Categories
การลงทุน ธุรกิจ

อัตราแลกเปลี่ยน Forex Exchange ปัจจัยขับเคลื่อน เงินลงทุน และเศรษฐกิจ

อัตราแลกเปลี่ยน Forex Exchange ปัจจัยขับเคลื่อน เงินลงทุน และเศรษฐกิจ

อัตราแลกเปลี่ยน  Forex Exchange  เงินตรา หรือเรียกเข้าใจง่ายๆ ว่า ค่าเงิน ก็เปรียบเหมือน กระจกสะท้อน เศรษฐกิจของประเทศ เพราะทุก กิจกรรมทางเศรษฐกิจ จะมีผลกับการเคลื่อนไหว ต่อ ค่าเงิน แทบทั้งสิ้น จึงเป็นปัจจัยแรกๆ ที่เป็นเครื่องมือดัชนีชี้วัด ของนักลงทุน ในการเคลื่อนย้าย เงินลงทุน จากประเทศหนึ่ง ไปยังอีกประเทศหนึ่ง

สถิติในอดีตย้อนหลัง 5 ปี คือ ทุกๆ ค่าเงินบาทอ่อนค่าเฉลี่ย 1% จะส่งผลให้เงินทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดหุ้นเฉลี่ยราว 7.8 พันล้านบาท อ้างอิง TrueID ในการที่ ค่าเงิน เงินบาทอ่อนค่านั้นส่งจะส่งผลให้อุปทานลดลง นั่นหมายถึง ความลังลงของนักลงทุน

 

ในทางกลับกัน ในกรณีที่ ค่าเงินบาทแข็งค่า ขึ้น อัตราดอกเบี้ย เงินบาทก็มักจะเพิ่มสูงขึ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งมันเป็นที่ดึงดูด เงินทุน จาก ต่างประเทศ ให้ไหลเข้ามาในประเทศไทย มากยิ่งขึ้น

อัตราแลกเปลี่ยน Forex Exchange เงินลงทุน เศรษฐกิจ ค่าเงินบาทแข็งค่า อัตราดอกเบี้ย Goo Invest

การป้องกันความเสี่ยง จากการเปลี่ยนแปลงของ ค่าเงิน ในกรณีของ นักลงทุน ที่ลงทุนด้วยการหวัง ผลกำไร จาก ดอกเบี้ย นั้นอาจขาดทุนได้หากค่าเงินเปลี่ยนแปลงไป จึงมัก ป้องกันความเสี่ยง ด้วยซื้อ อัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า ไว้ด้วย

โดยมุ่งหากำไรจากส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยเท่านั้น การที่เงินตราสกุลต่างๆให้ผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ยไม่เท่ากัน ย่อมก่อให้เกิดโยกย้าย เงินฝาก จากประเทศหนึ่งไปยังประเทศหนึ่งอยู่เสมอ และ สกุลเงิน ที่มี อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า ก็จะย้ายไปยังประเทศและสกุลเงินที่มี อัตราดอกเบี้ยสูงกว่า 

ในระหว่างช่วงเวลาของ การลงทุนฝากเงิน นั้น อัตราและเปลี่ยนก็ที่เปลี่ยนแปลงไปได้ ทำให้กำไรจากส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยลดน้อยลง หรือ กลายเป็นขาดทุนไปได้ ดังนั้น เพื่อป้องงกันความเสี่ยงที่เกิดจากอัตราแลกเปลี่ยน ผู้ลงทุนจึงอาจซื้อขายเงินตราในตลาดล่วงหน้าไปพร้อมกับการย้ายเงินฝาก การป้องกันความเสี่ยงเช่นนี้ ส่งผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนทันทีโดย การป้องกันความเสี่ยงเช่นนี้ มักเป็นที่นิยมใช้กับกลุ่ม ธุรกิจนำเข้า ส่งออกอีกด้วย

 

หากสกุลเงิน ของประเทศ ที่ไปทำ การลงทุน ไว้ มีแนวโน้มอ่อนค่าลง นักลงทุน ย่อมเรียกหา การชดเชยผลขาดทุน ที่อาจจะเกิดขึ้นจาก อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ในรูปของ อัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่า โดยเปรียบเทียบ เพื่อให้ได้รับ อัตราผลตอบแทนที่แท้จริง เท่ากับการไป ลงทุนในประเทศที่ แนวโน้มว่าค่าเงินจะแข็งขึ้น

อัตราแลกเปลี่ยน Forex Exchange ของเงินบาท ที่เปลี่ยนแปลง ในมุมมองของ ต่างชาติ

ค่าเงินบาทแข็งค่า ส่งผลต่อการ นำเข้า ส่งออก สินค้า เมื่ออัตราแลกเปลี่ยนแข็งค่าทำให้ราคา สินค้าไทย ในรูป เงินบาท จะมีราคาดูแพงขึ้น ในสายตาของ ชาวต่างชาติ ทำให้ผู้ประกอบการไทย ส่งออกสินค้า ได้น้อยลง ขณะที่คนไทย จะมองว่าสินค้านำเข้า จากต่างประเทศ ได้ราคาถูกลง จึงเป็นตัวกระตุ้น การนำเข้าสินค้า จากต่างประเทศได้มากขึ้น

 

ซึ่งส่งผลโดยตรงกับ ผู้ส่งออก ทำให้ ส่งออกสินค้าของไทย ได้ลดลง เนื่องมาจาก  ชาวต่างชาติ จะมองว่าราคาสินค้า ของไทยแพงขึ้น

 

ผู้นำเข้า จะได้ประโยชน์ เนื่องจากราคาสินค้าจาก ต่างประเทศจะถูกลง  ส่งผลดีต่อผู้ประกอบการ ที่ต้องการผลิต สามารถ นำเข้าสินค้า ได้ถูกลง  ราคาน้ำมัน นำเข้าก็ถูกลง  ทำให้ต้นทุนการผลิต และ การขนส่งลดลง

สำหรับ อุตสาหกรรมท่องเที่ยว จะได้รับผลกระทบจากจำนวน นักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่ชะลอ การท่องเที่ยว ลงเนื่องจาก เงินบาทแข็งค่า ชาวต่างชาติ แลกเงินจากดอลลาร์สหรัฐ เป็น เงินบาทได้น้อยลงทำให้ในสายตาของ ชาวต่างชาติ มองว่าสินค้า และ บริการใน ประเทศไทย มีราคาสูงขึ้น โดยเฉพาะ นักท่องเที่ยว จากยุโรป และ สหรัฐอเมริกา เนื่องจากราคา หรือค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยว จะแพงขึ้นในสายตาของนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ 

Share Facebook
Share Twitter

เปิดบัญชีซื้อขายทองคำ

Categories
การลงทุน

ดอกเบี้ยต่ำ ที่สุดใน ประวัติศาสตร์ไทย

ดอกเบี้ยต่ำ ที่สุดใน ประวัติศาสตร์ไทย

คณะกรรมการนโยบายการเงิน ( กนง.) ประกาศลดอัตรา ดอกเบี้ยต่ำ ที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย ที่ 0.5% เมื่อเดือน พฤษภาคม 2563 ทำลายสถิติเดิมเมื่อเดือน กุมภาพันธ์ 2563 ที่ทำได้ทำสถิติต่ำที่สุดเอาไว้ที่ ระดับ 1% นับว่าเป็นการปรับลดต่อที่สุดอีกครั้ง ในรอบ 20 ปีเมื่อปี 2546 ที่ระดับ 1.25%


อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำเฉลี่ย และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ยเป็นอย่างไร

ปี 2531-2540 อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำเฉลี่ย 9.9% อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ย 13.1%

ปี 2541-2550 อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำเฉลี่ย 3.0% อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ย 7.5%

ปี 2551-2561 อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำเฉลี่ย 1.7% อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ย 6.7%

ดอกเบี้ยต่ำ ที่สุดใน ประวัติศาสตร์ไทย ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ goo invest

ธนาคารแห่งประเทศไทย ปรับลดดอกเบี้ย เนื่องจาก เศรษฐกิจไทย ปี 2563 ขยายตัวต่ำกว่าที่ ประมาณการเอาไว้ อันเนื่องมากจาก การระบาด ของ ไวรัสโคโรนา ซึ่ง เรากำลังอยู่ในยุค ดอกเบี้ยต่ำ ที่สุดในประวัติศาสตร์ อีกครั้ง ซึ่งแน่นอนว่ามีทั้งคนที่ได้รับผลประโยชน์ และเสียผลประโยชน์ ส่งผลกระทบต่อธุรกิจ และการจ้างงานอย่างมากโดยเฉพาะ 

 

การท่องเที่ยว มีแนวโนมลดลงอย่างมากส่งผลกระทบต่อ ผู้ประกอบการท่องเที่ยว รวมถึง การส่งออกสินค้า ที่ลดลงตามสภาวะเศรษฐกิจของคู่ค้าและ นโยบายมาตรา การป้องกัน โควิด19 การบริโภคภายในประเทศ มีแนวโน้มชะลอตัวลงอย่างมาก ภาระหนี้ครัวเรือน ในประเทศมีแนวโน้มสูงขึ้นกระทั่ง ภาระหนี้ต่อครัวเรือน อยู่ในระดับสูง แม้ อัตราแลกเปลี่ยน เงินบาทอ่อนค่า ลงบ้างแต่ยังไม่สอดคล้อง กับปัจจัยพื้นฐานกับเศรษฐกิจไทย 

 

ธุรกิจที่ได้ประโยชน์จากการปรับลดดอกเบี้ย

  • กลุ่ม ธุรกิจเช่าซื้อ สินเชื่อ มีโกาศได้ต้นทุนที่ลดลงและเพื่อโอกาศในการทำกำไรมากขึ้น
  • กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ อัตราดอกเบี้ยที่ลดลงส่งผลดีช่วยให้ผู้บริโภคมีกำลังซื้อมากขึ้นจากอัตราผ่อนชำระต่องวดลดลง
  • กลุ่มหุ้นปันผล การปรับลดดอกเบี้ยทำให้เกิดการโยกย้ายเงินทุนจากตราสารหนี้เข้าสู่หุ้นปันผล

แต่การลดดอกเบี้ย ส่งผลเสียโดยตรงกับ ธนาคารพาณิชย์ ที่ต้องปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ลง ซึ่งส่งผลต่อกำไรส่วนต่างจาก ดอกเบี้ย ในด้าน ลูกหนี้ จะมี ภาระหนี้ ที่ลดลงเมื่อ อัตราดอกเบี้ย เงินกู้ มีแนวโน้มลดลง ซึ่งช่วยเพิ่มกำลังซื้อ 

 

ปัญหา หนี้สิน คุณครู และ บุคลากรทางการศึกษา พบข้อเท็จจริงบางประการว่า ลูกหนี้กลุ่มอาชีพนี้มี หนี้สิน กับ สหกรณ์ออมทรัพย์ ที่บริหารจัดการด้วยผู้คนในแวดวงอาชีพเดียวกัน หลายท่านอาจไม่ทราบว่าจากการ รวบรวมตัวเลข ของคณะผู้ศึกษาแนวทาง การแก้ไขปัญหาพบว่า คุณครูและ บุคลากรทางการศึกษา มีหนี้กับสหกรณ์ออมทรัพย์ครูประมาณ 800,000 ล้านบาท และ ก็ยังมีสถาบันการเงินของรัฐให้สินเชื่ออีกหลายแห่งรวมๆกันประมาณ 600,000 ล้านบาท รวมแล้วเบ็ดเสร็จประมาณ 1.4 ล้านล้านบาท 

(คอลัมน์ เศรษฐกิจคิดง่ายๆ ตอนที่ 49/2563 โดย…สุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ เครดิตบูโร)

 

แต่ในด้านผู้ฝากเงิน การได้รับดอกเบี้ยน้อย อาจได้ ผลตอบแทน ไม่เพียงพอเพื่อนำไปใช้ใน อนาคต จนจำเป็นต้องนำเงินไป ลงทุน ใน สินทรัพย์ อื่นที่เสี่ยงมากขึ้นแทน เพื่อสร้าง ผลตอบแทนแบบทวีค่า

ดอกเบี้ยต่ำ ส่งผลต่อ เงินลงทุน

การที่เงินตราสกุลต่างๆให้ผลตอบแทนในรูป ดอกเบี้ย ไม่เท่ากัน ย่อมก่อให้เกิดการโยกย้ายเงินฝากหรือสกุลเงินที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ในระหว่างช่วงเวลาของการลงทุนฝากเงินนั้น อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ก็อาจเปลี่ยนแปลงไปได้ และอาจทำให้กำไรจากส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยลดน้อยลงหรือกลายเป็นขาดทุนไปได้ ดังนั้น เพื่อป้องงกันความเสี่ยงที่เกิดจาก อัตราแลกเปลี่ยน ผู้ลงทุนจึงอาจซื้อขายเงินตราในตลาดล่วงหน้าไปพร้อมกับการย้ายเงินฝาก การป้องกันความเสี่ยงนี้ ส่งผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนทันทีโดย

 

กรณีที่ ดอกเบี้ยเงินฝาก ของไทยได้ปรับลงเช่นนี้ ดอกเบี้ยต่ำ ส่งผลให้เงินลงทุนไหลออกไปยัง ประเทศที่มี ดอกเบี้ยสูง  ปริมาณมากส่งผลทำให้ อุปทานของ เงินทุน ในไทยน้อยลง ในขณะเดียวกัน เงินลงทุน ที่ไหลออกจากไทยก่อให้เกิดการขายเงินบาทในตลาดทันทีและขายเงินบาทในตลาดล่วงหน้าเป็นจำนวนมากอีกด้วยจะส่งผลต่อ อัตราแลกเปลี่ยน ทำให้ เงินบาทอ่อนค่า และเพื่อการ รักษาสมดุล จึงจำต้องมีการปรับ อัตราดอกเบี้ย ขึ้นเพื่อรักษาสมดุลไม่ให้ เงินบาทอ่อนค่า เกินไป

  

 

อัตราดอกเบี้ย ที่แท้จริงใน ตลาดเงิน ทุกประเทศควรจะเท่ากัน เพื่อไม่ให้ นักลงทุน เกิดความได้เปรียบหรือเสียเปรียบ ดังนั้น อัตราดอกเบี้ย ที่เป็นตัว เงินจะแปรผันโดยตรงตาม อัตราเงินเฟ้อ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในแต่ละประเทศ ดังนั้น ประเทศที่มี อัตราเงินเฟ้อ สูงจึงควรมี อัตราดอกเบี้ย ที่เป็นตัวเงินสูงกว่าอีกประเทศหนึ่งที่มี อัตราเงินเฟ้อต่ำ กว่า

Share Facebook
Share Twitter

เปิดบัญชีซื้อขายทองคำ