LOGO Goo Invest
Categories
ข่าวหุ้น

ข่าว หุ้น ธุรกิจ วันที่ 14 ธันวาคม 2564

ข่าวหุ้น เศรษฐกิจ การเงิน การลงทุน Goo Invest Trade

ข่าวหุ้นล่าสุด ข่าวเด่นวันนี้ วันที่ 14 ธันวาคม 2564

หุ้นเด่นวันนี้

      VL (กรุงศรี) ซื้อเป้า 60 บาท คาดกำไร Q4/64 ฟื้นแข็งแกร่งเนื่องจากเกือบทุกผลิตภัณฑ์มีคำสั่งซื้อรองรับไปจนถึง Q1/65 การผลิตเดินหน้าเต็ม Capacity จากดีมานด์ที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ซัพพลายมีไม่เพียงพอหลังเกิดปัญหาขาดแคลนไฟฟ้าในจีน

      SMT (ฟินันเซีย ไซรัส) ซื้อเป้า 8 บาท คาดกำไร Q4/64 เร่งตัวและมีลุ้นโตทั้ง Q-Q และ Y-Y ตามรายได้เร่งตัว และ Margin คาดยังแข็งแรงต่อเนื่อง หนุนกำไรทั้งปี 64 คาด +166% Y-Y ผู้บริหารตั้งเป้ารายได้ปี 65 +27% Y-Y และคำสั่งซื้อ Secured แล้วถึง 80% ช่วยปิด Downside และคาดกำไรปี 65 +33% Y-Y อยู่ระหว่างหาที่ตั้งโรงงานแห่ง 2 หนุนการเติบโตระยะยาว พร้อมให้แนวรับ 6.60-6.50 บาท แนวต้าน 7.00-7.20 บาท

      VGI (คิงส์ฟอร์ด)ซื้อเก็งกำไรเป้า IAA Consensus 7.60 บาท แนวโน้มผลงาน Q3/64-65 ทยอยฟื้นตัว QoQ ตามเม็ดเงินโฆษณาหลังผ่อนคลายล็อกดาวน์และเปิดประเทศ ส่งผลให้ลูกค้ากลับมาใช้จ่ายงบโฆษณามากขึ้น แนวโน้มปี 65-66 คาดว่ากำไรเติบโตเด่น นอกเหนือจากการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมโฆษณายังมีปัจจัยหนุนจาก Synergy เข้าลงทุนใน JMART (15%) ทั้งบริการ Offline-to-Online (O2O) โซลูชั่นส์ของ VGI แก่กลุ่มบริษัท Jaymart และการใช้พื้นที่บนสถานี BTS เป็นจุดรับสินค้าและบริการ รวมทั้งการขยายเครือข่ายช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าของ Fanslink ไปยังเครือข่ายทั่วประเทศของ JMART และ SINGER

     BAM (เคทีบีเอสที) เป้าเชิงกลยุทธ์ 22 บาท ติดตาม ธปท.ปรับเกณฑ์ของธุรกิจ AMC สามารถเข้าซื้อ NPL ของหน่วยรัฐ ประเมิน BAM เป็นตัวเก็งอันดับหนึ่ง นอกจากนี้ เก็งกำไร Q4/64 สวย รับ High Season ในการซื้อหนี้เสีย ส่วนปี 65 คาดมีหนี้ให้ซื้ออีกมากหลังหมดมาตรการช่วยลูกหนี้สถาบันการเงิน พร้อมประเมินกำไรสุทธิปี 64-65 ที่ 2.15 พันลบ. และ 3 พันลบ. +17%YoY, +40%YoY ตามลำดับ

ขอบคุณ : อินโฟเควสท์

ดาวโจนส์ปิด 300 กว่าจุด หวั่นการระบาดโอมิครอน

       นายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ยืนยันว่า พบผู้เสียชีวิตจากไวรัสโอมิครอนรายแรกในประเทศ พร้อมกับเตือนด้วยว่า อังกฤษกำลังเผชิญกับการแพร่ระบาดระลอกใหญ่ของไวรัสโอมิครอน และวัคซีน 2 โดสไม่เพียงพอที่จะควบคุมไวรัสสายพันธุ์ดังกล่าว โดยการแสดงความเห็นของนายจอห์นสันมีขึ้นหลังจากทีมนักวิทยาศาสตร์ของอังกฤษประกาศยกระดับการเตือนภัยโควิด-19 สู่ระดับ 4 จากทั้งหมด 5 ระดับ

     มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดของอังกฤษออกรายงานระบุว่า การฉีดวัคซีนของบริษัทไฟเซอร์ หรือแอสตร้าเซนเนก้า จำนวน 2 เข็ม อาจไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสโอมิครอน รายงานดังกล่าวสอดคล้องกับผลการศึกษาของสำนักงานความมั่นคงด้านสุขภาพของอังกฤษ (HSA) ที่พบว่า การฉีดวัคซีนไฟเซอร์ หรือแอสตร้าเซนเนก้า จำนวน 2 เข็มให้ประสิทธิภาพต่ำในการป้องกันอาการของโรคโควิด-19 จากสายพันธุ์โอมิครอน เมื่อเทียบกับการป้องกันสายพันธุ์เดลตา

      ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 35,650.95 จุด ลดลง 320.04 จุด หรือ -0.89%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,668.97 จุด ลดลง 43.05 จุด หรือ -0.91% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 15,413.28 จุด ลดลง 217.32 จุด หรือ -1.39%
         หุ้นกลุ่มสายการบินและกลุ่มเรือสำราญลดลงอย่างหนัก เนื่องจากนักลงทุนกังวลว่าการแพร่ระบาดของไวรัสโอมิครอนอาจทำให้หลายประเทศกลับมาใช้มาตรการควบคุมการเดินทางอีกครั้ง ขณะที่นักลงทุนจับตาการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) ในวันที่ 14-15 ธ.ค.นี้ เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้เกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีหน้า รวมถึงการปรับลดอัตราการซื้อพันธบัตร

    ก่อนหน้านี้ นายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด ส่งสัญญาณยุติโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (คิวอี) เร็วกว่าที่คาดไว้ ซึ่งจะปูทางให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด  ทางด้านมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดของอังกฤษออกรายงานระบุว่า การฉีดวัคซีนของบริษัทไฟเซอร์ หรือแอสตร้าเซนเนก้า จำนวน 2 เข็ม อาจไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสโอมิครอน โดยรายงานดังกล่าวสอดคล้องกับผลการศึกษาของสำนักงานความมั่นคงด้านสุขภาพของอังกฤษ (HSA) ที่พบว่า การฉีดวัคซีนไฟเซอร์ หรือแอสตร้าเซนเนก้า จำนวน 2 เข็มให้ประสิทธิภาพต่ำในการป้องกันอาการของโรคโควิด-19 จากสายพันธุ์โอมิครอน เมื่อเทียบกับการป้องกันสายพันธุ์เดลตา 

       ทั้งนี้โกลด์แมน แซคส์ออกรายงานคาดการณ์ว่า เฟดจะเพิ่มการปรับลดวงเงิน QE เป็นเดือนละ 30,000 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 2 เท่าจากเดิมเดือนละ 15,000 ล้านดอลลาร์ โดยจะปูทางให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิ.ย.2565 ซึ่งเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกนับตั้งแต่ที่สหรัฐเผชิญการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในปี 2563

 

ขอบคุณ :   ฐานเศรษฐกิจ

ตลาดหุ้นไทยเช้านี้แกว่ง Sideway Down ลงไม่มากก เป็นทิศทางเดียวกับตลาดต่างประเทศ

      นายกิติชาญ ศิริสุขอาชา ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์รายย่อย บล.ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้คาดว่าจะแกว่ง Sideway Down ย่อตัวลงไม่มาก เป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดต่างประเทศ โดยตลาดหุ้นภูมิภาคเอเชียเช้านี้เคลื่อนไหวลบไม่มาก เช่นเดียวกับตลาดสหรัฐและตลาดยุโรปต่างปรับลง จากความกังวลเมื่ออังกฤษพบผู้ติดเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์โอมิครอนเสียชีวิตรายแรก ทำให้อังกฤษกำลังเผชิญการแพร่ระบาดระลอกใหญ่จึงเตรียมใช้มาตรการเข้มอีกครั้ง อีกทั้งโควิดสายพันธุ์โอมิครอนกระจายไปทั่วโลกแล้ว และองค์การอนามัยโลก (WHO) ก็ออกมาเตือนว่าอาจจะเป็นสายพันธุ์หลักที่จะระบาดต่อไป ส่งผลให้สินทรัพย์เสี่ยงต่างปรับตัวลงไม่เว้นแม้แต่ราคาน้ำมัน

   โดยตลาดขาดปัจจัยหนุน จึงคาดว่านักลงทุนคงจะเลือกขายก่อนผลประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะออกมา ซึ่งก็มีความกังวลเกี่ยวกับการปรับลด QE ที่มีโอกาสจะลดลงมากกว่าเดิม ซึ่งหากเร็วกว่าคาดก็จะกระทบสินทรัพย์เสี่ยง และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยก็จะเร็วไปด้วย ซึ่งจะกดดันตลาดฯมากขึ้น

     ซึ่งต้องติดตาม FTSE Reblance มีผลในวันที่ 17 ธ.ค.นี้ โดยไทยถูกปรับลดน้ำหนักการลงทุน ทำให้อาจได้เห็นแรงขายจากนักลงทุนต่างชาติในช่วงนี้ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) จะปรับการคำนวณดัชนี SET50 และ SET100 ในสัปดาห์นี้ด้วย รวมถึงการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 21 ธ.ค.นี้อาจมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศเพิ่ม

     ทั้งนี้บ้านเราจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ลดลงมาเหลือแค่กว่า 2,000 ราย ซึ่งเป็นแนวโน้มที่ดี และโควิดสายพันธุ์โอมิครอนที่พบในไทยก็เป็นผู้ที่มาจากต่างประเทศ ยังไม่พบการระบาดในประเทศ พร้อมให้แนวรับ 1,620-1,617 จุด ส่วนแนวต้าน 1,630-1,634 จุด

ขอบคุณ : สำนักข่าวอินโฟเควสท์

ราคาทองวันนี้ทรงตัว

     ราคาทอง วันที่ 14 ธ.ค. 64 สมาคมทองคำ ประกาศครั้งที่ 1 ราคาคงที่ไม่เพิ่มไม่ลด เมื่อเทียบกับประกาศราคาซื้อขายครั้งสุดท้ายของวันจันทร์ ที่ตลอดทั้งวันมีการประกาศราคาทองทั้งหมด 2 รอบ และเป็นกาปรับลดลงติดต่กันทั้ง 2 รอบ รวม 100 บาท

      ราคาซื้อขายทองคำในประเทศชนิด 96.5% วันที่ 14 ธ.ค. 64 ประกาศครั้งที่ 1

         ราคาทองรูปพรรณ ขายออกบาทละ 28,800 บาท
รับซื้อบาทละ 27,697.32 บาท

       ราคาทองแท่ง ขายออกบาทละ 28,300 บาท
รับซื้อบาทละ 28,200 บาท

   ทั้งนี้ราคาซื้อขายทองคำในประเทศชนิด 96.5% วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม 2564 ประกาศครั้งที่ 2 ครั้งสุดท้าย

     ราคาทองรูปพรรณ ขายออกบาทละ 28,800 บาท
รับซื้อบาทละ 27,697.32 บาท

     ราคาทองแท่ง ขายออกบาทละ 28,300 บาท
รับซื้อบาทละ 28,200 บาท

    ราคาทองคำ Spot เช้านี้เคลื่อนไหวที่บริเวณ 1,789 ดอลลาร์ หลังจากราคาทองคำโคเม็กซ์ปิดตลาดเมื่อคืนที่ผ่านมาเพิ่มขึ้น 3.5 ดอลลาร์ สู่บริเวณ 1,788.3 ดอลลาร์ เนื่องมาจากได้รับแรงหนุนจากการร่วงลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ และจากการเข้าซื้อทองคำในฐานะซื้อสินทรัพย์ที่ปลอดภัย ท่ามกลางความวิตกกังวลเกี่ยวกับไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน

      ราคาทองคําฮ่องกง เปิดตลาดเช้านี้เพิ่มขึ้น 140 ดอลลาร์ฮ่องกง สู่ระดับ 16,630 ดอลลาร์ฮ่องกง

ขอบคุณ : กรุงเทพธุรกิจ

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเช้านี้33.39 บาท/ดอลลาร์

      นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน ธนาคารกรุงไทยระบุว่าแนวโน้มค่าเงินบาท เรามองว่า ภาวะระมัดระวังตัวของผู้เล่นในตลาดอาจทำให้ เงินดอลลาร์มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นในระยะสั้น ส่วนนักลงทุนต่างชาติอาจยังไม่รีบกลับเข้ามาเป็นฝั่งซื้อสุทธิสินทรัพย์ไทย แต่เชื่อว่า ความหวังต่อวัคซีนบูสเตอร์ที่อาจช่วยลดความเสี่ยงปัญหาการระบาดของโอมิครอนก็จะช่วยให้นักลงทุนต่างชาติไม่ได้เทขายสินทรัพย์ไทยหนักแบบช่วงก่อนหน้า ทำให้ เงินบาทมีแนวโน้มแกว่งตัว sideways ในระยะสั้นนี้ และมีโอกาสที่เงินบาทอาจแข็งค่าขึ้นได้บ้าง หากผลการประชุมเฟดในวันพฤหัสฯ นี้ ไม่ได้ผิดไปจากที่ตลาดคาดการณ์ไว้ หรือ เฟดส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยในปีหน้า น้อยกว่าที่ตลาดได้คาดหวังไว้

       หากพิจารณาสัญญาณเชิงเทคนิคัลจากทั้ง RSI และ MACD จะพบว่า เงินบาทก็มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น หลังจากที่ไม่สามารถอ่อนค่าทะลุระดับ 34.00 บาทต่อดอลลาร์ไปได้ โดยการแข็งค่าของเงินบาทในช่วงที่ผ่านมา นอกเหนือจากฟันด์โฟลว์ของนักลงทุนต่างชาตินั้น เราเชื่อว่าอาจมาจากโฟลว์ขายเงินดอลลาร์ของผู้ส่งออกในช่วงปลายปีที่ช่วยหนุนการแข็งค่าของเงินบาท ทั้งนี้ เรามองว่า แนวรับเงินบาทยังคงอยู่ในโซน 33.30-33.40 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งมองว่ายังพอมีแรงซื้อเงินดอลลาร์ของผู้นำเข้าบางส่วน ช่วยพยุงไม่ให้เงินบาทแข็งไปได้เร็ว ยกเว้นว่า นักลงทุนต่างชาติจะเข้ามาเก็งกำไรค่าเงินบาทหนักขึ้น ซึ่งอาจช่วยหนุนให้เงินบาทแข็งค่าได้เร็ว

      ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า เงินบาทปรับตัวอยู่ที่ระดับประมาณ 33.38-33.40 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในช่วงเช้าวันนี้ แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับระดับปิดตลาดวานนี้ที่ 33.41 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยกรอบการแข็งค่าของเงินบาทอาจเริ่มจำกัดลง เนื่องจากตลาดเริ่มกลับมาประเมินความเสี่ยงจากการระบาดของโอมิครอนใหม่อีกครั้ง หลังจากมีรายงานผู้เสียชีวิตรายแรกจากสายพันธุ์นี้ในอังกฤษ ประกอบกับมีแรงซื้อคืนเงินดอลลาร์ฯ ก่อนการประชุมเฟดวันที่ 14-15 ธ.ค. 64

        สำหรับกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ คาดไว้ที่ 33.30-33.50 บาทต่อดอลลาร์ฯ ขณะที่ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ทิศทางเงินทุนของต่างชาติ สถานการณ์โควิด-19 ตัวเลขดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนพ.ย. ของสหรัฐฯ ยอดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) เดือนพ.ย. 64 ของจีน และการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนต.ค. 64 ของยุโรปและญี่ปุ่น

     

แนวโน้มธนาคารกลาง โดยเฉพาะเฟดเร่งใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น รวมถึงความกังวลว่าการระบาดของโอมิครอนอาจกดดันการฟื้นตัวเศรษฐกิจในระยะสั้น ได้กดดันให้ผู้เล่นในตลาดการเงินขายทำกำไรสินทรัพย์เสี่ยงและเริ่มกลับสู่โหมดระมัดระวังตัว (Cautious Mode) มากขึ้นอีกครั้ง ส่งผลให้ ดัชนีหุ้นในตลาดหุ้นสหรัฐฯ และยุโรป ต่างย่อตัวลง โดยในฝั่งสหรัฐฯ ดัชนีหุ้นเทคฯ Nasdaq ปรับตัวลงราว -1.39% เนื่องจากหุ้นเทคฯ ซึ่งมีระดับ Valuation ที่สูงนั้นจะมีความอ่อนไหวกับแนวโน้มการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น โดยเฉพาะการขึ้นดอกเบี้ยของเฟด ส่วนดัชนี S&P500 ปิดตลาด -0.91% จากทั้งการปรับตัวลงของหุ้นเทคฯ ขนาดใหญ่ รวมถึงหุ้นธีม Reopening อาทิ กลุ่มสายการบินและกลุ่มพลังงาน

       ขณะที่ ในฝั่งตลาดหุ้นยุโรป ดัชนี STOXX50 ย่อตัวลงราว -0.38% กดดันจากความกังวลว่าแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจอาจชะลอลงหลังรัฐบาลหลายประเทศอาจทยอยใช้นโยบาย Lockdown ที่เข้มงวดมากขึ้น เพื่อควบคุมปัญหาการระบาดของโอมิครอน ส่งผลให้หุ้นในธีม Reopening ต่างปรับตัวลดลง โดยเฉพาะกลุ่มการเดินทางและท่องเที่ยว รวมถึงหุ้นกลุ่มธนาคาร อาทิ Amadeus -3.2%, Airbus -2.4%, Santander -1.6%, BNP Paribas -1.3%

       ทั้งนี้มองว่า ความผันผวนในตลาดการเงินมีแนวโน้มอยู่ในระดับสูงเพียงระยะสั้นและเชื่อว่าตลาดจะไม่กลับไปปิดรับความเสี่ยงหนักแบบในรอบการรปรับฐานของตลาดที่ผ่านมา หลังผลวิจัยเบื้องต้นระบุว่า การฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 3 ยังมีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อจาก โอมิครอน ได้ ซึ่งรายงานดังกล่าวสนับสนุนมุมมองของผู้เล่นในตลาดที่ต่างเชื่อว่าการระบาดของ โอมิครอน อาจจะไม่ได้มีความรุนแรงจนน่ากังวลและวัคซีนที่มีในปัจจุบันยังสามารถรับมือได้

       ส่วนทางด้านฝั่งตลาดบอนด์ ภาวะระมัดระวังตัวมากขึ้นของผู้เล่นในตลาด ได้หนุนความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe Haven) ส่งผลให้ บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ปรับตัวลดลงราว 7 bps แตะระดับ 1.42% ทั้งนี้ เรามองว่า ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามผลการประชุมเฟดในสัปดาห์นี้ ก่อนที่จะมีการปรับเปลี่ยนสถานะถือครองบอนด์อีกครั้ง ซึ่งคาดว่า ผู้เล่นบางส่วนอาจเลือกที่จะรอให้ผ่านช่วงวันหยุดปลายปีนี้ไปก่อน ที่ตลาดการเงินจะมีธุรกรรมเบาบาง และเริ่มกลับมาเทรดเต็มที่หรือปรับสถานะถือครองอย่างมีนัยยะสำคัญในช่วงต้นปีหน้า

       ซึ่งคงมองว่า บอนด์ยีลด์ระยะยาวยังมีแนวโน้มที่จะปรับตัวสูงขึ้นต่อได้ ตามการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นของเฟด รวมถึงบรรยากาศตลาดการเงินที่มีโอกาสที่จะกลับมาเปิดรับความเสี่ยง

       ในฝั่งตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์กลับมาแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ หนุนโดยแนวโน้มเฟดใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น รวมถึงความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยในระยะสั้นเพื่อหลบความผันผวนในตลาด ส่งผลให้ล่าสุดดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY Index) ปรับตัวขึ้นใกล้ระดับ 96.32 จุด ทั้งนี้ การแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์ไม่ได้กดดันราคาทองคำมากนัก                     เนื่องจากผู้เล่นบางส่วนยังเลือกที่จะถือทองคำเพื่อเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย ทำให้ราคาทองคำยังทรงตัวใกล้ระดับ 1,785 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ทั้งนี้ เรายังคงมุมมองเดิมว่า upsides ของราคาทองคำอาจเริ่มจำกัด หากตลาดกลับมาเดินหน้าเปิดรับความเสี่ยงเพิ่มเติม รวมถึงเฟดเดินหน้าใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น ทำให้จะเหลือเพียงปัจจัยความกังวลเงินเฟ้อ หรือ แนวโน้มเฟดไม่เร่งรีบใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวด ที่จะพอช่วยหนุนให้ราคาทองคำได้

        สำหรับวันนี้ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามแนวโน้มการปรับใช้มาตรการ Lockdown เพิ่มเติมในฝั่งยุโรป สหรัฐฯ รวมถึงประเทศแถบเอเชียที่เริ่มเผชิญยอดผู้ติดเชื้อ COVID ที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งภาพดังกล่าวอาจกดดันแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจในระยะสั้นได้

          ไฮไลท์ของข้อมูลเศรษฐกิจจะอยู่ที่ผลการประชุมของบรรดาธนาคารกลางหลัง อาทิ เฟด, ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) , ธนาคารกลางยุโรป (ECB) และ ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ที่จะเริ่มมีการรายงานผลการประชุมในวันพฤหัสฯ โดยผู้เล่นในตลาดต่างรอติดตามว่า บรรดาธนาคารกลางจะมีมุมมองต่อแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจอย่างไร ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงการระบาดของโอมิครอน รวมถึงแนวโน้มการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น

ขอบคุณ : ฐานเศรษฐกิจ

Categories
ข่าวหุ้น

ข่าว หุ้น ธุรกิจ วันที่ 11 ธันวาคม 2564

ข่าวหุ้น เศรษฐกิจ การเงิน การลงทุน Goo Invest Trade

ข่าวหุ้นล่าสุด ข่าวเด่นวันนี้ วันที่ 11 ธันวาคม 2564

ราคาทองวันนี้ สมาคมค้าทองคำ ประกาศราคาขายประจำวันที่ 11 ธ.ค. 64 ครั้งที่ 1 เพิ่มขึ้น 150 บาท

     ราคาทองวันนี้ สมาคมค้าทองคำ ประกาศราคาขายประจำวันที่ 11ธ.ค. 64 ครั้งที่ 1  เมื่อเวลา 09.19 น. เพิ่มขึ้น 150 บาท ทองคำแท่งรับซื้อบาทละ 28,300.00 บาท ขายออกบาทละ 28,400.00 บาท ทองคำรูปพรรณรับซื้อบาทละ 27,788.28 บาท ขายออกบาทละ 28,900.00 บาท

    โดยราคาทอง ประจำวันที่ 10 ธ.ค. 64 สมาคมค้าทองคำ ประกาศราคาขาย 4 ครั้ง ลดลง 50 บาท ทองคำแท่งรับซื้อบาทละ 28,150.00 บาท ขายออกบาทละ 28,250.00 บาท ทองคำรูปพรรณรับซื้อบาทละ 27,636.68 บาท ขายออกบาทละ 28,750.00 บาท

    ทั้งนี้สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันศุกร์ 10 ธ.ค.64 สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือนก.พ. เพิ่มขึ้น 8.1 ดอลลาร์ หรือ 0.46% ปิดที่ 1,784.8 ดอลลาร์/ออนซ์ และปรับตัวขึ้น 0.05% ในรอบสัปดาห์นี้ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นรายสัปดาห์เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่สัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 12 พ.ย.64

 

ขอบคุณ : ฐานเศรษฐกิจ

ดาวโจนส์ปิดเพิ่มขึ้น 216 จุด

      ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดปรับตัวขึ้นในวันศุกร์ ที่ 10 ธ.ค. 64 หลังการซื้อขายเป็นไปอย่างผันผวน โดยตลาดปรับตัวรับการเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อของสหรัฐที่เป็นไปตามคาดในเดือนพ.ย. ซึ่งได้ช่วยลดแรงกดดันของนักลงทุนที่วิตกว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะคุมเข้มนโยบายการเงินอย่างรุนแรง
      ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 35,970.99 จุด เพิ่มขึ้น 216.30 จุด หรือ +0.60% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,712.02 จุด เพิ่มขึ้น 44.57 จุด หรือ +0.95%ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 15,630.60 จุด เพิ่มขึ้น 113.23 จุด หรือ +0.73% ซึ่งในรอบสัปดาห์นี้ ดัชนีดาวโจนส์บวก 4%, ดัชนี S&P500 เพิ่มขึ้น 3.8% และดัชนี Nasdaq ปรับตัวขึ้น 3.6%

       กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยในวันศุกร์ว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค พุ่งขึ้น 6.8% ในเดือนพ.ย. เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย. 2525 และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 6.7%

        ส่วนดัชนี CPI พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน เพิ่มขึ้น 0.5% ในเดือนพ.ย. เมื่อเทียบรายเดือน สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ และพุ่งขึ้น 4.9% เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย. 2534 สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์เช่นกัน โดยหุ้น 7 ใน 11 กลุ่มของดัชนี S&P500 ปิดบวก โดยกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค, กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ และกลุ่มสาธารณูปโภค ปรับตัวขึ้นมากที่สุด

      ซึ่งบ่งชี้ว่า การซื้อขายเป็นไปอย่างระมัดระวังก่อนการประชุมนโยบายการเงินของเฟดในสัปดาห์หน้า โดยบรรดานักลงทุนจะจับตาการประชุมเฟดในวันที่ 14-15 ธ.ค.64นี้

       นักลงทุนจะรอดูการประชุมนโยบายการเงินของเฟดอย่างใกล้ชิดเพื่อหาสัญญาณบ่งชี้เกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีหน้า รวมถึงการปรับลดอัตราการซื้อพันธบัตร

        รอยเตอร์เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์คาดว่า เฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 0.25-0.50% ในไตรมาส 3 ของปีหน้า และจะปรับขึ้นอีกในไตรมาส 4 อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดว่า เฟดอาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่านั้น

 

GDPในปี 65 เติบโต 3.2% จากเดิมคาดไว้ที่ 3.4%

      นายยรรยง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด Economic Intelligence Center ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) กล่าวว่า EIC ได้ปรับลดประมาณการการการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย (GDP) ในปี 65 มาเป็นเติบโต 3.2% จากเดิมคาดไว้ที่ 3.4%
        หลังจากมองว่าการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนจะส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวและความเชื่อมั่นในช่วงต้นปี โดยในภาพรวมของการท่องเที่ยวยังจะเป็นการฟื้นตัวอย่างช้าๆ ซึ่งส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยไม่สามารถกลับไปใกล้เคียงช่วงก่อนเกิดโควิด-19 ได้เร็วนัก

       ในกรณีฐาน EIC คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยในปี 65 ราว 5.9 ล้านคน บนพื้นฐานที่คาดว่าผลกระทบของโอมิครอนจะจำกัดอยู่ในช่วงไตรมาส 1/65

      ขณะที่ในกรณีเลวร้าย (worse case) EIC ประเมินว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติอาจลดลงไปอยู่ที่ 2.6 ล้านคน ตามการจำกัดการเดินทางของประเทศต้นทางนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะจีนที่อาจยืดเวลาการเปิดประเทศออกไปเป็นในปี 66 ทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่พึ่งพาภาคการท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวต่างชาติมากจะยังต้องใช้เวลาฟื้นตัวไปในช่วงกลางปี 66

     ด้านภาคการส่งออกสินค้าในปี 65 ยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องที่ 3.4% ตามการเติบโตของเศรษฐกิจและการค้าโลกโดยเฉพาะการส่งออกไปยังประเทศกำลังพัฒนาที่มีแนวโน้มขยายตัวเร่งขึ้นจากปี 64

       ส่วนการใช้จ่ายในประเทศมีแนวโน้มฟื้นตัวเช่นกัน จากอานิสงส์ของการกระจายวัคซีนในประเทศที่ดีขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลให้กิจกรรมเศรษฐกิจจะกลับมาดำเนินการได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในระยะสั้นที่จะมีแรงส่งจากการใช้จ่ายที่มาจาก pent-up demand ของกลุ่มผู้มีกำลังซื้อ ประกอบกับยังจะได้ปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่คาดว่าจะยังมีต่อเนื่อง แต่ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับโอมิครอนอาจทำให้ผู้บริโภคบางส่วนชะลอการใช้จ่ายลงจากความกังวลที่เพิ่มสูงขึ้นและอาจมีมาตรการจำกัดการแพร่ระบาดเกิดขึ้นในบางจุดซึ่งจะกระทบกับการใช้จ่ายโดยตรง

       นอกจากนี้การฟื้นตัวของการใช้จ่ายในประเทศในภาพรวมจะเป็นไปอย่างช้าๆจากแผลเป็นทางเศรษฐกิจที่จะยังมีผลต่อเนื่องไปในระยะข้างหน้า โดยเฉพาะภาวะตลาดแรงงานที่ซบเซา โดยล่าสุดอัตราการว่างงานในช่วงไตรมาส 3/64 อยู่ที่ 2.3% ถือเป็นจุดสูงสุดใหม่สำหรับอัตราการว่างงานในช่วงโควิด-19 และเป็นอัตราการว่างงานที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 50 และจำนวนคนทำงานต่ำระดับและคนเสมือนว่างงานได้ปรับเพิ่มขึ้นมาก

ขอบคุณ : สำนักข่าวอินโฟเควสท์

เลโก้ทุ่มพันล้านดอลล์ตั้งโรงงานผลิตในเวียดนาม

      เลโก้ บริษัทของเล่นประเภทตัวต่อชื่อดังของโลกทั้งยังเป็นบริษัทของเล่นรายใหญ่สุดของโลกสัญชาติเดนมาร์ก ประกาศลงทุน 1,000 ล้านดอลลาร์สร้างโรงงานผลิตของเล่นในเวียดนาม เพื่อตอบสนองความต้องการของเล่นในเอเชียที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และหวังสร้างระบบห่วงโซ่อุปทานที่แข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพในเวียดนามแทนจีน

        โรงงานผลิตของเล่นของเลโก้ ซึ่งจะเป็นโรงงานที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์ศูนย์เปอร์เซนต์แห่งแรกของบริษัทจะตั้งห่างจากโฮจิมินห์ ซิตี้ ศูนย์กลางทางธุรกิจของประเทศประมาณ 50 กิโลเมตร โดยจะเริ่มก่อสร้างในช่วงครึ่งหลังของปีหน้า และบริษัทตั้งเป้าเริ่มเดินสายการผลิตครั้งแรกในปี 2567

       โรงงานผลิตที่ปล่อยคาร์บอนฯศูนย์เปอร์เซนต์แห่งนี้จะติดตั้งแผงรับพลังงานแสงอาทิตย์และมีโครงการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ตั้งอยู่ใกล้ๆ สอดรับกับความต้องการด้านพลังงานที่จำเป็นของโรงงาน ที่ผ่านมา กลุ่มบริษัทเลโก้ลงทุนอย่างมากไปกับการผลิตที่มีความยั่งยืนเพิ่มขึ้น 

        ความพยายามของเลโก้สอดคล้องกับเวียดนามที่พยายามเปลี่ยนรูปแบบการใช้พลังงานแบบผสมเป็นพลังงานที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยเฉพาะพลังงานจากแสงอาทิตย์เพื่อลดการพึ่งพาพลังงานจากถ่านหินและทางตอนใต้ของเวียดนามเป็นภูมิภาคที่แดดแรงที่สุด

       โรงงานผลิตของเล่นในเวียดนามของเลโก้จะเป็นโรงงานผลิตของเล่นแห่งที่6 โดยเลโก้มีโรงงานผลิตของเล่นในจีน1แห่ง ในยุโรป 3 แห่งและในเม็กซิโก 1 แห่งและโรงงานใหม่นี้ส่วนใหญ่จะผลิตสินค้าเพื่อป้อนให้แก่ประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตามแผนเจาะฐานลูกค้าชนชั้นกลางในภูมิภาคที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

     หลังจากประสบความสำเร็จในการทำตลาดทั้งในยุโรปและในสหรัฐมาแล้ว กลุ่มบริษัทของเล่นสัญชาติเดนมาร์กก็เล็งเป้าทำตลาดในภูมิภาคเอเชียอย่างจริงจังมากขึ้น เริ่มจากจีนที่เลโก้รุกเปิดร้านภายใต้แบรนด์ตัวเองหลายร้อยแห่งรวมทั้งตั้งโรงงานผลิตของเล่นในเจียซิงในปี 2559

        ราสมุสเซน กล่าวว่า เลโก้ใช้เวลา18เดือนที่ผ่านมาสำรวจสถานที่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อนจะตกลงตั้งโรงงานผลิตในเวียดนามเพราะได้รับข้อเสนอที่ดีมากจากทางการเวียดนาม โดยเฉพาะแรงงานที่มีทักษะและการเปิดกว้างด้านการทำธุรกิจอย่างยั่งยืน ซึ่งโรงงานแห่งนี้จะสร้างงาน 4,000 ตำแหน่งในระยะ15ปีข้างหน้าที่บริษัทค่อยๆขยายโรงงาน

“เราเน้นการลงทุนระยะยาว ตลาดในเอเชียและจีนเป็นตลาดที่มีศักยภาพมากสำหรับเรา ทั้งยังเป็นตลาดที่มีโอกาสการเติบโตทางธุรกิจที่ดีและมีกรณีพิพาทน้อยหรือแทบไม่มีเลย”ซีโอโอเลโก้ กล่าว 

         ผู้บริหารระดับสูงที่ดูแลด้านการผลิตของเลโก้ กล่าวว่าโรงงานผลิตของบริษัทในจีนที่มีอยู่ตอนนี้จะผลิตของเล่นให้ตลาดจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ส่วนโรงงานแห่งใหม่ในเวียดนามจะผลิตของเล่นให้ประเทศที่เหลือในเอเชีย 

        ไฟแนนเชียล ไทม์ ระบุว่า การลงทุนของเลโก้มูลค่า1,000 ล้านดอลลาร์ครั้งนี้ถือเป็นข่าวดีสำหรับเวียดนาม ที่บรรดาบริษัทส่งออกต่างชาติเป็นหนึ่งในตัวขับเคลื่อนหลักกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจให้แก่เวียดนาม

       

ขอบคุณ : กรุงเทพธุรกิจ

กสิกรไทยคาดการณ์ดัชนีหุ้นไทยสัปดาห์1,600 - 1,580 จุด

      บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด คาดการณ์ดัชนีหุ้นไทยสำหรับสัปดาห์ถัดไป วันที่ 13-17 ธ.ค.64 มีแนวรับที่ 1,600 และ 1,580 จุด ขณะที่แนวต้านอยู่ที่ 1,625 และ 1,640 จุด ตามลำดับ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ การประชุมเฟด วันที่ 14-15 ธ.ค.64 สถานการณ์โควิด-19 และทิศทางเงินลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ

      ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนีราคาผู้ผลิต ยอดค้าปลีก ข้อมูลการเริ่มสร้างบ้านเดือนพ.ย. และดัชนี PMI เดือนธ.ค. (เบื้องต้น) ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศอื่นๆ ได้แก่ การประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) และธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ดัชนี PMI เดือนธ.ค. (เบื้องต้น) ของญี่ปุ่นและยูโรโซน ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนต.ค. ของญี่ปุ่นและยูโรโซน ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนพ.ย. ของยูโรโซน รวมถึงข้อมูลเศรษฐกิจเดือนพ.ย. ของจีน อาทิ ยอดค้าปลีก การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร

     โดยในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา วันที่ 7-9 ธ.ค. 64 หุ้นไทยปรับตัวขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า โดยดัชนี SET ปิดที่ระดับ 1,618.23 จุดเพิ่มขึ้น 1.89% จากสัปดาห์ก่อน ขณะที่มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 71,301.06 ล้านบาท ลดลง 27.46% จากสัปดาห์ก่อน ส่วนดัชนี mai เพิ่มขึ้น 0.81% มาปิดที่ 564.65 จุด

       หุ้นไทยดีดตัวขึ้นจากสัปดาห์ก่อน สอดคล้องกับทิศทางตลาดหุ้นต่างประเทศ หลังนักลงทุนคลายความกังวลบางส่วนต่อโควิดสายพันธุ์โอมิครอน เนื่องจากมีความหวังว่าอาการป่วยจากการติดเชื้อสายพันธุ์ดังกล่าวอาจไม่รุนแรง สำหรับสัปดาห์นี้ หุ้นกลุ่มธนาคารมีแรงหนุนเพิ่มเติมจากข่าวการชนะประมูลพอร์ตสินเชื่อรายย่อย ขณะที่หุ้นกลุ่มไฟแนนซ์มีแรงหนุนจากการเปิดเฮียริ่งอีกรอบเกี่ยวกับร่างประกาศคุมสัญญาเช่าซื้อ

       อย่างไรก็ดี หุ้นไทยย่อตัวลงเล็กน้อยในวันทำการสุดท้ายก่อนหยุดยาว ตามแรงขายลดเสี่ยงของนักลงทุน

ขอบคุณ : สำนักข่าวอินโฟเควสท์