LOGO Goo Invest
Categories
ข่าวหุ้น

ข่าว หุ้น ธุรกิจ วันที่ 24 ตุลาคม 2564

ข่าวหุ้น เศรษฐกิจ การเงิน การลงทุน Goo Invest Trade

ข่าวหุ้นล่าสุด ข่าวเด่นวันนี้ วันที่ 23 ตุลาคม 2564

เพิ่มเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษอีก 6 แห่ง อนิงสงค์หุ้นนิคม

ครม.เห็นชอบจัดตั้งเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพิ่มอีก 6  แห่ง ตามมติคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษจำนวน 1 แห่ง ตามมติคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เพื่อดึงดูดการลงทุนอุตสาหกรรมในอนาคต ซึ่งในปัจจุบันพื้นที่รองรับการประกอบอุตสาหกรรมและการค้า 15,836 ไร่ มีการรองรับการลงทุน ได้เพียง 5 ปีเท่านั้น จึงมีการจัดตั้งเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพิ่ม 6 แห่ง พื้นที่ EEC

1. จัดตั้งเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่อกิจการอุตสาหกรรมรูปแบบนิคมอุตสาหกรรม มีจำนวน 5 แห่ง โดยรองรับการประกอบกิจการได้ 5,098 ไร่ มีพื้นที่รวม 6,884 ไร่ สามารถรองรับการประกอบกิจการได้ 5,098 ไร่ ประกอบด้วย นิคมอุตสากรรมโรจนะแหลมฉบัง, นิมคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อันดัสเตรียล เอสเตท ระยอง, นิคมอุตสาหกรรมเอ็กโกระยอง,นิคมอุตสาหกรรมโรจนะหนองใหญ่

รองรับอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ การบิน โลจิสติก และดิจิทัล รวมถึงนิคมอุตสาหกรรมเอเชียคลีน รองรับอุตสาหกรรมอิเลกทรอนิกส์อัจฉริยะ ยานยนต์สมัยใหม่การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ ภายใน 10 ปี เป้าหมายการลง 3 แสนล้านบาท ระหว่างปี 2564-2573

2. เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อกิจการพิเศษ จำนวน 1 แห่ง คือ ศูนย์นวัตกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีขั้นสูงบ้านฉาง จ.ระยอง ภายใน 10 ปี ตั้งเป้าหมายการลงทุน20,000 ล้านบาท ระหว่างปี 2564-2573

3. เปลี่ยนแปลงเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ เพื่ออกิจการพิเศษ 1 แห่ง คือ ศูนย์นวัตกรรมการแพทย์ครบวงจรธรรมศาสตร์ พัทยา โดยเปลี่ยนแปลผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน ให้พื้นที่รวมของศูนย์585 ไร่ จากเดิม 566 ไร่ โดยเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ 6 แห่งนี้ ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีต่อหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์ในกลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ บริษัท สวนสวนอุตสาหกรรมโรจนะ จำกัด (มหาชน) , บริษัทดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน), บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน)

 สำหรับบริษัท สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จำกัด (มหาชน) ได้ประโยชน์ 2 ใน 6 นิคม อุตสาหกรรม ได้แก่ โรจนะแหลมฉบัง 698 ไร่ โรจนะหนองใหญ่ 1,501 ไร่ ซึ่งแนวโน้มการขายที่ดินนิคมในไตรมาส 2 ปี 2564 ลูกค้าต่างชาติโดยเฉพาะคนจีนมาเซ็นสัญญากว่า 100 ไร่ ไตรมาส 3 ถึงปัจจุบันปรับตัวดีขึ้นกว่าไตรมาส 2 มาก ซึ่งงในไตรมาส 4 ยังคงดีอย่างต่อเนื่องจากการเปิดประเทศในอนาคต โดยตั้งเป้าขายที่ดิน 400-500 ไร่ต่อปี ประมาณรายได้และกำไรระหว่างปี 2564-2566 รายได้หลัก80% มาจากการขายไฟให้กับบริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) และโรงงานในนิคม ซึ่งมองว่ารายได้จากการขายที่ดินเป็นปัจจัยหนุน สอดคล้องกับ บริษัทดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ของนิคมมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อินดัสเตรียล เอสเตท ระยอง จ.ระยอง พื้นที่ 1,498 ไร่ รองรับอุตสาหกรรมยานยนต์ใหม่ หุ่นยนต์ การบิน โลจิสติก วึ่งขั้นตอนแรกต้องเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่เดิมก่อน ซึ่งรายได้จะเกิดขึ้นหลังจากที่พัฒนาแล้ว แนวโน้มรายได้ปี 2565 คาดว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยโครงการพื้นที่เตรียมไว้สำหรับนิคมใหม่ที่เพิ่งอนุมัติจะต้องรอการพัฒนาก่อน ขณะที่แนวโน้มรายได้ปีนี้เติบโตขึ้น 30% สูงสุดในประวัติการณ์ เศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัวหลังจากผ่านจุดต่ำสุดคือไตรมาส 3 ปี 2564

ทั้งนี้ปัจจุบันมีบริษัท 10 นิคมอุตสาหกรรมพื้นที่ EEC รวมถึงมีพื้นที่พัฒนาและสร้างใหม่ทุกปี พร้อมเปิดขายได้ทันที ปัจจุบันบริษัทมีแลนด์แบงก์ 10,000 ไร่ พัฒนา infrastructure รองรับการขายพร้อมทั้งหมด 5,000ไร่ อี 5,000 ไร่ อยู่ระหว่างพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ขออนุมัติทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม

 

ขอบคุณ : ข่าวหุ้น

 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยแนะติดตาม 5ปัจจัยชี้ทิศค่าเงินบาทและดัชนีหุ้นไทย

ธนาคารกสิกรไทยประเมินสัปดาห์หน้าระหว่างวันที่ 25-29ตุลาคม 2564 กรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ 32.80-33.80 บาทต่อดอลลาร์ฯ มีปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ทิศทางเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ตัวเลขการส่งออกและเครื่องชี้เศรษฐกิจไทยเดือนก.ย. ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนีราคาบ้านเดือนส.ค.  ยอดขายบ้านใหม่ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน ยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย รายได้/รายจ่ายส่วนบุคคล และอัตราเงินเฟ้อที่วัดจาก PCE/Core Price Index เดือนก.ย. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนต.ค. และจีดีพีไตรมาส 3 ประจำปี 2564  

นอกจากนี้ตลาดยังรอติดตามผลการประชุม ECB และ BOJ ข้อมูลกำไรภาคอุตสาหกรรมเดือนก.ย.จีน และจีดีพีไตรมาส 3/64 ของยูโรโซน โดยในวันพฤหัสบดี 21 ต.ค. เงินบาทอยู่ที่ระดับ 33.38 เทียบกับระดับ 33.31 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า 5 ต.ค.

ทั้งนี้ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาที่สำคัญ ได้แก่ ยอดขายบ้านใหม่ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน รายได้และรายจ่ายส่วนบุคคล และอัตราเงินเฟ้อที่วัดจาก PCE/Core PCE Price Index เดือนก.ย.รวมถึงตัวเลขจีดีพีไตรมาส 3 ประจำปี2564 ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศอื่นๆ ได้แก่ การประชุม BoJ และ ECB ตัวเลขจีดีพีไตรมาส 3/64 และดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนต.ค.ของยูโรโซน ตลอดจนกำไรบริษัทภาคอุตสาหกรรมเดือนก.ย.ของจีน   โดยดัชนี SET ปิดที่ระดับ 1,643.42 จุด เพิ่มขึ้น 0.31% จากสัปดาห์ก่อน ขณะที่มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 79,001.31 ล้านบาท ลดลง 8.61% จากสัปดาห์ก่อน ส่วนดัชนี mai เพิ่มขึ้น 0.94% มาปิดที่ 559.65 จุด

 

ขอบคุณ : ฐานเศษฐกิจ

แบงก์ยันคุ้มครองลูกค้าทุกบัญชี ลุยจับ เครือข่ายอาชญากรรมไซเบอร์

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและรัฐมนตรีกลาโหม เร่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสกัดยับยั้งสะสางปัญหาโดยเร็ว ล่าสุด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกำหนด 5 แนวทาง ในการเยียวยา แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น รวมถึงการติดตามลงโทษผู้กระทำความผิด ได้แก่

 แนวทางที่1 ธนาคารและบริษัทเจ้าของบัตรฯ คืนเงินลูกค้าภายใน 5 วันนับจากได้รับแจ้งสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

แนวทางที่2 เปิดศูนย์ Hotline 1710 ประสานตำรวจ-ธนาคารรอายัดบัญชีคนร้าย ป้องกันการถ่ายเทเงินในบัญชี

แนวทางที่ 3  สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ประสานข้อมูลกับผู้ให้บริการเครือข่าย ช่วยสืบหาข้อมูลของคนร้าย

แนวทางที่ 4 กระทรวงดิจิทัล ให้ความรู้ สร้างภูมิคุ้มกัน ให้กับประชาชนเท่าทันพฤติกรรมคนร้าย และการแก้ไขกฎเกณฑ์ให้ทันกับรูปแบบอาชญากรรม

 แนวทางที่ 5 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย ศูนย์ PCT  บูรณาการร่วมกับ บช.สอท., และ ศูนย์ PCT นครบาล, ภูธร 1-9 ในการรวบรวม ติดตาม และเร่งรัดการดำเนินคดีจากทุกพื้นที่ ตั้งชุดสืบสวนสอบสวน Online รายจังหวัด

 ซึ่งขณะนี้เร่งประสานผู้ให้บริการเครือข่ายร้านค้าต่างประเทศ  ให้ไปไล่เบี้ยตรวจสอบร้านค้าในต่างประเทศ เป็นไปได้ว่า ร้านค้าเหล่านั้นก็อาจจะถูกใช้เป็นเครื่องมือ

 ดร.ปริญญา หอมเอนก กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ในคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ กล่าวว่า ภัยไซเบอร์จะกลายเป็น New Normal สำหรับผู้ใช้บริการดิจิทัลเซอร์วิส ที่เกิดขึ้นทุกวัน ใน 3 ภัยหลัก ได้แก่

 1. การส่งอีเมล์ หรือ SMS หลอกโอนเงิน หรือหลอกให้ส่งหมายเลขบัตรเครดิต ซึ่งเกิดขึ้นมาเป็นเวลานับ 10 ปี แต่เปลี่ยนเทคนิคไป

2. แรนซัมแวร์ ที่มุ่งการโจมตีเพื่อดูดข้อมูลไปขายในเว็บตลาดมืด 

3. การโจมตีเพื่อทำให้ระบบบริการล่ม หรือการโจมตี DDoS ยิ่งวันจะมีปริมาณและความถี่เพิ่มขึ้น และส่งผลกระทบสร้างความเสียหายในวงกว้างมากขึ้น

ดร.กิตติ โฆษะวิสุทธิ์ ประธานศูนย์ประสานงานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเทคโนโลยีสารสนเทศภาคการธนาคาร (TB-CERT) กล่าวว่า  ที่ผ่านมา TB-CERT ร่วมกับธปท.และค่ายมือถือ บล็อกข้อความ SMS ที่แปลกปลอมเข้ามา ทำให้ช่วงหลังมีแนวโน้มลดลง ส่วนรูปแบบภัยไซเบอร์มีหลากหลาย หลักๆ ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการหลอกลวงบนโซเชียล การปล่อยมัลแวร์ขู่เรียกค่าไถ่รวมถึงการส่งอีเมล์หลอกลวงหรือพวกฟิชชิ่ง โดย แฮกเกอร์ต้องการเงินเป็นหลัก แต่จะไม่ใช้วิธีขโมยเงินโดยตรง แนวโน้มข้อมูลและชื่อเสี่ยงของหน่วยงานหรือองค์กร มีความสำคัญมากขึ้น จึงถูกใช้เป็นตัวประกันในการเร่งให้หน่วยงานจ่ายเงินเรียกค่าไถ่ ส่วนใหญ่เทคนิคส่วนใหญ่จะทำควบคู่กันระหว่างการขโมยข้อมูลและสร้างมัลแวร์ เว็บไซด์หรือฟิชชิ่ง ซึ่งภัยไซเบอร์ทั่วโลกจะมีลักษณะนี้ แต่จะมีบริษัทเทคโนโลยีเป็นเป้าหมาย และกลุ่มธุรกิจเฮลธ์แคร์”

 

ขอบคุณ : ฐานเศรษฐกิจ

 

ธนาคารไทยกำไรพุ่งรวมกันกว่า 4.3 ล้านบาท

ธนาคารพาณิชย์ 10 ธนาคาร คือ  ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) ธนาคารกรุงไทย (KTB) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) ธนาคารทหารไทยธนชาต (TTB) ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย (CIMBT) บมจ.ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป (TISCO) ธนาคารเกียรตินาคินภัทร (KKP) และ บมจ.แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป (LHFG) ธนาคารกรุงเทพ(BBL) ไตรมาส 3 ปี 2564 มีกำไรสุทธิรวมอยู่ที่  43,078 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 35.87% จากช่วงเดียวกันปีก่อน

   ซึ่งทั้งปีคาดการณ์ว่ากำไรแบงก์ทั้งกลุ่มอยู่ที่ 1.7 แสนล้านบาท และอาจมีโอกาสไปแตะ 1.72-1.73 แสนล้านบาท หรือโตราว 20% สะท้อนว่ากลุ่มแบงก์ผลการดำเนินงานดีขึ้น และพ้นจุดต่ำสุดแล้ว ส่วนสำรองทั้งปีคาดอยู่ที่ 2 แสนล้านบาท ลดลงจากปีก่อนที่ 3.38 แสนล้านบาท และคาดลดต่อเนื่องเหลือ 1.9 แสนล้านบาทในปีหน้า ตามกลุ่มแบงก์ยังคงมีความท้าทายอยู่ หลังจากหมดมาตรการช่วยเหลือทางการเงิน แบงก์อาจจะต้องมาดูใกล้ชิด เกี่ยวกับหนี้เสีย ในกลุ่มเอสเอ็มอี และสินเชื่อรายย่อยที่ยังเปราะบาง ดังนั้นความเสี่ยงยังมีอยู่

 อย่างไรก็ตาม ธนาคารต้องความระมัดระวังอย่างต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจ พิจารณาตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตในระดับสูง และบริหารคุณภาพสินทรัพย์อย่างใกล้ชิด และดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจ

 

ขอบคุณ : กรุงเทพธุรกิจ

ข้าวไทย รับอนิสงค์จากเงินบาทอ่อนตัวลง

นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวว่า การส่งออกข้าวไทยยังได้รับปัจจัยสนับสนุนจากค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ปรับตัวมาอยู่ที่ระดับ 32 – 33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ขีดความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของข้าวไทยในตลาดโลกสูงขึ้น สามารถแข่งขันกับประเทศคู่แข่งที่สำคัญได้มากขึ้น โดยเฉพาะข้าวขาวและข้าวนึ่งของไทยที่ราคาได้ปรับมาอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับข้าวจากอินเดียและเวียดนาม

ซึ่งแนวโน้มการส่งออกข้าวไทยในช่วงครึ่งหลังปี 2564 ว่ามียอดคำสั่งซื้อเริ่มกลับมาอย่างต่อเนื่อง จากสถิติกรมศุลกากรการส่งออกข้าวไทยกลับมาขยายตัวเป็นบวกตั้งแต่เดือนมิ.ย. – ส.ค. อัตราการขยายตัว 25.27% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งตลาดหลักที่ไทยส่งออกข้าวเพิ่มขึ้น คือ จีน ฟิลิปปินส์ แคเมอรูน มาเลเซีย โมซัมบิก และสิงคโปร์

คาดว่าการส่งออกข้าวไทยในช่วงไตรมาสสุดท้ายจะยังขยายตัวดีต่อเนื่อง เห็นได้จากสถิติการขอใบอนุญาตส่งออกข้าวของกรมการค้าต่างประเทศในเดือน ก.ย. ที่มีปริมาณสูงถึง 877,555 ตัน ขยายตัว 124.87% ล่าสุดเดือนต .ค.ระหว่างวันที่ 1 – 18 ต.ค. ปริมาณ 380,234 ตัน เพิ่มขึ้น 47.11% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 ซึ่งตั้งแต่เดือนม.ค. – ส.ค. 2564 ไทยส่งออกข้าวปริมาณ 3.18 ล้านตันคิดเป็นมูลค่า 58,685 ล้านบาท โดยข้าวไทยยังคงได้รับการยอมรับด้านคุณภาพและเป็นที่ต้องการของตลาดโลก ดังนั้น คาดว่าในปีนี้ไทยจะสามารถส่งออกข้าวได้ตามเป้าที่ปริมาณ 6 ล้านตัน

 สำหรับการส่งออกข้าวไทยที่กลับมาฟื้นตัวดังกล่าวเป็นผลมาจากความสำเร็จจากการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างภาคเอกชนของไทยและกระทรวงพาณิชย์ และทูตพาณิชย์ในฐานะเซลส์แมนประเทศเร่งการเจรจาเพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าและประชาสัมพันธ์ข้าวไทยกับคู่ค้าสำคัญอย่างต่อเนื่อง เช่น ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ฮ่องกง มาเลเซีย ซึ่งทำให้คู่ค้าเชื่อมั่นในศักยภาพในการส่งออกข้าวคุณภาพของไทยแม้ในช่วงสถานการณ์โควิดฯ และหันมาสนใจนำเข้าข้าวจากไทยเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วง 2 – 3 เดือนที่ผ่านมา

ทั้งนี้ กรมการค้าต่างประเทศ คาดการณ์ว่าจากปัจจัยบวกต่างๆ ทั้งสถานการณ์โควิดที่เริ่มคลี่คลาย ความเชื่อมั่นของผู้ซื้อในคุณภาพและมาตรฐานข้าวไทย ประกอบกับราคาข้าวไทยที่สามารถแข่งขันได้ในปัจจุบัน จะทำให้ข้าวไทยเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น โดยคาดว่าในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ โตต่อเนื่องจะสามารถส่งออกข้าวได้เดือนละกว่า 7 แสนตัน และการส่งออกข้าวไทยทั้งปีจะได้ตามเป้าที่วางไว้ที่ 6 ล้านตัน

ขอบคุณ : ฐานเศรษฐกิจ