คิดมาก ขี้กังวล ฟุ้งซ่าน แก้ได้
คุณต้องหมดเวลาไปกับการ คิดมาก ขี้กังวล ฟุ้งซ่าน หรือคิดวนไปวนมากับเรื่องเดิมๆที่ไม่เป็นเรื่องสักเท่าไหรกัน มันไม่เพียงแต่จะสูญเสียเวลาไปเปล่าๆ แต่กลับทำให้ชิวิตคุณยิ่งถอยหลังหรืออย่างดีก็แค่ย่ำอยู่กับที่ แล้วก็ผ่านไปอีกวัน หากคิดจะก้าวหน้ามุ่งสู่การ ประสบความสำเร็จ คุณจำเป็นต้องนำสิ่งที่ไม่นำคุณสู่งเป้าหมายออกไป
การมีความคิดมันก็เป็นสิ่งที่ดี ช่วยให้คุณตัดสินใจในสิ่งที่คุณคิดว่าดีที่สุด มันคือ ความสามารถ ทางสติปัญญา ก่อนที่จะทําอะไรบางอย่าง หรือเป็นการประมวล ข้อมูล อาจเป็นคําพูด รูปภาพ เสียง หรือข้อมูลรูปแบบอื่น เพื่อทำสิ่งที่แตกต่างออกไป เพื่อ แก้ปัญหาต่างๆ ให้บรรลุ นี่ไม่ใช่ปัญหาที่เราเจอ แต่มันมีความคิดอีกรูปแบบหนึ่งที่ทำให้เราต้องเกิดปัญหาทางหลักวิชาการเรียกว่า ความคิดเชิงวิพากษ์(Critical thinking)
ความคิดเชิงวิพากษ์(Critical thinking) เป็นทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เป็นทักษะในการ คัดสรรข้อมูลที่เชื่อถือได้ และ ตรงประเด็น มาสนับสนุน หรือปกป้องความคิดของตนเอง แยกแยะ ความเห็นส่วนตัว อคติ และ ตรรกะที่ผิดเพี้ยนจากความจริงได้สามารถ โต้แย้งด้วยเหตุผลที่มีนํ้าหนัก เห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงของเหตุปัจจัย มองประเด็นได้ หลายแง่มุม จนสามารถ อนุมานข้อสรุปที่ ถูกต้องเชื่อถือได้ในที่สุด
คุณอาจจะบอกกับตัวเองหลายต่อหลายครั้งให้ตัดสินใจสักทีเถอะ เลิกคิดสักที แต่พอผ่านไปแค่ไม่นาน ความลังเลและความหวั่นวิตก ความคิดเดิมๆ ก็วนกลับมาอีกครั้ง จนบางครั้งอาจเสียเป็นค่อนวันหรือเป็นวันๆกับเรื่องเดิมๆ
ถ้าหากเป็นเรื่องทั่วไปๆก็อาจจะไม่ได้เลวร้ายอะไรสักเท่าไหร ก็อาจจะแค่เสียเวลาไปกับการวนคิดไปมา กับเรื่องเดิมๆหรือเรื่อง ที่ไม่สามารถตัดสินใจได้ ก็เท่านั้นแต่หากเป็นเรื่องที่ทำให้ สภาวะติดใจย่ำแย่ แล้วต้องไปติดกับดักความคิด อยู่แบบนี้นับว่าเป็นเรื่องที่อันตรายเลยทีเดียว ซึ่งในกรณีทีเลวร้ายๆสุด มันอาจนำคุณไปสู่การเป็น โรคซึมเศร้า ก็เป็นได้
สตีฟ จอบส์ เองก็เคยพูดเกี่ยวกับ เรื่อง ความคิด ให้ วอลเตอร์ ไอแซ็กซัน ผู้เขียนชีวประวัติ ของเขาฟัง ดังนี้
“ลองนั่งอยู่เฉย ๆ แล้วสังเกตความคิดของตัวเองดู คุณจะรู้เลยว่าความคิดมันไร้ขอบเขตจริง ๆ และเวลาที่คุณพยายามทำให้มันนิ่ง ก็มีแต่จะแย่ลงเท่านั้น แต่จิตใจของคุณจะสงบลงเองเมื่อเวลาผ่านไปสักพัก และเมื่อจิตใจของคุณสงบแล้วมันก็จะมีที่ว่างในการรับฟังสิ่งที่ละเอียดอ่อนยิ่งขึ้น”
แม้คุณจะพยายามหยุด ความรู้สึกเหล่านี้แต่มันก็ยังวนกลับมาอีกอยู่ดีและแน่นอนว่า
ทุกคนคงเคยผ่าน สถานการณ์แบบนี้มาบ้าง แล้วจะรับมือกันอย่างไรดี
สังเกตความคิดตัวเอง
แทนที่จะไปยึดติดกับความคิด ลองถอยออกมา แล้วสังเกตมันดู ว่าตัวเองใช้เวลาในการหมกมุ่น อยู่กับมันมากแค่ไหน ทำให้คุณได้รู้จักตัวเอง ก่อนว่าคุณต้องใช้เวลาไปกับมันมากแค่ไหน
เขียนความคิดของตัวเองลงไป
ลองเขียนความคิดของคุณออกมา ใส่กระดาษทำรายการหัวข้ออกกมา แล้วสรุปเป็นเรื่องๆ หรือหากยังไม่สามารถสรุปได้ ลองนำหัวข้อเหล่านี้ปรึกษาคนอื่นดู เพื่อหามุมมองใหม่ๆ และยังช่วยให้คุณ ได้ระบายความคิด ของคุณออกมา แทนที่จะให้มันวนอยู่ในหัวของคุณ และมันจะวนไปวนมา อยู่เช่นนั้นไม่จบสิ้น
กำหนดช่วงเวลาสำหรับการใช้ความคิด
ยังไงการใช้ความคิดก็เป็นสิ่งที่ดี ในการที่จะช่วยให้คุณตัดสินใจ แต่ก็ควรมีขอบเขตให้มัน แนะนำนำว่าไม่ควรเกิน 30 นาทีต่อวัน ที่จะให้คุณได้จมอยู่ในความคิดเหล่านี้ แต่ก็ไม่ควรแบ่งช่วงเวลานี้ใน ช่วงก่อนนอน เพราะมันจะทำให้คุณ ควบควมเวลาในการใช้ความคิด เกินกว่าที่กำหนด และในช่วง 30 นาทีนี้คุณสามารถที่จะ ปล่อยให้ตัวเองวิตกกังวล ครุ่นคิด ฟุ้งซ่านได้เต็มที่ตามต้องการ แล้วพอหมดเวลา ก็ให้เปลี่ยนไปทำสิ่งอื่น
เบี่ยงเบนความคิดของตัวเอง
การที่คุณ คิดมาก ขี้กังวล ฟุ้งซ่าน หรือคิดวนไปวนมามันเป็นเพราะ คุณเอาตัวเองไปจมกับความคิด คนเราไม่สามารถที่จะจดจ่อ กับกิจกรรมสองสิ่งได้ในเวลาเดียวกัน ลองหากิจกรรมหรือ งานอดิเรก ให้กับตัวเอง เพื่อไม่ให้คุณไปจดจ่ออยู่กับความคิด เป็นการเปลี่ยนจุดโฟกัส ให้กับตัวเอง สิ่งที่ยากที่สุด คือการดึงตัวเองออกจากความคิด แล้วหากิจกกรรมอะไรสักอย่างให้ตัวคุณ แต่เชื่อเถอะว่าเมื่อคุณได้อะไรสักอย่างทำแล้ว คุณจะลืมคิดไปเลยทีเดียว
เคารพตัวเอง
คุณอาจจะยังไม่กล้าตัดสินใจ เพราะส่วนหนึ่ง อาจเป็นเพราะคุณไม่ เชื่อมั่นในตัวเอง กลัวความผิดพลาด ความล้มเหลว ซึ่งทำให้คุณลังเลที่จะตัดสินใจ แต่เชื่อเถอะ ไม่มีใครไม่เคยผิดพลาด และในทุกความผิดพลาดนั้นแก้ไขได้ และทุกความผิดพลาดนั้น ทำให้คุณเรียนรู้และ เติบโต
คิดมาก ขี้กังวล ฟุ้งซ่าน อาจนำไปสู่ โรคซึมเศร้า
โรคซึมเศร้าคืออะไร สำหรับคนส่วนใหญ่แล้วคำว่าโรคซึมเศร้าฟังดูไม่คุ้นหู ถ้าพูดถึงเรื่องซึมเศร้าเรามักจะนึกกันว่าเป็นเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดจากความผิดหวัง หรือการสูญเสียมากกว่าที่จะเป็นโรค ซึ่งตามจริงแล้ว ที่เราพบกันในชีวิตประจำวันส่วนใหญ่ก็จะเป็นเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกธะรรมดาๆ ที่มีกันในชีวิตประจำวัน มากบ้างน้อยบ้าง อย่างไรก็ตามในบางครั้ง ถ้าอารมณ์เศร้าที่เกิดขึ้นนั้นเป็นอยู่นานโดยไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้น หรือเป็นรุนแรง มีอาการต่างๆ ติดตามมา เช่น นอนหลับๆ ตื่นๆ เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงมาก หมดความสนใจต่อโลกภายนอก ไม่คิดอยากมีชีวิตอยู่อีกต่อไป ก็อาจจะเข้าข่ายของโรคซึมเศร้าแล้ว
คำว่า “โรค” บ่งว่าเป็นความผิดปกติทางการแพทย์ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาเพื่อให้อาการทุเลา ต่างจากภาวะอารมณ์เศร้าตามปกติธรรมดาที่ถ้าเหตุการณ์ต่างๆ รอบตัวคลี่คลายลง หรือมีคนเข้าใจเห็นใจ อารมณ์เศร้านี้ก็อาจหายได้ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้านอกจากมีอารมณ์ซึมเศร้าร่วมกับอาการต่างๆ แล้ว การทำงานหรือการประกอบกิจวัตรประจำวันก็แย่ลงด้วย คนที่เป็นแม่บ้านก็ทำงานบ้านน้อยลงหรือมีงานบ้านคั่งค้าง คนที่ทำงานนอกบ้านก็อาจขาดงานบ่อยๆ จนถูกเพ่งเล็ง เรียกว่าตัวโรคทำให้การประกอบกิจวัตรประจำวันต่างๆ บกพร่องลง หากจะเปรียบกับโรคทางร่างกายก็คงคล้ายๆ กัน เช่น ในโรคหัวใจ ผู้ที่เป็นก็จะมีอาการต่างๆ ร่วมกับการทำอะไรต่างๆ ได้น้อยหรือไม่ดีเท่าเดิม
ดังนั้น การเป็นโรคซึมเศร้าไม่ได้หมายความว่า ผู้ที่เป็นเป็นคนอ่อนแอ คิดมาก หรือเป็นคนไม่สู้ปัญหา เอาแต่ท้อแท้ ซึมเซา แต่ที่เขาเป็นนั้นเป็นเพราะตัวโรค กล่าวได้ว่าถ้าได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม โรคก็จะทุเลาลง เขาก็จะกลับมาเป็นผู้ทีจิตใจแจ่มใส พร้อมจะทำกิจวัตรต่างๆ ดังเดิม
ผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมค่อนข้างมาก การเปลี่ยนแปลงหลักๆ จะเป็นในด้านอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด พฤติกรรม ร่วมกับอาการทางร่างกายต่างๆ