
ข่าวหุ้นล่าสุด ข่าวเด่นวันนี้ วันที่ 14 มกราคม 2565
หุ้นเด่นวันนี้
- KTC (เคทีบีเอสที) เป้าเชิงกลยุทธ์ 65.00 บาท ตั้งเป้ารายได้ปี 22 โต 10% ยอดสินเชื่อและยอดการใช้จ่ายจะโตตามเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว สาขาจะทำงานได้มากขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนที่มีการ Lockdown มองเป้าโต 10% Conservative เกินไป การตั้งสำรองและ NPL ปี 65 มีแนวโน้มลดลง หนุนกำไร และอีกหนึ่งจุดแข็งคือการบริหารลูกหนี้ทำได้ดีกว่ากลุ่ม ประเมินกำไรสุทธิปี 64-65 ที่ 5.79 พัน ลบ. และ 6.55 พัน ลบ. +8.7%YoY, +13%YoY ตามลำดับ
- TTB (ฟินันเซีย ไซรัส) “ซื้อ” เป้าหมาย 1.80 บาท คาดกำไรสุทธิปี 65 จะเติบโตสูงสุดในกลุ่มธนาคาร +32% Y-Y จากประโยชน์หลังการควบรวมเต็มปีทั้งการ Cross Selling รวมถึงลดค่าใช้จ่ายซ้ำซ้อน และเป็นธนาคารเดียวที่ ROE จะสูงเหนือระดับก่อน COVID-19 ฐานลูกค้าที่เป็นรายย่อยมากขึ้นทำให้ Loan Yield สูงและมีโอกาสเกิดการ Rerate Valuation ขึ้น ขณะที่ปัจจุบัน TTB ซื้อขายที่ระดับ PBV เพียง 0.6 เท่า ซึ่งเรามองว่าต่ำเกินไป
- TNP (กรุงศรี) “ซื้อ” เป้าหมาย Consensus 6.7 บาท คาดการณ์กำไรสุทธิ Q4/64 ยังเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งตามผลบวกของฤดูกาล (High season) ขณะที่ปีนี้ทิศทางกำไรยังโตเด่นจากแผนขยายสาขาเพิ่มขึ้น 6-7 สาขาต่อปีทำให้มี Growth อย่างน้อย 20-30% จากจำนวนสาขาในปัจจุบันที่ 30 สาขา
- AQ-W5 เริ่มเทรดวันแรกวันนี้ (14 ม.ค.) จำนวนหน่วยใบสำคัญแสดงสิทธิที่เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน 42,660,889,866 หน่วย อัตราการใช้สิทธิ (ใบสำคัญแสดงสิทธิ:หุ้นสามัญใหม่ 1:1) ราคาการใช้สิทธิ 0.028 บาทต่อหุ้น อายุใบสำคัญแสดงสิทธิ 2 ปี 11 เดือน 21วัน นับแต่วันที่ออกใบสำคัญแสดงสิทธิ วันใช้สิทธิครั้งแรก 31 มี.ค.65 วันใช้สิทธิครั้งสุดท้าย 6 ธ.ค.67
ขอบคุณ : สำนักข่าวอินโฟเควสท์
ราคาทองวันนี้ ลดลง 50 บาท
ราคาทองวันนี้ สมาคมค้าทองคำ ประกาศราคาขายประจำวันที่ 14 ม.ค. 65 ครั้งที่ 1 เมื่อเวลา 09.21 น. ลดลง 50 บาท ทองคำแท่งรับซื้อบาทละ 28,550.00 บาท ขายออกบาทละ 28,650.00 บาท ทองคำรูปพรรณรับซื้อบาทละ 28,030.84 บาท ขายออกบาทละ 29,150.00 บาท
ราคาทอง ประจำวันที่ 13 มกราคม 2565 สมาคมค้าทองคำ ประกาศราคาขาย 2 ครั้ง ราคาไม่เปลี่ยนแปลง ทองคำแท่งรับซื้อบาทละ 28,600.00 บาท ขายออกบาทละ 28,700.00 บาท ทองคำรูปพรรณรับซื้อบาทละ 28,091.48 บาท ขายออกบาทละ 29,200.00 บาท
สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันพฤหัสบดี ที่ 13 ม.ค. 65 โดยตลาดถูกกดดันจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ รวมทั้งความกังวลที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมี.ค.
สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนก.พ. ลดลง 5.9 ดอลลาร์ หรือ 0.32% ปิดที่ 1,821.4 ดอลลาร์/ออนซ์
ขอบคุณ : ฐานเศรษฐกิจ
บิตคอยน์วันนี้ ปรับลง 3.17%
ราคาบิตคอยน์วันนี้ 14 ม.ค. 65 ปรับลง -3.17% ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง ราคาอยู่ที่ 42,508.70 เหรียญสหรัฐ หรือราว 1,412,564.10 บาท มูลค่าซื้อขายรวม 48.20 พันล้านเหรียญสหรัฐ ตามข้อมูลล่าสุด เมื่อ 6.58 น.
ราคาเหรียญดิจิทัลคริปโตฯ อื่นๆ Ethereum ปรับลง 4.03% Binance Coin ปรับลง 2.61% และ Dogecoin ร่วงลง 5.8% ในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา
สรุปราคาเหรียญคริปโทเคอร์เรนซี
- Bitcoin (BTC) ราคา 42,508.70 เหรียญสหรัฐ เปลี่ยนแปลง -3.17%
- Ethereum (ETH) ราคา 3,235.04 เหรียญสหรัฐ เปลี่ยนแปลง -4.03%
- BNB (BNB) ราคา 474.31 เหรียญสหรัฐ เปลี่ยนแปลง -2.61%
- Tether (USDT) ราคา 1.00 เหรียญสหรัฐ เปลี่ยนแปลง -0.01%
- . Solana (SOL) ราคา 145.59 เหรียญสหรัฐ เปลี่ยนแปลง -3.86%
- Dogecoin (DOGE) ราคา 0.17 เหรียญสหรัฐ เปลี่ยนแปลง +5.46%
- Cardano (ADA) ราคา 1.23 เหรียญสหรัฐ เปลี่ยนแปลง -5.89%
- XRP (XRP) ราคา0.77 เหรียญสหรัฐ เปลี่ยนแปลง -3.94%
- Terra (LUNA) ราคา 77.97 เหรียญสหรัฐ เปลี่ยนแปลง -4.86%
- Polkadot (DOT) ราคา 25.71 เหรียญสหรัฐ เปลี่ยนแปลง -5.80%
หมายเหตุ : ข้อมูลข้างต้นอาจมีความคลาดเคลื่อนและไม่ควรใช้เพื่อการตัดสินใจลงทุนหรือซื้อขาย ผู้อ่านควรตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ทาง www.sec.or.th
ขอบคุณ : ประชาชาติธุรกิจ
อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท 33.23 บาท/ดอลลาร์
นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน ธนาคารกรุงไทยระบุว่า เงินบาทมีแนวโน้มแกว่งตัว Sideways ในกรอบต่อ จนกว่าจะมีปัจจัยใหม่ๆ เข้ามา โดยปัจจัยด้านแข็งค่ายังคงเป็น การอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์และโฟลว์ขายทำกำไรทองคำ ขณะที่ปัญหาการระบาดของโอมิครอนในประเทศที่กดดันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังคงเป็นแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าที่มองข้ามไม่ได้
นอกจากนี้ หากเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นจนหลุดระดับ 33.00 บาทต่อดอลลาร์นั้น ต้องอาศัยฟันด์โฟลว์จากนักลงทุนต่างชาติพอสมควร ซึ่งเราเริ่มเห็นสัญญาณการทยอยขายทำกำไรการเก็งเงินบาทฝั่งแข็งค่าจากผู้เล่นต่างชาติ โดยในวันก่อนหน้า นักลงทุนต่างชาติเริ่มขายสุทธิบอนด์ระยะสั้นกว่า -6.3 พันล้านบาท ซึ่งอาจสะท้อนมุมมองของนักลงทุนต่างชาติที่ยังไม่รีบเข้ามาเก็งกำไรการแข็งค่าของเงินบาทและพร้อมที่จะขายทำกำไร หากเงินบาทแข็งค่าถึงระดับเป้าราคาที่ต้องการ
นอกจากนี้ หากเงินบาทแข็งค่าใกล้ระดับ 33.10-33.20 บาทต่อดอลลาร์ ก็อาจมีแรงซื้อเงินดอลลาร์จากฝั่งผู้นำเข้าช่วยพยุงเงินบาทไม่ให้แข็งค่าไปมากได้
มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 33.20-33.35 บาท/ดอลลาร์
ตลาดการเงินเผชิญความผันผวนจากแรงเทขายหุ้นเทคฯ และหุ้นสไตล์ Growth อีกครั้ง หลังถ้อยแถลงของว่าที่รองประธานเฟด Lael Brainard รวมถึงบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดท่านอื่นๆ ต่างส่งสัญญาณว่าเฟดพร้อมที่จะขึ้นดอกเบี้ยในเดือนมีนาคมและเฟดจะใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นเพื่อแก้ปัญหาเงินเฟ้อ
นอกจากนี้ แรงเทขายหุ้นเทคฯ ยังมาจากมุมมองของผู้เล่นในตลาดที่มองว่า ผลประกอบการของหุ้นกลุ่มเทคฯ อาจจะไม่ได้เติบโตโดดเด่นเมื่อเทียบกับหุ้นในกลุ่มอื่นๆ โดยเฉพาะ หุ้นในกลุ่ม Cyclical ที่จะได้รับอานิสงส์ของการฟื้นตัวเศรษฐกิจ
ซึ่งภาพดังกล่าวยังคงหนุนให้การเปลี่ยนกลุ่มลงทุนของผู้เล่นในตลาด (Sector & Style Rotation) ยังดำเนินต่อไป ดังจะเห็นได้จากการที่ ดัชนี Dowjones ของสหรัฐฯ ที่มีสัดส่วนหุ้น Cyclical สูง ย่อตัวลงเพียง -0.49% ในขณะที่ดัชนี S&P500 และดัชนีหุ้นเทคฯ Nasdaq ปรับตัวลงกว่า -1.42% และ -2.51% ตามลำดับ
ส่วนในฝั่งยุโรป ดัชนี STOXX50 ของยุโรป ทรงตัวจากระดับปิดวันก่อนหน้า เพราะถึงแม้ว่า ตลาดหุ้นยุโรปจะถูกกดดันจากแรงขายหุ้นกลุ่มเทคฯ นำโดยการปรับตัวขึ้นต่อเนื่องของหุ้นกลุ่มเทคฯ Adyen -6.0%, SAP -1.4% แต่โดยรวม ตลาดหุ้นยุโรปยังได้แรงหนุนจากการปรับตัวขึ้นของหุ้นกลุ่ม Cyclical อาทิ กลุ่มยานยนต์และกลุ่มการเงิน Daimler +2.7%, BNP Paribas +2.5%, BMW +1.6% ทั้งนี้ เราคงมองว่า การลงทุนในหุ้นยุโรปยังมีความน่าสนใจ จากสัดส่วนหุ้นกลุ่ม Cyclical ที่สูงและมีโอกาสได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังการระบาดของโอมิครอนสงบลง
ส่วนทางด้านฝั่งตลาดบอนด์ แม้ว่า บรรดาเจ้าหน้าที่เฟดจะส่งสัญญาณพร้อมใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น ทว่า ภาพดังกล่าวกลับไม่ได้กดดันให้บอนด์ยีลด์ปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากเป็นสิ่งที่ผู้เล่นในตลาดรับรู้ไปพอสมควรแล้ว
อย่างไรก็ดี ภาวะตลาดการเงินไม่กล้าเปิดรับความเสี่ยงและอยู่ในภาวะระมัดระวังตัวกลับหนุนให้ ผู้เล่นบางส่วนทยอยเข้ามาซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย ทำให้บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ย่อตัวลงเล็กน้อย 3bps สู่ระดับ 1.71% สอดคล้องกับมุมมองของเราที่มองว่า ปัจจัยการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดเป็นสิ่งที่ตลาดรับรู้ไปพอสมควรแล้ว
ดังนั้น การปรับตัวขึ้นของบอนด์ยีลด์จะเกิดขึ้นได้ หากตลาดกล้าเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น หรือ เฟดมีการสื่อสารถึงการลดงบดุลที่ชัดเจนมากขึ้น โดยอาจเป็นการลดงบดุลในอัตราที่สูงกว่าในอดีตที่ผ่านมาในฝั่งตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์ทรงตัวเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก โดยล่าสุด ดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY Index) แกว่งตัวใกล้ระดับ 94.79 จุด โดยเรามองว่า เงินดอลลาร์ยังมีแรงกดดันจากแนวโน้มการทยอยฟื้นตัวของประเทศเศรษฐกิจหลัก
โดยเฉพาะฝั่งยุโรป หลังสถานการณ์การระบาดในยุโรปใกล้ถึงจุดเลวร้ายสุด ซึ่งภาพดังกล่าวสะท้อนผ่านการทยอยแข็งค่าขึ้นของเงินยูโร (EUR) รวมถึง เงินปอนด์อังกฤษ (GBP) อย่างไรก็ดี เงินดอลลาร์ยังได้แรงหนุนจากภาวะระมัดระวังตัวของผู้เล่นในตลาด ทำให้ผู้เล่นบางส่วนเลือกที่จะถือครองสินทรัพย์ปลอดภัย อย่าง เงินดอลลาร์
สำหรับวันนี้ ตลาดจะจับตาผลกระทบของการระบาดของโอมิครอนต่อการเติบโตเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยสัญญาณผลกระทบเบื้องต้นอาจสะท้อนผ่าน ยอดค้าปลีก (Retail Sales) ในเดือนธันวาคม ที่อาจหดตัว -0.1%m/m แม้ว่าจะเป็นช่วงเทศกาลที่ปกติแล้วยอดค้าปลีกควรขยายตัวได้ดี
รวมถึงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (U of Michigan Consumer Sentiment) เดือนมกราคมที่อาจชะลอลงสู่ระดับ 70 จุด นอกจากนี้ ตลาดจะรอลุ้นรายงานผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในสหรัฐฯ โดยเฉพาะหุ้นในกลุ่ม Cyclical อาทิ กลุ่มการเงิน Wells Fargo, Citigroup, JP Morgan เป็นต้น
ส่วนในฝั่งเอเชีย เราคาดว่า ธนาคารกลางเกาหลีใต้ (BOK) จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 1.00% ก่อน จนกว่า BOK จะมั่นใจว่าการระบาดของโอมิครอนจะไม่ส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น BOK จะสามารถกลับมาขึ้นดอกเบี้ยต่อได้ในช่วงปลายไตรมาส 1 หรือ ในไตรมาสที่ 2
อย่างไรก็ดีในระยะสั้น ยอดการส่งออกของจีนอาจได้รับผลกระทบจากการระบาดของโอมิครอนบ้าง แต่คาดว่าความต้องการสินค้าจากทั่วโลกจะกลับมาขยายตัวดีขึ้น หลังการระบาดเริ่มสงบลง ซึ่งจะช่วยให้การส่งออกของจีนยังคงขยายตัวได้ดีและช่วยหนุนให้เศรษฐกิจจีนสามารถฟื้นตัวได้ดีขึ้น
ทางศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า เงินบาทแข็งค่าทดสอบแนว 33.15 บาทต่อดอลลาร์ฯ ก่อนจะกลับมาปรับตัวอยู่ที่ระดับ 33.18 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในช่วงเช้าวันนี้ (9.15 น.) เทียบกับระดับปิดตลาดวันทำการก่อนหน้าที่ 33.20 บาทต่อดอลลาร์ฯ เงินบาทขยับแข็งค่าขึ้น โดยอาจจะมีอานิสงส์ต่อเนื่องจากสัญญาณเงินทุนไหลเข้าในตลาดพันธบัตรไทย
อย่างไรก็ดีอาจต้องติดตามแรงหนุนเงินดอลลาร์ฯ ในระหว่างวันจากการคาดการณ์เกี่ยวกับแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ หลังข้อมูล PPI สหรัฐฯ ยังคงขยับขึ้น และเจ้าหน้าที่เฟดมีท่าทีสนับสนุนการขึ้นดอกเบี้ยในเดือนมี.ค. นี้
สำหรับกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทพรุ่งนี้ คาดไว้ที่ 33.10-33.35 บาทต่อดอลลาร์ฯ ขณะที่ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ทิศทางเงินทุนของต่างชาติ สถานการณ์โควิด-19 ถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟด ยอดค้าปลีก ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีราคานำเข้า/ส่งออกเดือนธ.ค. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเบื้องต้นสำหรับเดือนม.ค.
ขอบคุณ : ฐานเศรษฐกิจ
ประกันสังคม แจ้งขายหุ้น TU จำนวน 3 ล้านหุ้น และหุ้น BCH อีก 10 ล้านหุ้น
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ได้รับแจ้งจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ระบุเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2565 ก.ล.ต.ได้รับแบบรายงานการได้มา/จำหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการ (แบบ 246-2) ได้เป็นรายงานการจำหน่าย หุ้นของ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ( TU )โดย สำนักงานประกันสังคม ซึ่งเป็นการจำหน่ายเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2565 จำนวนหลักทรัพย์ที่จำหน่าย 3 ล้านหุ้น คิดเป็น 0.0644% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ จำนวนหลักทรัพย์ภายหลังการจำหน่ายคิดเป็น 230,438,108 หุ้น หรือสัดส่วน 4.9501% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ
นอกจากนี้ยังได้รับแบบรายงานการจำหน่ายหุ้น บมจ.บางกอก เชน ฮอสปิทอล (BCH) โดยสำนักงานประกันสังคม เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2565 จำนวน 10 ล้านหุ้น คิดเป็นสัดส่วน 0.401% ล่าสุดถืออยู่ 123,826,940 หุ้น คิดเป็น 4.9654%
สำนักงานประกันสังคม รายงานสถานะกองทุนประกันสังคม ล่าสุด ณ วันที่ 30 กันยายน 2564 มีมูลค่าพอร์ต 2,274,718 ล้านบาท โดยมีผลตอบแทนจากการลงทุนที่รับรู้แล้วในปี 2564 ( ม.ค.- ก.ย.2564 ) จำนวน 45,951 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปีอยู่ที่ 3.61%
โดยเป็นการลงทุนในประเทศ 1,892,867 ล้านบาท คิดเป็น 83.21% ลงทุนต่างประเทศ 381,851 ล้านบาท คิดเป็น 16.79% และแยกมูลค่าการลงทุนตามความเสี่ยง เป็นการลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยง 557,874 ล้านบาท สัดส่วน 24.52% หลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง 1,716,844 ล้านบาท สัดส่วน 75.48%
ปัจจุบัน ประกันสังคม มีการลงทุนโดยถือหุ้นในบริษัทจดทะเบียน (บจ.)และกองทุนรวมอสังหา/สิทธิการเช่าอสังหา รวมทั้งสิ้น 80 แห่ง มูลค่าการลงทุน ณ วันที่ 13 ม.ค.65 ประมาณ 2.94 แสนล้านบาท
5 อันดับหลักทรัพย์ที่ประกันสังคมถือหุ้นและมีมูลค่าสูงสุดได้แก่
– PTT ถือหุ้น 2.14% มูลค่าราว 23,978 ล้านบาท
– ADVANC ถือหุ้น 3.36% มูลค่าราว 22,188 ล้านบาท
– SCC ถือหุ้น 4.01% มูลค่าราว 18,777 ล้านบาท
– SCB ถือหุ้น 3.54% มูลค่าราว 15,163 ล้านบาท
– BDMS ถือหุ้น 4.08% มูลค่าราว 14,652 ล้านบาท
ขอบคุณ : ฐานเศรษฐกิจ
ข่าว หุ้น ธุรกิจ เศรษฐกิจ วันที่ 30 มกราคม 2566 (รอบเช้า)
ข่าว หุ้น ธุรกิจ เศรษฐกิจ วันที่ 30 มกราคม 2566 ตลาดจับตาเฟดแถลงผลการประชุมวันพุธนี้ คาดขึ้นดอกเบี้ย
ข่าว หุ้น ธุรกิจ เศรษฐกิจ วันที่ 24 มกราคม 2566 (รอบเช้า)
ข่าว หุ้น ธุรกิจ เศรษฐกิจ วันที่ 24 มกราคม 2566 (รอบเช้า) ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก: ยูโรแข็งเทียบดอลล์ ร
ข่าว หุ้น ธุรกิจ เศรษฐกิจ วันที่ 20 มกราคม 2566 (รอบเช้า)
ข่าว หุ้น ธุรกิจ เศรษฐกิจ วันที่ 20 มกราคม 2566 (รอบเช้า) ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก: ทองปิดพุ่ง $16.90 เ
ข่าว หุ้น ธุรกิจ เศรษฐกิจ วันที่ 21 ธันวาคม 2565 (รอบเช้า)
ข่าว หุ้น ธุรกิจ เศรษฐกิจ วันที่ 21 ธันวาคม 2565 (รอบเช้า) ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก: ทองปิดพุ่ง $27.7 ด
ข่าว หุ้น ธุรกิจ เศรษฐกิจ วันที่ 20 ธันวาคม 2565 (รอบบ่าย)
ข่าว หุ้น ธุรกิจ เศรษฐกิจ วันที่ 20 ธันวาคม 2565 (รอบบ่าย) ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก: ดอลล์แข็งค่าเล็กน้อ
ข่าว หุ้น ธุรกิจ เศรษฐกิจ วันที่ 20 ธันวาคม 2565 (รอบเช้า)
ข่าว หุ้น ธุรกิจ เศรษฐกิจ วันที่ 20 ธันวาคม 2565 (รอบเช้า) ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก: ทองปิดลบ $2.5 บอนด