้นแนวโน้มลง เหมาะกับคนที่เล่นใน ระยะสั้น

2. แนวโน้มขาลง

ความชันของเส้น Trend Line เทรนไลน์ ขาลง 315 – 359 วัดจาก จุดที่หนึ่ง ไปยังจุดที่สอง ในช่วงแนวโน้มขาลงยังแบ่งย่อยระดับความชัน ลงได้อีก 3 ระยะ คือ 

  • ความชัน 355 – 359 องศา ถือเป็นแนวโน้มตลาดขาลงแต่ยังไม่แข็งแรง มักเรียกแนวโน้มระดับความชันนี้ว่า Sideway Down
  • ความชัน 345 – 354 องศา ถือเป็นแนวโน้มตลาดขาลง ที่มีความแข็งแรงและเส้นแนวโน้มในช่วงความชันนี้จะใช้งานได้ดี
  • ความชัน 315 – 344 องศา ถือเป็นแนวโน้มตลาดขาลง ที่มีปริมาณซื้อขายปริมาณมากกว่าปรกติ เส้นแนวโน้มในช่วงความชันนี้จะเกิดขึ้นในช่วงสั้นๆเท่านั้นราคาอาจมีการทดสอบเส้นราคาเพียง 2-3 ครั้งเท่านั้นก่อนที่จุดตัดเส้นแนวโน้มขึ้น เหมาะกับคนที่เล่นใน ระยะสั้น

3. ตลาดไม่มีแนวโน้ม Sideway

ความชันของเส้น Trend Line แบบไม่มีแนวโน้ม หรือ Sideway 356 – 4 องศา วัดจาก จุดที่หนึ่ง ไปยังจุดที่สอง ในช่วงแนวโน้มขาลงยังแบ่งย่อยระดับความชัน ลงได้อีก 3 ระยะ คือ 

  • ความชัน 0 องศา ถือเป็นตลาดไม่มีแนวโน้ม หรือ Sideway 
  • ความชัน 1 – 5 องศา ถือเป็นแนวโน้มตลาดขาขึ้นเล็กน้อย แต่ยังไม่แข็งแรงถือว่ายังไม่มีแนวโน้มชัดเจน มักเรียกแนวโน้มระดับความชันนี้ว่า Sideway Up
  • ความชัน 355 – 359 องศา ถือเป็นแนวโน้มตลาดขาลงเล็กน้อย แต่ยังไม่แข็งแรง ถือว่ายังไม่มีแนวโน้มชัดเจน มักเรียกแนวโน้มระดับความชันนี้ว่า Sideway Down
Share Facebook
Share Twitter

เปิดบัญชีซื้อขายทองคำ

เปิดบัญชีซื้อขายทองคำ

เปิดบัญชีซื้อขายทองคำ

เปิดบัญชีซื้อขายทองคำ