LOGO Goo Invest
Categories
ข่าวหุ้น

ข่าว หุ้น ธุรกิจ วันที่ 14 มกราคม 2565

ข่าวหุ้น เศรษฐกิจ การเงิน การลงทุน Goo Invest Trade

ข่าวหุ้นล่าสุด ข่าวเด่นวันนี้ วันที่ 14 มกราคม 2565

หุ้นเด่นวันนี้

  • KTC (เคทีบีเอสที) เป้าเชิงกลยุทธ์ 65.00 บาท ตั้งเป้ารายได้ปี 22 โต 10% ยอดสินเชื่อและยอดการใช้จ่ายจะโตตามเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว สาขาจะทำงานได้มากขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนที่มีการ Lockdown มองเป้าโต 10% Conservative เกินไป การตั้งสำรองและ NPL ปี 65 มีแนวโน้มลดลง หนุนกำไร และอีกหนึ่งจุดแข็งคือการบริหารลูกหนี้ทำได้ดีกว่ากลุ่ม ประเมินกำไรสุทธิปี 64-65 ที่ 5.79 พัน ลบ. และ 6.55 พัน ลบ. +8.7%YoY, +13%YoY ตามลำดับ
  • TTB (ฟินันเซีย ไซรัส) “ซื้อ” เป้าหมาย 1.80 บาท คาดกำไรสุทธิปี 65 จะเติบโตสูงสุดในกลุ่มธนาคาร +32% Y-Y จากประโยชน์หลังการควบรวมเต็มปีทั้งการ Cross Selling รวมถึงลดค่าใช้จ่ายซ้ำซ้อน และเป็นธนาคารเดียวที่ ROE จะสูงเหนือระดับก่อน COVID-19 ฐานลูกค้าที่เป็นรายย่อยมากขึ้นทำให้ Loan Yield สูงและมีโอกาสเกิดการ Rerate Valuation ขึ้น ขณะที่ปัจจุบัน TTB ซื้อขายที่ระดับ PBV เพียง 0.6 เท่า ซึ่งเรามองว่าต่ำเกินไป
  • TNP (กรุงศรี) “ซื้อ” เป้าหมาย Consensus 6.7 บาท คาดการณ์กำไรสุทธิ Q4/64 ยังเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งตามผลบวกของฤดูกาล (High season) ขณะที่ปีนี้ทิศทางกำไรยังโตเด่นจากแผนขยายสาขาเพิ่มขึ้น 6-7 สาขาต่อปีทำให้มี Growth อย่างน้อย 20-30% จากจำนวนสาขาในปัจจุบันที่ 30 สาขา
  • AQ-W5 เริ่มเทรดวันแรกวันนี้ (14 ม.ค.) จำนวนหน่วยใบสำคัญแสดงสิทธิที่เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน 42,660,889,866 หน่วย อัตราการใช้สิทธิ (ใบสำคัญแสดงสิทธิ:หุ้นสามัญใหม่ 1:1) ราคาการใช้สิทธิ 0.028 บาทต่อหุ้น อายุใบสำคัญแสดงสิทธิ 2 ปี 11 เดือน 21วัน นับแต่วันที่ออกใบสำคัญแสดงสิทธิ วันใช้สิทธิครั้งแรก 31 มี.ค.65 วันใช้สิทธิครั้งสุดท้าย 6 ธ.ค.67

ขอบคุณ :  สำนักข่าวอินโฟเควสท์ 

ราคาทองวันนี้ ลดลง 50 บาท

บิตคอยน์วันนี้ ปรับลง 3.17% 

         ราคาบิตคอยน์วันนี้ 14 ม.ค. 65 ปรับลง -3.17% ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง ราคาอยู่ที่ 42,508.70 เหรียญสหรัฐ หรือราว 1,412,564.10 บาท มูลค่าซื้อขายรวม 48.20 พันล้านเหรียญสหรัฐ ตามข้อมูลล่าสุด เมื่อ 6.58 น.

         ราคาเหรียญดิจิทัลคริปโตฯ อื่นๆ Ethereum ปรับลง 4.03% Binance Coin ปรับลง 2.61% และ Dogecoin ร่วงลง 5.8% ในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา

           สรุปราคาเหรียญคริปโทเคอร์เรนซี

  • Bitcoin (BTC) ราคา 42,508.70 เหรียญสหรัฐ เปลี่ยนแปลง -3.17%
  •  Ethereum (ETH) ราคา 3,235.04 เหรียญสหรัฐ เปลี่ยนแปลง -4.03%
  •  BNB (BNB) ราคา 474.31 เหรียญสหรัฐ เปลี่ยนแปลง -2.61%
  • Tether (USDT) ราคา 1.00 เหรียญสหรัฐ เปลี่ยนแปลง -0.01%
  • . Solana (SOL) ราคา 145.59 เหรียญสหรัฐ เปลี่ยนแปลง -3.86%

  •  Dogecoin (DOGE) ราคา 0.17 เหรียญสหรัฐ เปลี่ยนแปลง +5.46%
  •  Cardano (ADA) ราคา 1.23 เหรียญสหรัฐ เปลี่ยนแปลง -5.89%
  •  XRP (XRP) ราคา0.77 เหรียญสหรัฐ เปลี่ยนแปลง -3.94%
  •  Terra (LUNA) ราคา 77.97 เหรียญสหรัฐ เปลี่ยนแปลง -4.86%
  •  Polkadot (DOT) ราคา 25.71 เหรียญสหรัฐ เปลี่ยนแปลง -5.80%

หมายเหตุ : ข้อมูลข้างต้นอาจมีความคลาดเคลื่อนและไม่ควรใช้เพื่อการตัดสินใจลงทุนหรือซื้อขาย ผู้อ่านควรตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ทาง www.sec.or.th

ขอบคุณ :  ประชาชาติธุรกิจ

 

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท 33.23 บาท/ดอลลาร์

      นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน ธนาคารกรุงไทยระบุว่า เงินบาทมีแนวโน้มแกว่งตัว Sideways ในกรอบต่อ จนกว่าจะมีปัจจัยใหม่ๆ เข้ามา โดยปัจจัยด้านแข็งค่ายังคงเป็น การอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์และโฟลว์ขายทำกำไรทองคำ ขณะที่ปัญหาการระบาดของโอมิครอนในประเทศที่กดดันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังคงเป็นแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าที่มองข้ามไม่ได้

          นอกจากนี้ หากเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นจนหลุดระดับ 33.00 บาทต่อดอลลาร์นั้น ต้องอาศัยฟันด์โฟลว์จากนักลงทุนต่างชาติพอสมควร ซึ่งเราเริ่มเห็นสัญญาณการทยอยขายทำกำไรการเก็งเงินบาทฝั่งแข็งค่าจากผู้เล่นต่างชาติ โดยในวันก่อนหน้า นักลงทุนต่างชาติเริ่มขายสุทธิบอนด์ระยะสั้นกว่า -6.3 พันล้านบาท ซึ่งอาจสะท้อนมุมมองของนักลงทุนต่างชาติที่ยังไม่รีบเข้ามาเก็งกำไรการแข็งค่าของเงินบาทและพร้อมที่จะขายทำกำไร หากเงินบาทแข็งค่าถึงระดับเป้าราคาที่ต้องการ

           นอกจากนี้ หากเงินบาทแข็งค่าใกล้ระดับ 33.10-33.20 บาทต่อดอลลาร์ ก็อาจมีแรงซื้อเงินดอลลาร์จากฝั่งผู้นำเข้าช่วยพยุงเงินบาทไม่ให้แข็งค่าไปมากได้

         มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 33.20-33.35 บาท/ดอลลาร์

        ตลาดการเงินเผชิญความผันผวนจากแรงเทขายหุ้นเทคฯ และหุ้นสไตล์ Growth อีกครั้ง หลังถ้อยแถลงของว่าที่รองประธานเฟด Lael Brainard รวมถึงบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดท่านอื่นๆ ต่างส่งสัญญาณว่าเฟดพร้อมที่จะขึ้นดอกเบี้ยในเดือนมีนาคมและเฟดจะใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นเพื่อแก้ปัญหาเงินเฟ้อ

         นอกจากนี้ แรงเทขายหุ้นเทคฯ ยังมาจากมุมมองของผู้เล่นในตลาดที่มองว่า ผลประกอบการของหุ้นกลุ่มเทคฯ อาจจะไม่ได้เติบโตโดดเด่นเมื่อเทียบกับหุ้นในกลุ่มอื่นๆ โดยเฉพาะ หุ้นในกลุ่ม Cyclical ที่จะได้รับอานิสงส์ของการฟื้นตัวเศรษฐกิจ

          ซึ่งภาพดังกล่าวยังคงหนุนให้การเปลี่ยนกลุ่มลงทุนของผู้เล่นในตลาด (Sector & Style Rotation) ยังดำเนินต่อไป ดังจะเห็นได้จากการที่ ดัชนี Dowjones ของสหรัฐฯ ที่มีสัดส่วนหุ้น Cyclical สูง ย่อตัวลงเพียง -0.49% ในขณะที่ดัชนี S&P500 และดัชนีหุ้นเทคฯ Nasdaq ปรับตัวลงกว่า -1.42% และ -2.51% ตามลำดับ

          ส่วนในฝั่งยุโรป ดัชนี STOXX50 ของยุโรป ทรงตัวจากระดับปิดวันก่อนหน้า เพราะถึงแม้ว่า ตลาดหุ้นยุโรปจะถูกกดดันจากแรงขายหุ้นกลุ่มเทคฯ นำโดยการปรับตัวขึ้นต่อเนื่องของหุ้นกลุ่มเทคฯ Adyen -6.0%, SAP -1.4% แต่โดยรวม ตลาดหุ้นยุโรปยังได้แรงหนุนจากการปรับตัวขึ้นของหุ้นกลุ่ม Cyclical อาทิ กลุ่มยานยนต์และกลุ่มการเงิน Daimler +2.7%, BNP Paribas +2.5%, BMW +1.6% ทั้งนี้ เราคงมองว่า การลงทุนในหุ้นยุโรปยังมีความน่าสนใจ จากสัดส่วนหุ้นกลุ่ม Cyclical ที่สูงและมีโอกาสได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังการระบาดของโอมิครอนสงบลง

         ส่วนทางด้านฝั่งตลาดบอนด์ แม้ว่า บรรดาเจ้าหน้าที่เฟดจะส่งสัญญาณพร้อมใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น ทว่า ภาพดังกล่าวกลับไม่ได้กดดันให้บอนด์ยีลด์ปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากเป็นสิ่งที่ผู้เล่นในตลาดรับรู้ไปพอสมควรแล้ว

         อย่างไรก็ดี ภาวะตลาดการเงินไม่กล้าเปิดรับความเสี่ยงและอยู่ในภาวะระมัดระวังตัวกลับหนุนให้ ผู้เล่นบางส่วนทยอยเข้ามาซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย ทำให้บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ย่อตัวลงเล็กน้อย 3bps สู่ระดับ 1.71% สอดคล้องกับมุมมองของเราที่มองว่า ปัจจัยการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดเป็นสิ่งที่ตลาดรับรู้ไปพอสมควรแล้ว

               ดังนั้น การปรับตัวขึ้นของบอนด์ยีลด์จะเกิดขึ้นได้ หากตลาดกล้าเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น หรือ เฟดมีการสื่อสารถึงการลดงบดุลที่ชัดเจนมากขึ้น โดยอาจเป็นการลดงบดุลในอัตราที่สูงกว่าในอดีตที่ผ่านมาในฝั่งตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์ทรงตัวเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก โดยล่าสุด ดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY Index) แกว่งตัวใกล้ระดับ 94.79 จุด โดยเรามองว่า เงินดอลลาร์ยังมีแรงกดดันจากแนวโน้มการทยอยฟื้นตัวของประเทศเศรษฐกิจหลัก

            โดยเฉพาะฝั่งยุโรป หลังสถานการณ์การระบาดในยุโรปใกล้ถึงจุดเลวร้ายสุด ซึ่งภาพดังกล่าวสะท้อนผ่านการทยอยแข็งค่าขึ้นของเงินยูโร (EUR) รวมถึง เงินปอนด์อังกฤษ (GBP) อย่างไรก็ดี เงินดอลลาร์ยังได้แรงหนุนจากภาวะระมัดระวังตัวของผู้เล่นในตลาด ทำให้ผู้เล่นบางส่วนเลือกที่จะถือครองสินทรัพย์ปลอดภัย อย่าง เงินดอลลาร์

           สำหรับวันนี้ ตลาดจะจับตาผลกระทบของการระบาดของโอมิครอนต่อการเติบโตเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยสัญญาณผลกระทบเบื้องต้นอาจสะท้อนผ่าน ยอดค้าปลีก (Retail Sales) ในเดือนธันวาคม ที่อาจหดตัว -0.1%m/m แม้ว่าจะเป็นช่วงเทศกาลที่ปกติแล้วยอดค้าปลีกควรขยายตัวได้ดี

         รวมถึงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (U of Michigan Consumer Sentiment) เดือนมกราคมที่อาจชะลอลงสู่ระดับ 70 จุด นอกจากนี้ ตลาดจะรอลุ้นรายงานผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในสหรัฐฯ โดยเฉพาะหุ้นในกลุ่ม Cyclical อาทิ กลุ่มการเงิน Wells Fargo, Citigroup, JP Morgan เป็นต้น

              ส่วนในฝั่งเอเชีย เราคาดว่า ธนาคารกลางเกาหลีใต้ (BOK) จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 1.00% ก่อน จนกว่า BOK จะมั่นใจว่าการระบาดของโอมิครอนจะไม่ส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น BOK จะสามารถกลับมาขึ้นดอกเบี้ยต่อได้ในช่วงปลายไตรมาส 1 หรือ ในไตรมาสที่ 2

            อย่างไรก็ดีในระยะสั้น ยอดการส่งออกของจีนอาจได้รับผลกระทบจากการระบาดของโอมิครอนบ้าง แต่คาดว่าความต้องการสินค้าจากทั่วโลกจะกลับมาขยายตัวดีขึ้น หลังการระบาดเริ่มสงบลง ซึ่งจะช่วยให้การส่งออกของจีนยังคงขยายตัวได้ดีและช่วยหนุนให้เศรษฐกิจจีนสามารถฟื้นตัวได้ดีขึ้น

           ทางศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า เงินบาทแข็งค่าทดสอบแนว 33.15 บาทต่อดอลลาร์ฯ ก่อนจะกลับมาปรับตัวอยู่ที่ระดับ 33.18 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในช่วงเช้าวันนี้ (9.15 น.) เทียบกับระดับปิดตลาดวันทำการก่อนหน้าที่ 33.20 บาทต่อดอลลาร์ฯ เงินบาทขยับแข็งค่าขึ้น โดยอาจจะมีอานิสงส์ต่อเนื่องจากสัญญาณเงินทุนไหลเข้าในตลาดพันธบัตรไทย

            อย่างไรก็ดีอาจต้องติดตามแรงหนุนเงินดอลลาร์ฯ ในระหว่างวันจากการคาดการณ์เกี่ยวกับแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ หลังข้อมูล PPI สหรัฐฯ ยังคงขยับขึ้น และเจ้าหน้าที่เฟดมีท่าทีสนับสนุนการขึ้นดอกเบี้ยในเดือนมี.ค. นี้

            สำหรับกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทพรุ่งนี้ คาดไว้ที่ 33.10-33.35 บาทต่อดอลลาร์ฯ ขณะที่ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ทิศทางเงินทุนของต่างชาติ สถานการณ์โควิด-19 ถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟด ยอดค้าปลีก ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีราคานำเข้า/ส่งออกเดือนธ.ค. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเบื้องต้นสำหรับเดือนม.ค.

ขอบคุณ : ฐานเศรษฐกิจ

ประกันสังคม แจ้งขายหุ้น TU จำนวน 3 ล้านหุ้น และหุ้น BCH อีก 10 ล้านหุ้น

          ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ได้รับแจ้งจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ระบุเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2565 ก.ล.ต.ได้รับแบบรายงานการได้มา/จำหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการ (แบบ 246-2) ได้เป็นรายงานการจำหน่าย หุ้นของ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ( TU )โดย สำนักงานประกันสังคม ซึ่งเป็นการจำหน่ายเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2565 จำนวนหลักทรัพย์ที่จำหน่าย 3 ล้านหุ้น คิดเป็น 0.0644% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ จำนวนหลักทรัพย์ภายหลังการจำหน่ายคิดเป็น 230,438,108 หุ้น หรือสัดส่วน 4.9501% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ

          นอกจากนี้ยังได้รับแบบรายงานการจำหน่ายหุ้น บมจ.บางกอก เชน ฮอสปิทอล (BCH) โดยสำนักงานประกันสังคม เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2565 จำนวน 10 ล้านหุ้น คิดเป็นสัดส่วน 0.401% ล่าสุดถืออยู่ 123,826,940 หุ้น คิดเป็น 4.9654%

         สำนักงานประกันสังคม รายงานสถานะกองทุนประกันสังคม ล่าสุด ณ วันที่ 30 กันยายน 2564 มีมูลค่าพอร์ต 2,274,718 ล้านบาท โดยมีผลตอบแทนจากการลงทุนที่รับรู้แล้วในปี 2564 ( ม.ค.- ก.ย.2564 ) จำนวน 45,951 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปีอยู่ที่ 3.61%

         โดยเป็นการลงทุนในประเทศ 1,892,867 ล้านบาท คิดเป็น 83.21% ลงทุนต่างประเทศ 381,851 ล้านบาท คิดเป็น 16.79% และแยกมูลค่าการลงทุนตามความเสี่ยง เป็นการลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยง 557,874 ล้านบาท สัดส่วน 24.52% หลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง 1,716,844 ล้านบาท สัดส่วน 75.48%

        ปัจจุบัน ประกันสังคม มีการลงทุนโดยถือหุ้นในบริษัทจดทะเบียน (บจ.)และกองทุนรวมอสังหา/สิทธิการเช่าอสังหา รวมทั้งสิ้น 80 แห่ง มูลค่าการลงทุน ณ วันที่ 13 ม.ค.65 ประมาณ 2.94 แสนล้านบาท

5 อันดับหลักทรัพย์ที่ประกันสังคมถือหุ้นและมีมูลค่าสูงสุดได้แก่

– PTT ถือหุ้น 2.14% มูลค่าราว 23,978 ล้านบาท
– ADVANC ถือหุ้น 3.36% มูลค่าราว 22,188 ล้านบาท
– SCC ถือหุ้น 4.01% มูลค่าราว 18,777 ล้านบาท
– SCB ถือหุ้น 3.54% มูลค่าราว 15,163 ล้านบาท
– BDMS ถือหุ้น 4.08% มูลค่าราว 14,652 ล้านบาท

ขอบคุณ : ฐานเศรษฐกิจ

ข่าวหุ้นล่าสุด ข่าวเด่นวันนี้ วันที่ 14 ธันวาคม 2564

หุ้นวันนี้

Categories
ข่าวหุ้น

ข่าว หุ้น ธุรกิจ วันที่ 13 มกราคม 2565

ข่าวหุ้น เศรษฐกิจ การเงิน การลงทุน Goo Invest Trade

ข่าวหุ้นล่าสุด ข่าวเด่นวันนี้ วันที่ 13 มกราคม 2565

หุ้นเด่นวันนี้

  • WICE (เคทีบีเอสที) เป้าเชิงกลยุทธ์ 25.50 บาท คาดกำไรผลักดันราคาหุ้น, Outlook ปี 65 สดใส แนวโน้มราคาหุ้นปรับตัวขึ้นด้วยกำไร พื้นฐานแข็งแกร่ง Outlook สวย การขนส่งทางบก,ราง,เรือ,อากาศ เติบโตต่อรับเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัว ธุรกิจขนส่งข้ามพรมแดนจะเด่น เสริมด้วยธุรกิจขนส่งทางรางที่กำลังจะเริ่มต้น H2/65 เตรียมนำ ETL (ขนส่งข้ามพรมแดน) เข้าตลาดหุ้น ประเมินกำไรสุทธิปี 64-65 ที่ 524 ลบ. และ 682 ลบ. +161%YoY, +30%YoY ตามลำดับ
  • BANPU (เอเชียเวลท์) “ซื้อ” เป้า 14 บาท แนวโน้มกำไร Q4/64 ยังเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งจาก Q3/64 อิงตามราคาถ่านหินในตลาดโลกที่สูงขึ้น และแนวโน้ม Q1/65 เติบโตต่อเนื่องหลังราคาถ่านหินพลิกกลับมาฟื้นตัว และล่าสุดปรับขึ้นสู่ระดับ 203$/ton เพิ่มขึ้น 19% เมื่อเทียบกับราคา ณ สิ้นปี 64 ที่ 170$/ton
  • WINMED (ฟินันเซีย ไซรัส) “ซื้อ” เป้าห 7.80 บาท คาดกำไรปกติ Q4/64 ทยอยฟื้นตัวตามการ Reopening ในส่วนของผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเลือดและสุขภาพสตรี และคาดหนุนทั้งปี 2021 +16% Y-Y โมเมนตัมกำไรจะเร่งตัวโดยระยะสั้นได้แรงหนุนจากการเปิดแล็บตรวจ RT-PCR และขาย ATK COVID-19 ส่วนธุรกิจหลักกลับมาเติบโตเร่งตัว ส่วนการเปิดแล็บตรวจเชื้อ HPV และ STD รวมถึงแล็บสำหรับการผลิตยาหนุนการเติบโตระยะยาว เราคาดกำไรปี 65-66 +91% Y-Y และ +52% Y-Y
  • APURE-W3 เข้าซื้อขายวันแรกวันนี้ (13 ม.ค.)จำนวนหน่วยใบสำคัญแสดงสิทธิที่เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน 479,131,206 หน่วย อัตราการใช้สิทธิ 1 : 1 ราคาการใช้สิทธิ 7.00 บาทต่อหุ้น อายุใบสำคัญแสดงสิทธิ 3 ปี นับจากวันที่ออกใบสำคัญแสดงสิทธิ (28 ธ.ค.64) วันใช้สิทธิครั้งแรก 31 มี.ค.65 วันใช้สิทธิครั้งสุดท้าย 27 ธ.ค.67

ขอบคุณ :  สำนักข่าวอินโฟเควสท์ 

ราคาทองวันนี้ ปรับขึ้น 50 บาท

บิตคอยน์วันนี้ ขยับขึ้น 2.73%

           ราคาบิตคอยน์วันนี้ 13 ม.ค. 65 ขยับขึ้น +2.73% ในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา ราคาอยู่ที่ 43,900.30 เหรียญสหรัฐ หรือราว 1,460,519.08 บาท มูลค่าซื้อขายรวม 32.84 พันล้านเหรียญสหรัฐ ตามข้อมูลล่าสุด เมื่อเวลา 6.58 น. ที่ผ่านมา

           สำหรับความเคลื่อนไหวของราคาเหรียญดิจิทัลคริปโทเคอร์เรนซีชนิดอื่นๆ Ethereum ขยับขึ้น 4.06% Binance Coin ดีดขึ้น 5.1% และ Dogecoin ดีดขึ้น 6.89% ในช่วง 24 ชั่วโมง

        สรุปราคาเหรียญคริปโทเคอร์เรนซี

  • Bitcoin (BTC) ราคา 43,900.30 เหรียญสหรัฐ เปลี่ยนแปลง +2.73%
  •  Ethereum (ETH) ราคา 3,369.32 เหรียญสหรัฐ เปลี่ยนแปลง +4.06%
  • BNB (BNB) ราคา 487.10 เหรียญสหรัฐ เปลี่ยนแปลง +5.10%
  • Tether (USDT) ราคา 1.00 เหรียญสหรัฐ เปลี่ยนแปลง +0.01%
  • Solana (SOL) ราคา 151.50 เหรียญสหรัฐ เปลี่ยนแปลง +8.05%
    6. Avalanche (AVAX) ราคา 96.06 เหรียญสหรัฐ เปลี่ยนแปลง +7.26%
  •  Cardano (ADA) ราคา 1.31 เหรียญสหรัฐ เปลี่ยนแปลง +10.03%
  • XRP (XRP) ราคา 0.80 เหรียญสหรัฐ เปลี่ยนแปลง +3.69%
  • Terra (LUNA) ราคา 82.06 เหรียญสหรัฐ เปลี่ยนแปลง +11.62%
  •  Polkadot (DOT) ราคา 27.31 เหรียญสหรัฐ เปลี่ยนแปลง +6.89%

หมายเหตุ : ข้อมูลข้างต้นอาจมีความคลาดเคลื่อนและไม่ควรใช้เพื่อการตัดสินใจลงทุนหรือซื้อขาย ผู้อ่านควรตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ทาง www.sec.or.th

ขอบคุณ :  ประชาชาติธุรกิจ

 

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท 33.26บาท/ดอลลาร์

        นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน ธนาคารกรุงไทยระบุว่า แม้เงินบาทมีโอกาสแข็งค่าขึ้น แต่จะไม่แข็งค่าไปมากนัก เพราะถึงแม้ว่า เงินบาทจะได้แรงหนุนฝั่งแข็งค่าจากการย่อตัวลงของเงินดอลลาร์และโฟลว์ขายทำกำไรทองคำ แต่ แรงกดดันฝั่งอ่อนค่ายังคงเป็นปัญหาการระบาดของโอมิครอนในประเทศที่กดดันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

       โดยเฉพาะการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ทำให้ การแข็งค่าขึ้นจนหลุดระดับ 33.00 บาทต่อดอลลาร์นั้น ต้องอาศัยฟันด์โฟลว์จากนักลงทุนต่างชาติพอสมควร อีกทั้ง ช่วง 2 วันที่ผ่านมา เราเริ่มเห็นว่า โฟลว์ซื้อสุทธิบอนด์ระยะสั้นจากนักลงทุนต่างชาติเริ่มลดลง ซึ่งอาจสะท้อนมุมมองของนักลงทุนต่างชาติที่ยังไม่รีบเข้ามาเก็งกำไรการแข็งค่าของเงินบาท และผู้เล่นต่างชาติบางส่วนอาจรอจังหวะเงินบาทอ่อนค่า เพื่อเพิ่มสถานะการถือครอง ขณะที่หากเงินบาทแข็งค่าถึงระดับเป้าราคาที่ต้องการ ก็อาจเห็นการทยอยขายทำกำไรของผู้เล่นต่างชาติได้

           นอกจากนี้ หากเงินบาทแข็งค่าใกล้ระดับ 33.10-33.20 บาทต่อดอลลาร์ ก็อาจมีแรงซื้อเงินดอลลาร์จากฝั่งผู้นำเข้าช่วยพยุงเงินบาทไม่ให้แข็งค่าไปมากได้

    กรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 33.20-33.40 บาท/ดอลลาร์

     ผู้เล่นในตลาดการเงินเดินหน้าทยอยเปิดรับความเสี่ยงต่อ หลังอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของสหรัฐฯ ในเดือนธันวาคมเร่งตัวขึ้นแตะระดับ 7.0% ตามคาด และยิ่งหนุนให้เฟดสามารถขึ้นดอกเบี้ยได้ตั้งแต่การประชุมในเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นสิ่งที่ตลาดรับรู้ไปแล้วพอสมควร

        ดังนั้น ผู้เล่นในตลาดจึงไม่ได้กังวลต่อแนวโน้มการเร่งตัวขึ้นของเงินเฟ้อแต่อย่างใด นอกจากนี้ ถ้อยแถลงของว่าที่รองประธานเฟด Lael Brainard และเจ้าหน้าที่เฟดท่านอื่นๆ ยังคงออกมาสอดคล้องกับประธานเฟดที่ได้ระบุก่อนหน้าว่า เฟดพร้อมจะขึ้นดอกเบี้ยเพื่อควบคุมปัญหาเงินเฟ้อ

          การทยอยเปิดรับความเสี่ยงของผู้เล่นในตลาดจะเห็นได้ชัดจากแรงซื้อหุ้นกลุ่มเทคฯและหุ้นสไตล์ Growth ที่ย่อตัวลงหนักในช่วงที่ผ่านมา หนุนให้ในฝั่งสหรัฐฯ ดัชนี S&P500 ปิดตลาด +0.28% ส่วนดัชนีหุ้นเทคฯ Nasdaq สามารถปรับตัวขึ้นราว +0.23%

       ส่วนในฝั่งยุโรป ดัชนี STOXX50 ของยุโรป เดินหน้าปรับตัวขึ้นเกือบ +0.8% นำโดยการปรับตัวขึ้นต่อเนื่องของหุ้นกลุ่มเทคฯ อาทิ ASML +3.1%, Adyen +1.4% นอกจากนี้ ตลาดหุ้นยุโรปยังได้แรงหนุนจากการปรับตัวขึ้นของหุ้นกลุ่ม Cyclical

        อาทิ กลุ่มพลังงานและกลุ่มการเงิน Total Energies +3.1%, Intesa Sanpaolo +2.6% ท่ามกลางมุมมองของผู้เล่นในตลาดที่เริ่มประเมินว่า ปัญหาการระบาดของโอมิครอนในยุโรปอาจใกล้ถึงจุดเลวร้ายสุดและเศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นตัวได้ดี

            ส่วนทางด้านฝั่งตลาดบอนด์ ผู้เล่นในตลาดยังไม่มีการปรับสถานะถือครองบอนด์ระยะยาวที่ชัดเจน หลังจากที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปสหรัฐฯ ล่าสุดยังคงย้ำโอกาสที่เฟดจะสามารถขึ้นดอกเบี้ยได้ในเดือนมีนาคม ทำให้ บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ยังคงทรงตัวที่ระดับ 1.75%

         ทั้งนี้ เรามองว่า ปัจจัยการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดเป็นสิ่งที่ตลาดรับรู้ไปพอสมควรแล้ว ดังนั้น การปรับตัวขึ้นของบอนด์ยีลด์จะเกิดขึ้นได้ หากตลาดกล้าเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น หรือ เฟดมีการสื่อสารถึงการลดงบดุลที่ชัดเจนมากขึ้น โดยอาจเป็นการลดงบดุลในอัตราที่สูงกว่าในอดีตที่ผ่านมา ซึ่งเราคาดว่า แนวโน้มดังกล่าวอาจช่วยหนุนให้บอนด์ยีลด์ระยะยาวสหรัฐฯ รวมถึงทั่วโลก ทยอยปรับตัวสูงขึ้นได้

        ในฝั่งตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์พลิกกลับมาอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก โดยล่าสุด ดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY Index) ปรับตัวลงมาใกล้ระดับ 94.92 จุด กดดันโดยภาวะตลาดเปิดรับความเสี่ยงและรายงานเงินเฟ้อทั่วไปสหรัฐฯ ที่ไม่ได้ออกมาผิดจากที่ตลาดคาดการณ์ไว้และไม่ได้ส่งผลต่อมุมมองของผู้เล่นในตลาดที่ได้ประเมินว่า เฟดอาจจะขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้ราว 3-4 ครั้ง อย่างไรก็ดี การอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ได้หนุนให้สกุลเงินหลักต่างแข็งค่าขึ้น อาทิ เงินยูโร (EUR) แข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 1.144 ดอลลาร์ต่อยูโร ส่วนเงินปอนด์อังกฤษ (GBP) ก็แข็งค่าขึ้นแตะระดับ 1.37 ดอลลาร์ต่อปอนด์ ซึ่งทั้งสองสกุลเงินยังได้แรงหนุนจากความหวังการฟื้นตัวเศรษฐกิจ หลังสถานการณ์การระบาดของโอมิครอนใกล้ถึงจุดเลวร้ายที่สุด

        นอกจากนี้ การอ่อนค่าของเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ที่ทรงตัว ณ ระดับเดิมต่อ ได้หนุนให้ ราคาทองคำสามารถปรับตัวขึ้นมาแตะระดับ 1,825 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ซึ่งเราคาดว่า การปรับตัวขึ้นของราคาทองคำอาจหนุนให้ผู้เล่นบางส่วนเข้ามาทยอยขายทำกำไรได้ ซึ่งโฟลว์ขายทำกำไรทองคำดังกล่าวจะสามารถช่วยหนุนให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นได้

          สำหรับวันนี้ ตลาดจะจับตาถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด อาทิ Thomas Barkin, Patrick Harker, Charles Evans และที่สำคัญตลาดจะจับตาการแถลงต่อคณะกรรมาธิการ Senate Banking ในกระบวนการสรรหาประธานและรองประธานเฟด (Confirmation Hearing) ของว่าที่รองประธานเฟด Lael Brainard ว่าจะมีมุมมองต่อภาวะตลาดแรงงานและเงินเฟ้ออย่างไร รวมถึงมุมมองต่อการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินเฟดในอนาคตเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจ

         ส่วนในฝั่งไทย เราคงมองว่า ผลกระทบของการระบาดระลอกใหม่จะไม่กดดันให้เศรษฐกิจซบเซาหนัก เนื่องจากรัฐบาลจะพยายามเลี่ยงการใช้มาตรการ Lockdown ที่เข้มงวด โดยอาศัยการเร่งแจกจ่ายวัคซีนเพื่อลดความเสี่ยงต่อระบบสาธารณสุข อย่างไรก็ดี แม้ผลกระทบต่อเศรษฐกิจอาจไม่มากนัก แต่การระบาดของโอมิครอนอาจกดดันความเชื่อมั่นของผู้บริโภค (Consumer Confidence) ในระยะสั้นได้ ซึ่งอาจสะท้อนผ่านดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนธันวาคมที่อาจย่อตัวลงเล็กน้อยและอาจปรับตัวลดลงมากขึ้น จนกว่าสถานการณ์การระบาดจะมีแนวโน้มดีขึ้น

         ทางศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่าเงินบาทปรับตัวอยู่ที่ระดับประมาณ 33.27-33.30 บาทต่อดอลลาร์ฯ (9.45 น.) แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับระดับปิดตลาดวันทำการก่อนหน้าที่ 33.37 บาทต่อดอลลาร์ฯ เงินบาทขยับแข็งค่าขึ้น ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ เผชิญแรงขายหลังจากที่ข้อมูล CPI เดือน ธ.ค. 64 ของสหรัฐฯ ออกมาใกล้เคียงกับตัวเลขคาดการณ์ของตลาด โดยเพิ่มขึ้นแตะ 7% YoY สูงสุดในรอบ 39 ปีครึ่ง ซึ่งทำให้ตลาดประเมินว่า แม้เฟดจะเริ่มขึ้นดอกเบี้ยเพื่อคุมเข้มนโยบายการเงินในปีนี้ แต่ก็จะสอดคล้องกับที่เคยให้สัญญาณไว้ก่อนหน้านี้

            สำหรับกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ คาดไว้ที่ 33.20-33.40 บาทต่อดอลลาร์ฯ ขณะที่ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ทิศทางเงินทุนของต่างชาติ สถานการณ์โควิด-19 ถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟด ดัชนีราคาผู้ผลิตเดือนธ.ค. และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ

 

ขอบคุณ : ฐานเศรษฐกิจ

ฮ่องกงเตรียมออกกฎคุมเข้มเทรดคริปโท

           วันที่ 13 ม.ค. 65 บลูมเบิร์กรายงานว่า ธนาคารกลางฮ่องกงเปิดเผยว่ากำลังอยู่ในขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อเสนอแนะ และความคิดเห็นจากหลายภาคส่วนเกี่ยวกับการจำแนกธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับคริปโทเคอร์เรนซี เพื่อออกข้อกำหนดกฎระเบียบสำหรับสินทรัพย์ดิจิทัลโดยเฉพาะเหรียญในกลุ่ม stablecoins

         รายงานระบุว่า ธนาคารกลางโดยพฤตินัยของฮ่องกงมีแผนเผยความชัดเจนเกี่ยวกับข้อบังคับด้านสินทรัพย์คริปโทฯ ภายในเดือนกรกฎาคมนี้ เพื่อให้ทันการแข่งขันกับสิงคโปร์ซึ่งมีแผนเป็นศูนย์กลางการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียเช่นกัน

        บลูมเบิร์กอ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องในธนาคารกลางฮ่องกงว่า บรรดาเจ้าหน้าที่อาวุโสในหน่วยงานด้านการเงินของฮ่องกงต่างกังวลเกี่ยวกับการเติบโตที่รวดเร็วของการลงทุนคริปโทฯ ที่เพิ่มมากขึ้นทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ โดยเชื่อว่าในอนาคตอาจกลายเป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงต่อระบบการเงินในปัจจุบัน หากอุตสาหกรรมนี้ถูกปล่อยทิ้งไว้โดยไม่มีข้อบังคับใด ๆ

          ดังนั้นเป้าหมายในตอนนี้คือการเตรียมแผนกำกับดูแลสำหรับใช้งานในปี 67 โดยกฎระเบียบดังกล่าวยังคลอบคลุมถึงถึงผลประโยชน์ของนักลงทุนอีกด้วย อาทิ ป้องกันการหลอกลวง ซึ่งเป็นเหตุการณ์ล่าสุดที่ผู้ใช้งานไม่สามารถถอนเงินออกจากกระดานเทรดได้

         โดยก่อนหน้านี้เมื่อ 7 ม.ค. 65 มีบรรดานักเทรดหลายรายแจ้งต่อทางการฮ่องกงว่า Coinsupe กระดานเทรดคริปโตฯ ที่มีฐานอยู่ที่ฮ่องกงและได้รับการสนับสนุนจากนักลงทุนสถาบันจำนวนมากเกิดปัญหาไม่สามารถย้ายเงินทุนออกจากแพลตฟอร์มได้ตั้งพฤศจิกายนปีทีผ่านมา โดยผู้ใช้งานอย่างน้อย 7 รายได้ไปยื่นเรื่องเพื่อดำเนินการติดตามเงินจำนวนดังกล่าวของพวกเขาจากตำรวจ แต่ก็ไม่ได้รับความคืบหน้าใด ๆ

อบคุณ : ฐานเศรษฐกิจ

ข่าวหุ้นล่าสุด ข่าวเด่นวันนี้ วันที่ 14 ธันวาคม 2564

หุ้นวันนี้

Categories
ข่าวหุ้น

ข่าว หุ้น ธุรกิจ วันที่ 11 มกราคม 2565

ข่าวหุ้น เศรษฐกิจ การเงิน การลงทุน Goo Invest Trade

ข่าวหุ้นล่าสุด ข่าวเด่นวันนี้ วันที่ 11 มกราคม 2565

หุ้นเด่นวันนี้

  • TFG (ฟินันเซีย ไซรัส)”ซื้อ” ปรับเป้าหมายขึ้นเป็น 6 บาท เริ่มเห็นผลบวกราคาหมูปรับขึ้นแรงตั้งแต่ Q4/64 คาดจะพลิกมีกำไรได้อีกครั้ง หลังขาดทุนใน Q3/64 และจะได้ผลบวกเต็มที่ใน Q1/65 รวมถึงราคาไก่ที่ปรับขึ้นตาม และหากรัฐลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์จะยิ่งเป็นบวกต่อต้นทุน ปรับสมมติฐานราคาขายหมูหน้าฟาร์มปี 65 จาก 79 บาท/กก.เป็น 95 บาท/กก.มองว่าโรคระบาดจะทำให้ราคาหมูยืนสูงนานจากปัจจุบันราคาเฉลี่ย 104 บาท/กก.จึงปรับเพิ่มกำไรปีนี้ขึ้นเป็น 2.27 พันลบ. +300% Y-Y
  • PSL (เคทีบีเอสที) เป้าเชิงกลยุทธ์ 21.50 บาท โควิดระลอกใหม่ใหม่-จีนคุมท่าเรืออาจทำให้ค่าระวางกลับมาสูงอีกครั้ง ค่าระวางเรือปี 65 มีโอกาสกลับมาสูงหลังการระบาดระลอกใหม่เกิดขึ้นทั่วโลก โดยจีนมีโอกาสใช้นโยบายคุมโควิดและเข้มงวดกับท่าเรือ ปริมาณการขนส่งทั่วโลกปีนี้เพิ่มขึ้นรับเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว สถานการณ์ท่าเรือยังไม่ปกติคงอยู่ในภาวะ Congestion เรือขาด ประเมินกำไรสุทธิปี 64-65 ที่ 3.83 พัน ลบ. และ 2.64 พัน ลบ.พลิกจากขาดทุนในปี 63 ชะลอตัว -31%YoY ในปี 65 ตามลำดับ
  • ASIAN (คิงส์ฟอร์ด) “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย IAA Consensus 22.60 บาท ธุรกิจหลักอาหารสัตว์เลี้ยงยังเป็นหนึ่งในธุรกิจที่รับความผันผวนได้ดีจากปัจจัยโควิด โดยกำไรสุทธิ Q3/64 ที่ 271 ลบ. +34.0%YoY,-7.6%QoQ ยังเติบโตได้ดีจากยอดขายอาหารสัตว์เลี้ยง ขณะที่ช่วง Q4/64 ยังมีแรงหนุนเพิ่มเติมจากเงินบาทอ่อน (รายได้ส่งออกราว 70%) ส่วนช่วงถัดๆไปยังมีความน่าสนใจจากภาพรวมธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงโลกเติบโตแข็งแกร่ง รวมถึงแผนนำ เอเชี่ยน อะไลอันซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล (AAI) เข้าตลาดหุ้นปีนี้ ทั้งนี้ตลาดคาดกำไรสุทธิจะเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง และ EPS ปี 65 จะขยับขึ้นมาที่ 1.42 บาท/หุ้น

ขอบคุณ :  สำนักข่าวอินโฟเควสท์ 

ราคาทองวันนี้คงที่

บิตคอยน์วันนี้ปรับลง 0.04% 

            ราคาบิตคอยน์วันนี้ 11  ม.ค.65 ปรับลง -0.04% เมื่อเทียบกับราคาเมื่อ 24 ชั่วโมง อยู่ที่ 41,833.60 เหรียญสหรัฐ หรือราว 1,406,780.30 บาท มูลค่าซื้อขายรวม 32.09 พันล้านเหรียญสหรัฐ ตามข้อมูลอัพเดต เมื่อเวลา 6.59 น. ของวันนี้

         ขณะที่เหรียญดิจิทัลคริปโทเคอร์เรนซีชนิดอื่นๆ Ethereum ปรับลง 2.11% Binance Coin ขยับขึ้น .01% และ Dogecoin ปรับลง 3.33% ในช่วง 24 ชั่วโมง

       สรุปราคาเหรียญคริปโทเคอร์เรนซี

1. Bitcoin (BTC) ราคา 41,833.60 เหรียญสหรัฐ เปลี่ยนแปลง -0.04%
2. Ethereum (ETH) ราคา 3,083.80 เหรียญสหรัฐ เปลี่ยนแปลง -2.11%
3. Tether (USDT) ราคา 01.00 เหรียญสหรัฐ เปลี่ยนแปลง +0.01%
4. BNB (BNB) ราคา 424.90 เหรียญสหรัฐ เปลี่ยนแปลง -3.12%
5. USD Coin (USDC) ราคา 01.00 เหรียญสหรัฐ เปลี่ยนแปลง -0.01%
6. Avalanche (AVAX) ราคา 84.48 เหรียญสหรัฐ เปลี่ยนแปลง -5.46%
7. Cardano (ADA) ราคา 1.12 เหรียญสหรัฐ เปลี่ยนแปลง -3.86%
8. XRP (XRP) ราคา .74 เหรียญสหรัฐ เปลี่ยนแปลง -1.72%
9. Terra (LUNA) ราคา 69.46 เหรียญสหรัฐ เปลี่ยนแปลง -6.69%
10. Polkadot (DOT) ราคา 23.78 เหรียญสหรัฐ เปลี่ยนแปลง -3.33%

หมายเหตุ : ข้อมูลข้างต้นอาจมีความคลาดเคลื่อนและไม่ควรใช้เพื่อการตัดสินใจลงทุนหรือซื้อขาย ผู้อ่านควรตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ทาง www.sec.or.th

 

ขอบคุณ :  ประชาชาติธุรกิจ

 

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท ทรงตัว 33.62 บาท/ดอลลาร์

               อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 33.62 บาทต่อดอลลาร์ทรงตัวไม่เปลี่ยนแปลงจากระดับปิดวันก่อนหน้า

                นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน ธนาคารกรุงไทย ระบุว่า เงินบาทยังคงมีแนวโน้มผันผวนในระหว่างวัน โดยแรงกดดันด้านอ่อนค่ายังคงเป็นการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์ ตามมุมมองของผู้เล่นในตลาดที่เชื่อว่าเฟดอาจดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดได้เร็ว และปัญหาการระบาดของโอมิครอนในประเทศที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น

                    อย่างไรก็ดี เรามองว่า เงินบาทจะไม่อ่อนค่าไปมากนัก เนื่องจาก นักลงทุนต่างชาติยังไม่ได้ส่งสัญญาณว่ามีความกังวลต่อสถานการณ์การระบาดมาก ดังจะเห็นได้จากการที่นักลงทุนต่างชาติยังคงเดินหน้าซื้อสินทรัพย์ไทยสุทธิอย่างต่อเนื่อง

             ที่น่าสนใจคือ นักลงทุนต่างชาติได้ซื้อบอนด์ระยะสั้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ซึ่งอาจสะท้อนภาพการเก็งกำไรเงินบาทฝั่งแข็งค่า โดยอาจมองได้ว่า นักลงทุนต่างชาติได้รอจังหวะให้เงินบาทอ่อนค่าลง เพื่อรอเข้าเก็งกำไรเงินบาทฝั่งแข็งค่า

               อนึ่ง ผู้ส่งออกเริ่มมีการขยับออเดอร์และทำให้โซนแนวต้านขยับมาอยู่ที่โซนใกล้ระดับ 33.75 บาทต่อดอลลาร์ ส่วนแนวรับสำคัญ ยังอยู่ในช่วง 33.30-33.50 บาทต่อดอลลาร์มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 33.50-33.70 บาท/ดอลลาร์

              ผู้เล่นในตลาดยังไม่กล้าเปิดรับความเสี่ยงมากนักจากความกังวลแนวโน้มเฟดอาจใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดได้เร็วขึ้นกว่าคาด ซึ่งล่าสุดเริ่มมีนักวิเคราะห์ของทาง Goldman Sachs มองว่า เฟดอาจขึ้นดอกเบี้ยได้ถึง 4 ครั้งในปีนี้และอาจเริ่มลดงบดุลได้เร็วกว่าที่ตลาดประเมินไว้ ทั้งนี้ แม้ว่าความกังวลแนวโน้มเฟดใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น จะกดดันให้สินทรัพย์เสี่ยงโดยเฉพาะหุ้นสไตล์ Growth หรือ หุ้นกลุ่มเทคฯ ปรับฐานหนัก ทว่ายังมีผู้เล่นบางส่วนรอซื้อสินทรัพย์ดังกล่าวตอนย่อตัว (Buy on Dip) หนุนให้ ดัชนีหุ้นเทคฯ Nasdaq สามารถปิดตลาด +0.05% (จากที่ลงลึกมากกว่า -2% ในระหว่างวัน) ส่วนดัชนี S&P 500 ย่อตัวลง -0.14%

              ทั้งนี้ เราคงมองว่า ในระยะสั้น ตลาดการเงินยังอยู่ในภาวะผันผวนสูงและมีโอกาสย่อตัวลงต่อได้ หากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ อย่าง เงินเฟ้อทั่วไป รวมถึง ถ้อยแถลงของประธานเฟดและบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดได้สนับสนุนการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นของเฟดได้เร็ว ซึ่งในภาวะดังกล่าวอาจช่วยหนุนให้ หุ้นในกลุ่ม Cyclical อาทิ กลุ่มการเงิน, กลุ่มพลังงาน หรือ หุ้นสไตล์ Value สามารถปรับตัวขึ้นได้ดีกว่า หุ้นในกลุ่มเทคฯ หรือ หุ้นสไตล์ Growth

              ส่วนในฝั่งยุโรป ดัชนี STOXX50 ของยุโรป ย่อตัวลงกว่า -1.54% ตาม sentiment ของตลาดโลกที่ยังไม่กล้าเปิดรับความเสี่ยงนอกจากนี้ ตลาดหุ้นยุโรปยังถูกกดดันจากปรับตัวลงหนักของหุ้นกลุ่มเทคฯ ซึ่งอ่อนไหวต่อแนวโน้มการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น อาทิ Adyen -8.4%, ASML -6.4%, Infineon Tech. -4.0% ทั้งนี้ เราคงมองว่า จังหวะการปรับฐานของหุ้นยุโรปอาจเปิดโอกาสในการเข้าสะสม หรือ Buy on Dip

                    เนื่องจากหุ้นยุโรปยังมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นต่อได้ โดยเฉพาะหุ้นกลุ่ม Cyclical หรือ หุ้นในธีม Reopening เนื่องจากภาพเศรษฐกิจยุโรปมีแนวโน้มกลับมาฟื้นตัวได้ดี หากสถานการณ์การระบาดของโอมิครอนเริ่มสงบลง อีกทั้ง นโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ก็ยังมีความผ่อนคลายมากกว่าเฟด

                   ส่วนทางด้านฝั่งตลาดบอนด์ มุมมองของผู้เล่นในตลาดที่เริ่มคาดว่า เฟดอาจขึ้นดอกเบี้ยและปรับลดงบดุลได้เร็วกว่าคาด ได้ส่งผลให้ บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ เดินหน้าปรับตัวขึ้นเหนือระดับ 1.80% ก่อนที่จะย่อตัวลงเล็กน้อยจากภาวะปิดรับความเสี่ยงของตลาดสู่ระดับ 1.77% นอกจากนี้ การปรับตัวขึ้นของบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ยังได้ส่งผลให้บอนด์ยีลด์ 10 ปี ทั่วโลก ต่างปรับตัวขึ้นเช่นกัน

                     ทั้งนี้ เรามองว่า ปัจจัยที่จะหนุนให้บอนด์ยีลด์ทั้งระยะสั้นและระยะยาวปรับตัวขึ้นต่อได้จะเป็นประเด็นการปรับลดงบดุลของเฟด ว่าจะสามารถเริ่มดำเนินการได้ในช่วงไหนและแผนการลดงบดุลเป็นอย่างไร (เฟดจะลดงบดุลโดยการปล่อยให้ตราสารครบกำหนดแบบในอดีต หรือ เฟดเลือกที่จะขายตราสารที่ถือครองอยู่) ซึ่งต้องติดตามความชัดเจนของประเด็นดังกล่าวผ่านถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดในสัปดาห์นี้

                      ในฝั่งตลาดค่าเงิน แนวโน้มเฟดใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดเร็วขึ้น และสภาวะตลาดที่ยังไม่กล้าเปิดรับความเสี่ยง ได้หนุนให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก โดยล่าสุดดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY Index) ปรับตัวขึ้นมาใกล้ระดับ 96 จุด อย่างไรก็ดี ราคาทองคำยังสามารถรีบาวด์ขึ้นมาแตะระดับ 1,804 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หลังจากที่ราคาทองคำย่อตัวต่อเนื่องสู่แนวรับสำคัญ จากการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์และการปรับตัวขึ้นของบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ในช่วงที่ผ่านมา

                   อย่างไรก็ดี เรามองว่า โอกาสที่ราคาทองคำจะปรับตัวขึ้นไปมากนัก คงเป็นไปได้ยาก เพราะเฟดมีแนวโน้มเดินหน้าใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น ทำให้ราคาทองคำมีแนวโน้มแกว่งตัวในกรอบ ซึ่งผู้เล่นอาจต้องรอจังหวะการย่อตัว เพื่อเข้าซื้อรอการรีบาวด์

                     สำหรับวันนี้ ตลาดจะรอติดตามถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดและที่สำคัญตลาดจะจับตาการแถลงต่อคณะกรรมาธิการ Senate Banking ในกระบวนการสรรหาประธานและรองประธานเฟด (Confirmation Hearing) ของว่าที่ประธานเฟดสมัยที่ 2 Jerome Powell และ ว่าที่รองประธานเฟด Lael Brainard ว่าทั้งสองท่านจะมีมุมมองต่อภาวะตลาดแรงงานและเงินเฟ้ออย่างไร

                      รวมถึงมุมมองต่อการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินเฟดในอนาคตเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจ ทั้งนี้ เรามองว่า ทั้งสองท่าน รวมถึงเจ้าหน้าที่เฟดบางส่วน อาจรอประเมินผลกระทบของการระบาดของโอมิครอนต่อการเติบโตเศรษฐกิจ ทำให้ทั้งมีความเป็นไปได้ว่าทั้ง Jerome Powell และ Lael Brainard อาจไม่ได้ส่งสัญญาณที่ชัดเจนว่าเฟดอาจจะเร่งใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น ทว่า มุมมองของว่าที่ประธานเฟดและว่าที่รองประธานที่อาจเชื่อมั่นต่อแนวโน้มการเติบโตเศรษฐกิจสหรัฐฯ หรือ มุมมองที่ระมัดระวังต่อแนวโน้มเงินเฟ้อ จะทำให้ผู้เล่นในตลาดยังคงเชื่อว่า เฟดอาจเริ่มขึ้นดอกเบี้ยได้ตั้งแต่เดือนมี.ค.นี้

ขอบคุณ : ฐานเศรษฐกิจ

ยันเก็บภาษีปีนี้แน่ ขาขายหุ้น 0.1% รมว.คลัง มั่นใจไม่กระทบตลาดหุ้นไทย

         นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า กรมสรรพากรอยู่ระหว่างศึกษาการจัดเก็บภาษีจากการขายหุ้น ตามนโยบายของกระทรวงการคลัง หลังจากที่ได้ยกเว้นการจัดเก็บมานาน 30 ปี แต่คงต้องพิจารณาแนวทางการจัดเก็บให้มีความเหมาะสมที่สุด โดยธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญมาช่วยทำการศึกษาแนวทางเพื่อให้มีรูปแบบการจัดเก็บภาษีที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล

         ปัจจุบันการจัดเก็บภาษีหุ้นในต่างประเทศมี 2 รูปแบบ คือ

        1. เก็บจากส่วนต่างของกำไร (Capital Gain) ซึ่งมีข้อดี แต่การดำเนินการยุ่งยาก เป็นภาระกับผู้เสียภาษีมากกว่า หากกรมสรรพากรดำเนินการรูปแบบนี้จะต้องออกระเบียบและแก้กฎหมายใหม่ 

         2.เก็บจากธุรกรรมการซื้อขายหุ้น ซึ่งกลุ่มประเทศอาเซียนส่วนใหญ่จัดเก็บวิธีการนี้

         สำหรับแนวทางการจัดเก็บภาษีจากธุรกรรมการซื้อขายหุ้นน่าจะเหมาะสมกับประเทศไทยมากที่สุด โดยในต่างประเทศจัดเก็บทั้ง 2 ขา ทั้งขาขายและขาซื้อ แต่ในส่วนของไทยศึกษาการจัดเก็บจากการขายหุ้นฝั่งเดียวเท่านั้น ซึ่งภาระไม่ได้มาก อัตราจัดเก็บที่ 0.1% เท่ากับหากมีการขายหุ้นมูลค่า 1 ล้านบาท จะเสียภาษีเพียง 1,000 บาทเท่านั้น

      กรมสรรพากรจะเสนอแนวทางการศึกษาทั้งหมดให้ รมว.คลัง พิจารณาในเร็ว ๆ นี้ ซึ่งการจะเริ่มเก็บภาษีต้องดูสภาพตลาดหุ้นด้วย ต้องยอมรับว่าแม้จะมีการระบาดของไวรัสโควิด-19 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา แต่ตลาดหุ้นไทยก็มีดัชนีเพิ่มขึ้น และมูลค่าการซื้อขายก็เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน ดังนั้นมองว่าหากมีการจัดเก็บภาษีจากการขายหุ้นในปีนี้ ก็ไม่น่าจะส่งผลกระทบกับตลาดหุ้นไทยมากนัก

        การเก็บภาษีหุ้นไม่ได้มุ่งหวังเรื่องของรายได้เพียงอย่างเดียว แต่เป็นการสร้างความเป็นธรรมในระบบภาษีด้วย เพราะเป็นการเสียในรูปแบบภาษีธุรกิจเฉพาะ ซึ่งปัจจุบันธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจประกัน การซื้อขายอสังหาริมทรัยพ์ ก็ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะทั้งหมด ไม่ได้รับการยกเว้นแต่อย่างใด ซึ่งภาษีหุ้นก็อยู่ในหมวดธุรกิจเฉพาะที่จะต้องเสียภาษีในอัตรา 0.1% เพียงแต่ที่ผ่านมาได้รับการยกเว้นมานานถึง 30 ปี

        นายไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) เปิดเผยว่า สัปดาห์หน้าคณะกรรมการ FETCO จะมีการประชุมหารือเกี่ยวกับมาตรการการจัดเก็บภาษีจากการขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ (Financial Transaction tax) เพื่อหาข้อสรุปในการทำหนังสือในนาม FETCO ไปยังกระทรวงการคลัง เพื่อชี้แจงมุมมองให้รับทราบ

      เสียงส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับมาตรการดังกล่าว  และส่วนตัวก็ไม่เห็นด้วยเช่นกัน เนื่องจากช่วงเวลาเก็บภาษีจากการขายหุ้นยังไม่เหมาะสม แม้จะเห็นใจรัฐบาลที่ขาดดุลงบประมาณอย่างต่อเนื่อง แต่หากมองมาตรการดังกล่าวในระยะยาวอาจกระทบต่อสภาพคล่องของตลาดทุน ซึ่งเป็นจุดขายหลักของตลาดหุ้น ซึ่งที่ผ่านมาตลาดหุ้นไทยมีสภาพคล่องโดดเด่นสุดในอาเซียน จึงไม่อยากเห็นการออกมาตรการที่จะส่งกระทบต่อสภาพคล่องและไม่เห็นด้วยที่จะออกมาในปีนี้

      หากมีการเก็บภาษีจากการขายหุ้นในปีนี้จริง เบื้องต้นประเมินว่าผลกระทบโดยรวมจะส่งผลให้มูลค่าการซื้อขายตลาดจะหายไปราว 20-30% โดยกลุ่มนักลงทุนที่จะกระทบมากที่สุด คือ กลุ่มนักลงทุนต่างชาติเนื่องจากต้นทุนในการซื้อขายหุ้นปกติก็สูงกว่า 1 เท่าตัวของนักลงทุนในประเทศอยู่แล้ว

        หากมีการจัดเก็บภาษีจะทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น นักลงทุนต่างชาติอาจเลือกไปเทรดในตลาดอื่นที่มีต้นทุนต่ำกว่า ซึ่งจะทำให้ยอดเทรดลดลงจากปัจจุบันที่มีสัดส่วนกว่า 40% ของปริมาณการซื้อขายรวม และกลุ่มถัดไปที่จะโดนผลกระทบคือกลุ่มเทรดเดอร์และ Prop Trade 

      ด้านนายวัชระ แก้วสว่าง หรือ เสี่ยป๋อง นักลงทุนรายใหญ่  กล่าวว่าเบื้องต้นประเมินการเก็บภาษีจากธุรกรรมซื้อขายหุ้น จะส่งผลกระทบต่อวอลุ่มซื้อขายหลักทรัพย์แน่นอน เพราะไม่ต่างกับการถูกเรียกเก็บค่านายหน้าซื้อขาย (ค่าคอมมิชชั่น) เพิ่ม  นอกจากนี้การเก็บภาษีขายหุ้นคาดว่าจะกระทบต่อการซื้อขายของหุ่นยนต์ (โรบอทเทรด) ซึ่งปัจจุบันมีสัดส่วนราว 30% ของปริมาณการซื้อขายหุ้นทั้งหมด โดยคาดว่าวอลุ่มของกลุ่มนี้จะลดน้อยลง หรือหายไปชั่วขณะ เพราะต้องปรับระบบ หรือปรับสูตรใหม่ ภายหลังต้นทุนการขายต่อครั้งเพิ่มขึ้น 

      แต่หากมองในมุมบวก การเก็บภาษีขายหุ้นอาจส่งผลดีต่อนักลงทุนที่ถือหุ้นยาว เพราะที่ผ่านมาต้นทุนค่าคอมมิชชั่นถูก ส่งผลให้นักลงทุนในตลาดสามารถซื้อขายหุ้นระยะสั้นได้ แต่หากเก็บภาษีขายหุ้น คาดว่าการเก็บกำไรอาจลดลง เพราะนักลงทุนอาจหันมาถือยาวเพื่อเก็บกำไรยาวขึ้น 

ขอบคุณ : ฐานเศรษฐกิจ

ข่าวหุ้นล่าสุด ข่าวเด่นวันนี้ วันที่ 14 ธันวาคม 2564

หุ้นวันนี้

Categories
ข่าวหุ้น

ข่าว หุ้น ธุรกิจ วันที่ 7 มกราคม 2565

ข่าวหุ้น เศรษฐกิจ การเงิน การลงทุน Goo Invest Trade

ข่าวหุ้นล่าสุด ข่าวเด่นวันนี้ วันที่ 7 มกราคม 2565

หุ้นเด่นวันนี้

  • OCEAN (เมย์แบงก์)เป้าเชิงกลยุทธ์ 2.89 บาท คาดกำไรปกติปี 65 จะขยายตัวสู่ระดับ 221 ล้านบาท เติบโตเด่นจากปี 64 ที่มีกำไรเพียง 40 ล้านบาท แรงหนุนจากการรับรู้โครงการอสังหาฯ ผสานกับการต่อยอดในธุรกิจกัญชง ที่เป็น New S-Curveใหม่ที่คาดจะสร้างรายได้ตั้งแต่ 1Q65 และจะเร่งขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วงครึ่งหลังปี 65
  • PSL (คันทรี่ กรุ๊ป) “ซื้อ” เป้าหมาย 21.20 บาท คาดอัตราค่าระวางเรือเฉลี่ย (TCE) สำหรับเรือขนาดเล็ก-กลาง (Handysize และ Supramax) จะยังมีระดับที่ทำกำไรได้สูงตลอดทั้งปี 2022-23 จากประเด็นอุปทานล้นเกินที่หมดไป
  • SMD (คิงส์ฟอร์ด) “ซื้อเก็งกำไร” เป้าหมาย IAA Consensus 20.20 บาท การเร่งตัวของจำนวนผู้ติดเชื้อโอมิครอนในประเทศหลังปีใหม่ ทำให้การตรวจคัดกรองเชื้อ COVID-19 ด้วยตัวเองผ่านชุดเครื่องตรวจ ATK กลายเป็นสินค้าจำเป็นมากขึ้น โดยเฉพาะประชาชนที่เดินทางเป็นประจำ รวมถึงบางสถานที่ยังเพิ่มความเข้มงวดตรวจคัดกรองด้วย ATK ก่อนเข้ารับบริการ ทั้งนี้บริษัทตั้งเป้ารายได้ปี 65 เพิ่มขึ้นเป็น 1.8 พันล้านบาท จากแนวโน้มปี 64 คาดว่าจะทำรายได้ที่ราว 1.55 พันล้านบาท เนื่องจากความต้องการเครื่องมือทางการแพทย์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงรายได้จากการขายจากการขายชุดตรวจ ATK ให้กับหน่วยงานราชการและร้านสะดวกซื้อ 7-11

ขอบคุณ :  สำนักข่าวอินโฟเควสท์ 

ราคาทองวันนี้ ลดลง 50 บาท

บิตคอยน์วันนี้ปรับตัวร่วงลง  0.64%

     บิตคอยน์เคลื่อนไหวในแดนลบเช้าวันนี้ หลังจากดัชนีดาวโจนส์ ปิดวันพฤหัสบดี(6ม.ค.)ร่วงลง 170 จุดหลังปรับตัวขึ้นในช่วงแรก ท่ามกลางความกังวลที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้

       ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ ปรับตัวร่วงลง 170.64 จุด หรือ 0.4% ปิดที่ 36,236.47 จุด ดัชนีเอสแอนด์พี 500 ร่วง 0.1% ปิดที่ 4,696.05 จุด ดัชนีแนสแด็กร่วง 0.1%  ปิดที่ 15,080.86 จุด

       ส่วนราคาทองฟิวเจอร์ ปิดวันพฤหัสบดี ที่ 6 ม.ค. 65  ดิ่งลง 35.90 ดอลลาร์ โดยได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของดอลลาร์ และการดีดตัวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยรายงานการประชุมเดือนธ.ค. ซึ่งระบุว่า เฟดอาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ และจะเริ่มปรับลดขนาดงบดุล

       สัญญาทองคำตลาดโคเม็กซ์ ส่งมอบเดือนก.พ. ร่วงลง 35.90 ปิดที่ราคา 1,789.20 ดอลลาร์/ออนซ์

 

ขอบคุณ :  กรุงเทพธุรกิจ

 

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท อ่อนค่าที่ 33.57 บาท

        วันที่ 7 ม.ค. 65 รายงานจากห้องค้าเงิน ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทวันนี้ อ่อนค่าที่ 33.57 บาทต่อดอลลาร์ เมื่อเทียบกับระดับปิดตลาดสิ้นวันทำการก่อนหน้า โดยกรอบการเคลื่อนไหววันนี้คาดการณ์แนวรับที่ 33.45 บาท แนวต้านที่ 33.70 บาท

    โดยปัจจัยขับเคลื่อนตลาดช่วงนี้มาจากนายเจมส์ บูลลาร์ด ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาเซนต์หลุยส์ระบุว่าการขึ้นดอกเบี้ย สามารถเริ่มต้นได้เร็วที่สุดในเดือนมีนาคม และควรลดขนาดงบดุลหลังจากนั้น เพื่อจัดการกับเงินเฟ้อ

      ขณะที่ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตสหรัฐ โดยไอเอสเอ็มในเดือนธันวาคมอยู่ที่ 62.0  ส่วนปัจจัยในประเทศ ไทยประกาศยกระดับการเตือนภัยโควิด-19 จากระดับ 3 ปรับขึ้นเป็นระดับ 4 

      สำหรับปัจจัยที่ต้องติดตาม ได้แก่ เงินเฟ้อยูโรโซน และตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรและอัตราว่างงานสหรัฐ

ขอบคุณ : ประชาชาติธุรกิจ

ยันเก็บภาษีปีนี้แน่ ขาขายหุ้น 0.1% รมว.คลัง มั่นใจไม่กระทบตลาดหุ้นไทย

         นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า กรมสรรพากรอยู่ระหว่างศึกษาการจัดเก็บภาษีจากการขายหุ้น ตามนโยบายของกระทรวงการคลัง หลังจากที่ได้ยกเว้นการจัดเก็บมานาน 30 ปี แต่คงต้องพิจารณาแนวทางการจัดเก็บให้มีความเหมาะสมที่สุด โดยธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญมาช่วยทำการศึกษาแนวทางเพื่อให้มีรูปแบบการจัดเก็บภาษีที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล

         ปัจจุบันการจัดเก็บภาษีหุ้นในต่างประเทศมี 2 รูปแบบ คือ

        1. เก็บจากส่วนต่างของกำไร (Capital Gain) ซึ่งมีข้อดี แต่การดำเนินการยุ่งยาก เป็นภาระกับผู้เสียภาษีมากกว่า หากกรมสรรพากรดำเนินการรูปแบบนี้จะต้องออกระเบียบและแก้กฎหมายใหม่ 

         2.เก็บจากธุรกรรมการซื้อขายหุ้น ซึ่งกลุ่มประเทศอาเซียนส่วนใหญ่จัดเก็บวิธีการนี้

         สำหรับแนวทางการจัดเก็บภาษีจากธุรกรรมการซื้อขายหุ้นน่าจะเหมาะสมกับประเทศไทยมากที่สุด โดยในต่างประเทศจัดเก็บทั้ง 2 ขา ทั้งขาขายและขาซื้อ แต่ในส่วนของไทยศึกษาการจัดเก็บจากการขายหุ้นฝั่งเดียวเท่านั้น ซึ่งภาระไม่ได้มาก อัตราจัดเก็บที่ 0.1% เท่ากับหากมีการขายหุ้นมูลค่า 1 ล้านบาท จะเสียภาษีเพียง 1,000 บาทเท่านั้น

      กรมสรรพากรจะเสนอแนวทางการศึกษาทั้งหมดให้ รมว.คลัง พิจารณาในเร็ว ๆ นี้ ซึ่งการจะเริ่มเก็บภาษีต้องดูสภาพตลาดหุ้นด้วย ต้องยอมรับว่าแม้จะมีการระบาดของไวรัสโควิด-19 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา แต่ตลาดหุ้นไทยก็มีดัชนีเพิ่มขึ้น และมูลค่าการซื้อขายก็เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน ดังนั้นมองว่าหากมีการจัดเก็บภาษีจากการขายหุ้นในปีนี้ ก็ไม่น่าจะส่งผลกระทบกับตลาดหุ้นไทยมากนัก

        การเก็บภาษีหุ้นไม่ได้มุ่งหวังเรื่องของรายได้เพียงอย่างเดียว แต่เป็นการสร้างความเป็นธรรมในระบบภาษีด้วย เพราะเป็นการเสียในรูปแบบภาษีธุรกิจเฉพาะ ซึ่งปัจจุบันธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจประกัน การซื้อขายอสังหาริมทรัยพ์ ก็ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะทั้งหมด ไม่ได้รับการยกเว้นแต่อย่างใด ซึ่งภาษีหุ้นก็อยู่ในหมวดธุรกิจเฉพาะที่จะต้องเสียภาษีในอัตรา 0.1% เพียงแต่ที่ผ่านมาได้รับการยกเว้นมานานถึง 30 ปี

        นายไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) เปิดเผยว่า สัปดาห์หน้าคณะกรรมการ FETCO จะมีการประชุมหารือเกี่ยวกับมาตรการการจัดเก็บภาษีจากการขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ (Financial Transaction tax) เพื่อหาข้อสรุปในการทำหนังสือในนาม FETCO ไปยังกระทรวงการคลัง เพื่อชี้แจงมุมมองให้รับทราบ

      เสียงส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับมาตรการดังกล่าว  และส่วนตัวก็ไม่เห็นด้วยเช่นกัน เนื่องจากช่วงเวลาเก็บภาษีจากการขายหุ้นยังไม่เหมาะสม แม้จะเห็นใจรัฐบาลที่ขาดดุลงบประมาณอย่างต่อเนื่อง แต่หากมองมาตรการดังกล่าวในระยะยาวอาจกระทบต่อสภาพคล่องของตลาดทุน ซึ่งเป็นจุดขายหลักของตลาดหุ้น ซึ่งที่ผ่านมาตลาดหุ้นไทยมีสภาพคล่องโดดเด่นสุดในอาเซียน จึงไม่อยากเห็นการออกมาตรการที่จะส่งกระทบต่อสภาพคล่องและไม่เห็นด้วยที่จะออกมาในปีนี้

      หากมีการเก็บภาษีจากการขายหุ้นในปีนี้จริง เบื้องต้นประเมินว่าผลกระทบโดยรวมจะส่งผลให้มูลค่าการซื้อขายตลาดจะหายไปราว 20-30% โดยกลุ่มนักลงทุนที่จะกระทบมากที่สุด คือ กลุ่มนักลงทุนต่างชาติเนื่องจากต้นทุนในการซื้อขายหุ้นปกติก็สูงกว่า 1 เท่าตัวของนักลงทุนในประเทศอยู่แล้ว

        หากมีการจัดเก็บภาษีจะทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น นักลงทุนต่างชาติอาจเลือกไปเทรดในตลาดอื่นที่มีต้นทุนต่ำกว่า ซึ่งจะทำให้ยอดเทรดลดลงจากปัจจุบันที่มีสัดส่วนกว่า 40% ของปริมาณการซื้อขายรวม และกลุ่มถัดไปที่จะโดนผลกระทบคือกลุ่มเทรดเดอร์และ Prop Trade 

      ด้านนายวัชระ แก้วสว่าง หรือ เสี่ยป๋อง นักลงทุนรายใหญ่  กล่าวว่าเบื้องต้นประเมินการเก็บภาษีจากธุรกรรมซื้อขายหุ้น จะส่งผลกระทบต่อวอลุ่มซื้อขายหลักทรัพย์แน่นอน เพราะไม่ต่างกับการถูกเรียกเก็บค่านายหน้าซื้อขาย (ค่าคอมมิชชั่น) เพิ่ม  นอกจากนี้การเก็บภาษีขายหุ้นคาดว่าจะกระทบต่อการซื้อขายของหุ่นยนต์ (โรบอทเทรด) ซึ่งปัจจุบันมีสัดส่วนราว 30% ของปริมาณการซื้อขายหุ้นทั้งหมด โดยคาดว่าวอลุ่มของกลุ่มนี้จะลดน้อยลง หรือหายไปชั่วขณะ เพราะต้องปรับระบบ หรือปรับสูตรใหม่ ภายหลังต้นทุนการขายต่อครั้งเพิ่มขึ้น 

      แต่หากมองในมุมบวก การเก็บภาษีขายหุ้นอาจส่งผลดีต่อนักลงทุนที่ถือหุ้นยาว เพราะที่ผ่านมาต้นทุนค่าคอมมิชชั่นถูก ส่งผลให้นักลงทุนในตลาดสามารถซื้อขายหุ้นระยะสั้นได้ แต่หากเก็บภาษีขายหุ้น คาดว่าการเก็บกำไรอาจลดลง เพราะนักลงทุนอาจหันมาถือยาวเพื่อเก็บกำไรยาวขึ้น 

ขอบคุณ : ฐานเศรษฐกิจ

ข่าวหุ้นล่าสุด ข่าวเด่นวันนี้ วันที่ 14 ธันวาคม 2564

หุ้นวันนี้