
ข่าวหุ้นล่าสุด ข่าวเด่นวันนี้ วันที่ 27 ตุลาคม 2564
หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีปรับตัวปรับตัวดี ดัชนีดาวโจนส์เพิ่มขึ้น 15.33%
กระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงาน ยอดขายบ้านใหม่พุ่งขึ้น 14% สู่ระดับ 800,000 ยูนิตในเดือนก.ย. ที่ผ่านมาว่าเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค. และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 760,000 ยูนิต ส่วนราคาเฉลี่ยของบ้านใหม่เพิ่มขึ้น 18.7% สู่ระดับ 408,800 ดอลลาร์ในเดือนก.ย.ในขณะที่ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กยังได้รับแรงหนุนจากผลสำรวจของ Conference Board ระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐดีดตัวขึ้นสู่ระดับ 113.8 ในเดือนต.ค. จากระดับ 109.8 ในเดือนก.ย. สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลง
ในขณะเดียวกันฝั่งของนักลงทุนจับตาดูผลประกอบการของบริษัทอัลฟาเบท ทวิตเตอร์ และไมโครซอฟท์ ซึ่งจะมีการเปิดเผยหลังตลาดปิดทำการ ซึ่งข้อมูลจากเรฟินิทีฟ(Refinitiv) ระบุว่า บริษัทจำนวน 119 แห่งในดัชนี S&P 500 รายงานผลประกอบการไตรมาส 3 แล้ว 84% ในจำนวนนี้มีผลประกอบการสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ รวมถึงนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าบริษัทจดทะเบียนจะมีการขยายตัวของกำไรในไตรมาส 3 เพิ่มขึ้นถึง 35% นอกจากนี้ นักลงทุนยังรอดูข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐที่มีกำหนดเปิดเผยในสัปดาห์นี้ ซึ่งได้แก่ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนก.ย., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 3/2564
ทั้งนี้ในส่วนของดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ได้ปิดที่ 35,756.88 จุด เพิ่มขึ้น 15.73 จุด หรือ +0.04%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,574.79 จุด เพิ่มขึ้น 8.31 จุด หรือ +0.18% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 15,235.71 จุด เพิ่มขึ้น 9.01 จุด หรือ +0.06% ซึ่งหุ้น 9 ใน 11 กลุ่มที่คำนวณในดัชนี S&P500 ปิดในแดนบวก นำโดยดัชนีหุ้นกลุ่มพลังงานปรับตัวขึ้น 0.68% หลังราคาน้ำมัน WTI พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 7 ปี โดยตลาดได้รับแรงหนุนจากผลประกอบการที่สดใสของบริษัทจดทะเบียน โดยบริษัทเจเนอรัล อิเลคทริค (GE) เปิดเผยกำไรไตรมาส 3 ที่ระดับ 57 เซนต์ ต่อหุ้น สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ระดับ 43 เซนต์ ต่อ หุ้น ซึ่งข้อมูลดังกล่าวช่วยหนุนหุ้น GE พุ่งขึ้น 2.03% ในขณะที่หุ้นในกลุ่มเทคโนโลยีปรับตัวขึ้นเช่นกัน
ขอบคุณ : ฐานเศรษฐกิจ
ส่งออกไทยโตขึ้น 17% ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ กล่าวว่าปีนี้ระหว่างม.ค. – ก.ย. มีมูลค่ารวม 199,997 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 15.5% ส่วนการนำเข้า มีมูลค่ารวม 197,980 ล้านดอลลาร์ ส่งผลให้ในช่วง 9 เดือนแรก ไทยเกินดุลการค้า 2,017 ล้านดอลลาร์สำหรับสินค้าสำคัญใน 5 อันดับแรก ที่ช่วยผลักดันการส่งออก ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป ขยายตัว 114.4% ยางพารา ขยายตัว 83.6% เคมีภัณฑ์ ขยายตัว 55.8% เม็ดพลาสติก ขยายตัว 40.3% และคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ขยายตัว 22.6% โดยการส่งออกของไทยเดือนก.ย. 64 ขยายตัวอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 เมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย การส่งออกในเดือนก.ย. 64 ขยายตัวได้ 14.8% โดยการส่งออกของไทยขยายตัวเพิ่มขึ้นสวนทางกับหลายประเทศในภูมิภาคเอเชีย จากภาคการผลิตที่ฟื้นตัว การกระจายวัคซีนต้านโควิด-19 และการควบคุมการระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลตาได้ดี โดยมีมูลค่า 23,036 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน 17.1% การนำเข้า มีมูลค่า 22,426 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน 30.3% ส่งผลให้ในเดือนนี้ไทยเกินดุลการค้า 610 ล้านดอลลาร์ โดยสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 ที่ 15.8% คิดเป็นมูลค่า 18,424 ล้านดอลลาร์ โดยสินค้าที่ขยายตัวสูง ได้แก่ สินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ขยายตัว 61%, เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ ขยายตัว 38.7%, เครื่องจักรกล และส่วนประกอบ ขยายตัว 32.8%, เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัว 22.6% และแผงวงจรไฟฟ้า ขยายตัว 16.3% โดยเหตุผลที่การส่งออกของไทยในเดือนก.ย. ขยายตัวได้ต่อเนื่อง มาจาก 5 ปัจจัยสำคัญ คือ
- .แผนส่งเสริมการส่งออก130 กิจกรรมในช่วงครึ่งปีหลังนี้ บรรลุผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยเป็นการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างกระทรวงพาณิชย์ และภาคเอกชนผู้ส่งออก ผ่านกลไก กรอ.พาณิชย์
- ภาพรวมเศรษฐกิจการค้าโลกเริ่มดีขึ้น โดยล่าสุด องค์การการค้าโลก (WTO) ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์การค้าโลกปีนี้เป็น 10.8% จากเดิมที่ 8%
- .เงินบาทยังอ่อนค่า ซึ่งช่วยสร้างความได้เปรียบในเชิงการแข่งขันด้านราคาให้กับสินค้าส่งออกของไทย
- ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อการส่งออกสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันของไทยให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น
- ศักยภาพของเอกชนผู้ส่งออกยังมีความเข้มแข็ง โดยเฉพาะการผลิตในภาคอุตสาหกรรม ที่แม้ต้องเจอกับปัญหาล็อกดาวน์ในช่วงโควิด-19 แพร่ระบาด แต่ยังสามารถกลับมาฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว
ขณะที่การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 ที่ 12.1% คิดเป็นมูลค่า 1,714 ล้านดอลลาร์ โดยสินค้าที่ขยายตัวสูง ได้แก่ ยางพารา 83.6% ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง 44.4% ข้าว 33.8% ผลไม้กระป๋องแปรรูป 29.3% และอาหารสัตว์เลี้ยง 23.6% และการส่งออกสินค้าเกษตร ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11 ที่ 12.9% คิดเป็นมูลค่า 1,963 ล้านดอลลาร์ โดยสินค้าที่ขยายตัวสูง ได้แก่ ยางพารา 83.6% ลำไยสด 73.8% มะม่วงสด 55.9% ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง 44.4% และข้าว 33.8%
ทั้งนี้ไทยพบว่าด้านตลาดส่งออกไปยังตลาดใหม่สามารถขยายตัวได้ดี นำโดยตลาดเอเชียใต้ ขยายตัว 69% ตลาดรัสเซีย และกลุ่ม CIS ขยายตัว 42.5% ตลาดแอฟริกา ขยายตัว 30.2% เป็นต้น ส่วนตลาดส่งออกหลักที่สำคัญ ยังขยายตัวได้ทุกตลาดเช่นกัน โดยตลาดสหรัฐ ขยายตัว 20.2% ตลาดญี่ปุ่น ขยายตัว 13.2% และตลาดยุโรป ขยายตัว 12.6%
ขอบคุณ: สำนักข่าวอินโฟเควสท์
GBS เผยหุ้นเด่นกลุ่มอสังหาฯรับคลายกฎ LTV
นางสาววิลาสินี บุญมาสูงทรง ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด หรือ กล่าวว่า หุ้นไทยสัปดาห์นี้ แกว่งตัว Sideway ออกข้างยังขาดปัจจัยใหม่หนุนตลาด โดยนักลงทุนต่างชาติในช่วง 3 เดือน ส.ค.-ต.ค.64 ที่ผ่านมามีการซื้อสุทธิ จำนวน 3.4 หมื่นล้านบาท หากพิจารณาจากยอด 7 เดือน ม.ค.-ก.ค.64กลับมียอดขายสุทธิสะสม จำนวน 5.6 หมื่นล้านบาท แนะนำกลยุทธ์ลงทุนในหุ้นอสังหาริมทรัพย์ให้ ได้ประโยชน์จากธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อคลายกฎ LTV เป็น 100% ชั่วคราวจนถึงสิ้นปี 2565 ซึ่งทำให้หุ้นผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ เน้นลงทุนหุ้นอสังหาฯขนาดใหญ่ P/E ต่ำ ได้แก่ LH, QH, AP, SPALI, SIRI, ORI, LALIN, PSH, LPN รวมทั้งหุ้นธีม Reopening Play ที่จะเปิดรับนักท่องเที่ยวจาก 46 ประเทศตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. หุ้นกลุ่มท่องเที่ยว ได้แก่ MINT, ERW, CENTEL, AWC, SHR, AOT, AAV, BA หุ้นกลุ่มขนส่ง ได้แก่ BEM, BTS หุ้นกลุ่มห้างสรรพสินค้า ได้แก่ CPN, CRC, MBK หุ้นกลุ่มร้านอาหาร ได้แก่ AU, M, ZEN หุ้นกลุ่มค้าปลีก ได้แก่ CPALL, BJC และ MAKRO
ในขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ยังทรงตัวในระดับสูงจากคาดการณ์อุปสงค์พลังงานที่จะเพิ่มขึ้นในช่วงวันหยุด การผ่อนคลายข้อจำกัดด้านการเดินทาง และการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐที่ฟื้นตัวอย่างช้า ประกอบกับการ ส่งผลบวกต่อหุ้นกลุ่มพลังงานช่วยพยุงตลาด แม้ว่านักลงทุนกังวลต่อการที่นายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟดเริ่มหารือแนวทางปรับลด QE ฝ่ายวิจัยให้กรอบการเคลื่อนไหวของดัชนีที่ระดับ 1,620-1,660 จุด ในขณะที่ทิศทางการลงทุนทองคำและความกังวลเรื่องเงินเฟ้อของสหรัฐทำให้การวิเคราะห์ทองคำรวมถึงแนวโน้มของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี(bond yield) และดัชนีดอลลาร์ (dollar index) ทำให้ตลาดกลัวว่าธนาคารกลางสหรัฐจะใช้ไม้แข็งอย่างการขึ้นดอกเบี้ยที่อาจมาเร็วกว่าคาดหนุน bond yield เร่งตัวต่อเนื่อง โดยอาจทำให้มีบางช่วงขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ในรอบ 5 เดือน ที่ระดับ 1.67% แต่ก็ไม่สามารถกดดันราคาทองคำได้ เนื่องจากดัชนีดอลลาร์ ที่ล่าสุดย่อตัวหลุดแนวรับบริเวณ 93.75 ส่งผลให้ดอลลาร์อ่อนค่าและหนุนทองคำปรับตัวขึ้น
อย่างไรก็ตามสำหรับสัปดาห์นี้ต้องจับตาการรายงานตัวเลข GDP ในช่วงไตรมาส 3/64 ของสหรัฐ ที่เฟดคาดการณ์ว่าอาจได้รับผลกระทบเชิงลบจากการแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์เดลต้าพลัส ดังนั้นจึงประเมินกรอบทองคำในสัปดาห์นี้ 1,770-1,825 ดอลลาร์/ออนซ์
ขอบคุณ : ประชาชาติธุรกิจ
คลังชี้ น้ำมันไทยไม่ได้แพงสุดในภูมิภาค
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวว่า การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากสินค้าพลังงานเป็นแนวปฏิบัติสากล ซึ่งภูมิภาคอาเซียนเกือบทุกประเทศมีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากสินค้าพลังงานทั้งสิ้น โดยราคาสินค้าพลังงานของประเทศไทยอยู่ในระดับกลางๆ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในภูมิภาคเดียวกัน หากพิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลในประเทศ ณ วันที่ 25 ตุลาคม 2564 แล้ว อยู่ที่ประมาณ 29 บาทต่อลิตร ในขณะที่สิงคโปร์อยู่ที่ 53 บาทต่อลิตร สปป. ลาวอยู่ที่ 31.50 บาทต่อลิตร กัมพูชาอยู่ที่ 30.24 บาทต่อลิตร ฟิลิปปินส์อยู่ 28.69 บาทต่อลิตร เมียนมาอยู่ 26.95 บาทต่อลิตร และมาเลเซีย (ผู้ส่งออกน้ำมัน) อยู่ที่ 17.42 บาทต่อลิตร
โดยภาษีมูลค่าเพิ่ม อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มของประเทศไทยอยู่ที่ร้อยละ 10 ของมูลค่าสินค้าและบริการ แต่จัดเก็บจริงที่ร้อยละ 7 ของมูลค่าสินค้าและบริการ ไทยมีอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มต่ำที่สุดในภูมิภาค เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับประเทศในกลุ่ม OECD พบว่า อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเฉลี่ยของกลุ่ม OECD สูงกว่าอัตราจัดเก็บจริงของไทยเกือบ 3 เท่า หรืออยู่ที่ร้อยละ 19.3 ดังนั้น การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่ร้อยละ 7 ของมูลค่าสินค้าและบริการ จึงอาจไม่เป็นการสร้างภาระแก่ประชาชนที่สูงเกินกว่าประเทศอื่นๆ ในโลก
ด้านการจัดเก็บภาษีทั้งภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของรัฐ โดยในปีงบประมาณ 63 สัดส่วนภาษีสรรพสามิตและภาษี VAT คิดเป็นเกือบร้อยละ 40 ของรายได้รัฐบาลรวม ซึ่งการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่มจึงเป็นแหล่งรายได้สำคัญที่รัฐบาลจะสามารถนำมาใช้ในการบริหารประเทศแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจสังคม ได้ เช่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางและการค้าขายและลดต้นทุนการขนส่ง การดำเนินมาตรการส่งเสริม SMEs การดำเนินมาตรการบรรเทาผลกระทบจาก COVID-19 การให้บริการด้านสาธารณสุข เป็นต้น
สำหรับการเก็บภาษีและเงินกองทุนของภาครัฐสูงถึงร้อยละ 49 ของราคาน้ำมันต่อลิตรที่ประชาชนจ่ายนั้นไม่ตรงตามความเป็นจริง เป็นการกล่าวอ้างนำสัดส่วนของราคาน้ำมันเบนซินปกติ มาอ้างใช้กับน้ำมันทุกประเภท หากเป็นน้ำมันประเภทอื่นเช่น เบนซินแก๊สโซฮอล ดีเซล LPG เป็นสัดส่วนของภาษีและเงินกองทุนจะอยู่ในสัดส่วนเพียงร้อยละ 6 – 23 เท่านั้น รวมถึงน้ำมันบางประเภท เช่น เบนซิน 95 E85 และ LPG สัดส่วนการเก็บภาษีและเงินกองทุนติดลบ เนื่องจากได้รับการอุดหนุนจากกองทุนน้ำมัน
จากข้อมูลราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 25 ตุลาคม 2564 น้ำมันดีเซล มีราคาหน้าโรงงานคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 75 ถึง 87 ของราคาขายปลีก ในส่วนของภาษีสรรพสามิต ภาษีเพื่อส่วนราชการท้องถิ่น เงินนำส่ง/ได้รับอุดหนุนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และเงินนำส่งกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 6 ถึง 16 ของราคาขายปลีก ส่วนค่าการตลาดคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1 – 3 ของราคาขายปลีก และภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งเป็นภาษีที่จัดเก็บจากสินค้าทุกประเภทที่ร้อยละ 7 ของมูลค่าสินค้า โดยกลุ่มราคาน้ำมันเบนซิน มีราคาหน้าโรงงานคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 56 ถึง 100 ของราคาขายปลีก ภาษีสรรพสามิต ภาษีเพื่อส่วนราชการท้องถิ่น เงินนำส่ง/ได้รับอุดหนุนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และเงินนำส่งกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ -25 ถึง 35 ของราคาขายปลีก ค่าการตลาดคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2 – 18 ของราคาขายปลีก และภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งเป็นภาษีที่จัดเก็บจากสินค้าทุกประเภทที่ร้อยละ 7 ของมูลค่าสินค้า รวมถึงกลุ่มราคา LPG ราคาหน้าโรงงานคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 157 ของราคาขายปลีก ภาษีสรรพสามิต ภาษีเพื่อส่วนราชการท้องถิ่น เงินนำส่ง/ได้รับอุดหนุนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และเงินนำส่งกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ -81 ของราคาขายปลีก เนื่องจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมีการอุดหนุนราคาดังกล่าวอยู่ LPG ค่าการตลาดอยู่ที่สัดส่วนร้อยละ 17 ของราคาขายปลีกและภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งเป็นภาษีที่จัดเก็บจากสินค้าทุกประเภทที่ร้อยละ 7 ของมูลค่าสินค้า
ทั้งนี้คลังได้เปิด 6 โครงสร้างราคาขายปลีกน้ำมัน อัตราภาษีและการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันแต่ละชนิดต่างกัน พร้อมเทียบราคาเพื่อนบ้าน ชี้ไทยไม่ได้ใช้น้ำมันแพงสุดในภูมิภาค โดยปัจจุบัน โครงสร้างราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง แบ่งออกเป็น 6 องค์ประกอบ ได้แก่
- ราคาหน้าโรงงาน ซึ่งเป็นต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการ
- ภาษีสรรพสามิตที่อัตราประมาณ 0.975 ถึง 6.5 บาทต่อลิตร ขึ้นกับประเภทน้ำมัน ซึ่งจัดเก็บบนหลักการด้านสิ่งแวดล้อม
- ภาษีเพื่อส่วนราชการท้องถิ่นที่ร้อยละ 10 ของภาษีสรรพสามิต เพื่อเป็นรายได้ท้องถิ่นในการจัดทำบริการสาธารณะและกิจกรรมสาธารณะแก่ประชาชนในพื้นที่
- ภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7 ซึ่งเป็นการจัดเก็บสินค้าเกือบทุกประเภท
- กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ที่จัดเก็บประมาณ -17.6143 ถึง 6.58 บาทต่อลิตร ขึ้นกับประเภทน้ำมัน ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการรักษาเสถียรภาพของราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ
- ค่าการตลาดซึ่งเป็นต้นทุนของผู้ประกอบการ
ขอบคุณ : ฐานเศรษฐกิจ
การเมือง กดดันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ นักวิเคราะห์ ชี้GDPโต 0.6%
ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยผลสำรวจนักวิเคราะห์มองว่า ภาคการผลิตมีแนวโน้มฟื้นตัวได้เร็ว จากการส่งออกที่มีแนวโน้มขยายตัวตามเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าแต่ยังขาดแคลนในเรื่องของชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ค่าระวางเรือและราคาพลังงานที่อยู่ในระดับสูง รวมถึงปัจจัยภายในประเทศ อาทิ ปัญหาหนี้ครัวเรือน ความไม่แน่นอนทางการเมือง กดดันให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังมีความไม่แน่นอนสูง
ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยในปีนี้ลงเหลือ 0.6% ซึ่งในไตรมาส 4 มีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นจากนโยบายด้านการคลัง รวมถึงการฉีดวัคซีนที่คืบหน้าไปมาก ทำให้มาตรการต่างๆทยอยผ่อนคลายส่งผลให้กำลังซื้อในประเทศเริ่มฟื้นตัว โดยเศรษฐกิจจะกลับปกติภายในปี 65 ซึ่งประชาชนจะกลับมาใช้ชีวิต หลังจากเริ่มผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์ โดยจำนวนผู้ได้รับวัคซีน 2 เข็มเกิน 70% ของประชากรจะเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดต่อการกลับมาใช้ชีวิตปกติของประชาชน
ขอบคุณ: หนังสือพิมพ์มติชน
ข่าว หุ้น ธุรกิจ เศรษฐกิจ วันที่ 30 มกราคม 2566 (รอบเช้า)
ข่าว หุ้น ธุรกิจ เศรษฐกิจ วันที่ 30 มกราคม 2566 ตลาดจับตาเฟดแถลงผลการประชุมวันพุธนี้ คาดขึ้นดอกเบี้ย
ข่าว หุ้น ธุรกิจ เศรษฐกิจ วันที่ 24 มกราคม 2566 (รอบเช้า)
ข่าว หุ้น ธุรกิจ เศรษฐกิจ วันที่ 24 มกราคม 2566 (รอบเช้า) ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก: ยูโรแข็งเทียบดอลล์ ร
ข่าว หุ้น ธุรกิจ เศรษฐกิจ วันที่ 20 มกราคม 2566 (รอบเช้า)
ข่าว หุ้น ธุรกิจ เศรษฐกิจ วันที่ 20 มกราคม 2566 (รอบเช้า) ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก: ทองปิดพุ่ง $16.90 เ
ข่าว หุ้น ธุรกิจ เศรษฐกิจ วันที่ 21 ธันวาคม 2565 (รอบเช้า)
ข่าว หุ้น ธุรกิจ เศรษฐกิจ วันที่ 21 ธันวาคม 2565 (รอบเช้า) ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก: ทองปิดพุ่ง $27.7 ด
ข่าว หุ้น ธุรกิจ เศรษฐกิจ วันที่ 20 ธันวาคม 2565 (รอบบ่าย)
ข่าว หุ้น ธุรกิจ เศรษฐกิจ วันที่ 20 ธันวาคม 2565 (รอบบ่าย) ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก: ดอลล์แข็งค่าเล็กน้อ
ข่าว หุ้น ธุรกิจ เศรษฐกิจ วันที่ 20 ธันวาคม 2565 (รอบเช้า)
ข่าว หุ้น ธุรกิจ เศรษฐกิจ วันที่ 20 ธันวาคม 2565 (รอบเช้า) ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก: ทองปิดลบ $2.5 บอนด