PTT OR หุ้น แรงรับปี 2564 หรือ บมจ.ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก OR สำนักงานใหญ่อยู่ที่ 555/2 ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ อาคาร บี ชั้นที่ 12 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กทม ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ PTT โดยมี นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ เป็น ประธานกรรมการ และ นางสาวจิราพร ขาวสวัสดิ์ ดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการ ผู้จัดการใหญ่
เสนอขายหุ้นเพิ่มทุนให้แก่ประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) ที่ราคา 16-18 บาท/หุ้น โดยเปิดจองวันแรกเมื่อวันที่ 24 มกราคาม 2564 และดำเนินการประกาศราคาเสนอขายวันสุดท้ายในเวลา 09.00 น.ของวันที่ 2 ก.พ.64 ผ่านเว็บไซต์ของ OR www.pttor.com
โดยการเปิดจองวันแรกก็ทำเอาระบบแบงค์ทั้ง 3 ที่เปิดให้บริการจองถึงกับล่มกันเลยทีเดียวนับว่าเป็นหุ้นที่ใครหลายต่อหลายคนหมายตากันอย่างมาก นับเป็นเรื่องที่น่าสนใจเป็นอย่างมากเนื่องจากในช่วงที่มีการเสนอขายหุ้น IPO อยู่ในช่วงวิกฤต โควิด 19 ที่เศรษฐกิจทั่วโลกตกต่ำอย่างสุดขีด แต่ ผู้เข้าซื้อหุ้น ปตท OR ยังเข้าซื้อกันอย่างมหาศาล
ผู้ถือหุ้นของ ปตท. เฉพาะกลุ่มที่มีสิทธิได้รับจัดสรรหุ้น จองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนของ PTT OR ในส่วนที่จัดสรรไว้ให้แก่ผู้ถือหุ้นของ ปตท. (Pre-emptive Rights) เมื่อวันที่ 25-28 ม.ค.64 ในการขาย IPO ของ OR มีการจัดสรรหุ้นแบบ small lot first คือผู้จองซื้อจำนวนน้อยได้รับการจัดสรรหุ้นก่อน กำหนดให้จองซื้อขั้นต่ำ 300 หุ้น ราคาหุ้นล่ะ 18 บาท เป็นเงิน 5400 บาท ถ้ามีหุ้นเหลือจึงจัดสรรเพิ่มให้แต่ละรายเท่ากันจนกว่าหุ้นจะหมด
โดยครั้งนี้ เสนอขายหุ้น ipo ไม่เกิน 3000ล้านหุ้น ราคาหุ้นล่ะ 18 บาท และหุ้นจะออกเสนอขายให้ประชาชนครั้งแรก 2610 ล้านหุ้น สำรองไว้ที่ 390 ล้านหุ้น เพราะในตอนนี้ การจัดสรรให้นักลงทุนรายย่อย เพียง 300 ล้านหุ้น และส่วนใหญ่ถูกจัดสรรให้กับนักลุงทุนรายใหญ่ ที่เป็นกองทุนส่วนบุคคล และสถาบันต่างๆรวมไปถึงกระทรวงการคลัง
แน่นอนว่า ธุรกิจแรกของ ปตท.ต้องเป็นการค้าที่เกี่ยวกับน้ำมัน และสิ่งที่เราเห็นได้ชัดเลย สถานีบริการน้ำมัน PTT Station ที่ครอบคลุมทั้วประเทศ มีจำนวนสถานีถึง 1,900 สาขา ซึ่งถือว่าเป็นปั้มที่มีจำนวนเยอะที่สุด ในประเทศเราแล้ว
และเป็นปั้มที่ทันสมัย พร้อมการปรับตัวหรือการพัฒนาสู่อนาคต ในเรื่องของ พลังงานไฟฟ้า ที่ตอนนี้คนหันมาให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ซึ่งปตท.นั้น ก็ติดตั้ง อุปกรณ์ สายชาร์ต ที่ทันสมัย และชาร์ตได้รวดเร็วตามความต้องการในอนาคต ซึ่งตอนนี้ติดตั้ง ไปแล้วประมาณ 14 สถานี
ซึ่งอนาคตที่ปตท. มีเป้าหมายติดตั้ง ให้ครอบคลุมทั้วประเทศ เพื่อ ตอบสนองความต้องการ หรือ การให้บริการ ที่ครอบคลุมทั่วประเทศ และนอกจากนี้ pttor ยังจำหน่ายผลิตภัฌฑ์ ปิโตเลียม เชิงพานิชย์ ให้กับกลุมธุรกิจ อากาศยาน อุตสาหกรรม เรือขนส่งสินค้า ไปจนถึง PTT LPG
ผลิตภัณฑ์ น้ำมันหล่อลื่น PTT Lubricants และศูนย์บริการยานยนต์ FIT Auto ซึ่งผลกำไรของการทำธุรกิจน้ำมันนั้นตกเป็นเงินประมาณ 291,764.65 ล้านบาทเลยทีเดียว ซึ่งเป็นธุรกิจหลัก ของ PTTOR
ธุรกิจค้าปลีก หรือที่เรียกกันว่าธุรกิจ Non-Oil Business ที่ OR นำเข้ามาบริการกับผู้บริโภคที่ปั๊ม PTT Station อย่างเช่นร้าน Cafe Amazon ซึ่งในปี 2562 มียอดขายอยู่ถึง 264 ล้านแก้ว ขณะที่ปี 2563 (ข้อมูลถึง 30 ก.ย.63)
ธุรกิจนี้เป็นธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ที่เราเห็นหลักๆในทุกๆสถานี ได้แก่ Cafe Amazon / Texas Chiken / Hua Seng Hong Dimsum และ Pearly Tea ไปจนถึงร้านสะดวกซื้อ Jiffy ซึ่งเป็นธุรกิจลองลงมา ซึ่งทำกำไรให้กับ PTTOR ไม่น้อยเลยทีเดียวโดยมูลค้า ของธุรกิจนี้สูงถึง 11,690.81 ล้านบาท
ถือได้ว่า PTTOR เห็นช่องทางและโอกาศที่ดี ที่ทำธุรกิจควบคู่กันไป จึงทำให้สถานีบริการของ ปตท. นั้น ครบครันทั้งเครื่องดื่ม อาหาร ร้านสะดวกซื้อ เพราะนอกจากคนที่แวะเข้ามาใช้บริการเติมน้ำมันแล้วนั้น ก็มีอีกหลายคนที่แวะเข้ามาพัก ทานข้าว หรือซื้อเครื่องดื่ม เช่นกาแฟ เป็นต้น มีจำนวนสาขา 3,168 สาขา ทั้งนี้ยอดเฉลี่ยของการเข้ามาใช้บริการร้านคาเฟ่อเมซอนใน PTT Station ราวๆ 3 ล้านคนต่อวัน
หลังจากเริ่มปรับรูปแบบการขยาย ร้านคาเฟ่อเมซอน เป็นแบบแฟรนไชส์ ทำให้ภาพการเติบโตสูงขึ้น ทั้งในและนอกสถานีบริการเติบโตขึ้น เป็นเท่าตัว อีกทั้งยังขยายการทำธุรกิจไปแล้ว 10 ประเทศ
และเป็นการต่อยอดของ PTTOR ทีประสบความสำเร็จในธุรกิจสถานีบริการน้ำมัน PTT Station Cafe Amazon / Jiffy / และ FIT Auto ในประเทศไทย ซึ่ง PTTOR มีศักยภาพ พอที่จะพัฒนาหรือขยายธุรกิจ ออกๆไปให้กว้างกว่าเดิม โดยการขยายสถานีบริการน้ำมันในต่างประเทศ พร้อมกับธุรกิจค้าปลีก ที่เราพูดถึงเมื่อข้างต้น โดยเริ่มต้นจาก ประเทศเพื่อนบ้านใกล้ๆเราเช่น ประเทศ ลาว / กัมพูชา / มาเลเชีย / เมียนม่า / ฟิลิปปินส์ / ญี่ปุ่น / สิงคโปร์ / โอมาน และประเทศจีน ซึ่งมีรายได้จากตัวเลขอ้างอิง ประมาณ 15,845.98 ล้านบาท ซึ่งถ้ามองดูแล้ว ก็ถือได้ว่า PTTOR ได้ก้าวเข้าสู่ประตูแห่งความสำเร็จไปอีกขั้นแล้วนั้นเอง
ตอนนี้หลายคนสงสัยว่า อนาคต ของ or นั้น จะเอาเงินลงทุนไปทำอะไรบ้าง ซึ่งอย่างที่ทราบกันดี ที่ or นั้นจะเปิดสาขาปั้มน้ำมันเพิ่ม ให้ครอบคุม รวมไปถึงประเทศเพื่อนบ้าน และวันนี้มีข่าวคราว ว่านอกจาก จะเพิ่มสาขาแล้วนั้น or ยังให้ความสนใจ กับวงการยานยนต์ไฟฟ้า ทั้งค้าปลีกและ จุดเติมพลังงานไฟฟ้า และ แบตเตอร์รี่ อย่างครบวงจร ต้องบอกเลยว่า
อนาคตอันใกล้นี้ความเปลี่ยนแปลงด่านยานยนต์ค่อนข้างท้าทาย และแน่นอน ว่า or ไม่มองข้ามโอกาสนี้แน่นอน และตอนนี้ orนั้นก็เริ่มทำที่ชาตประจุไฟฟ้า ไปแล้วถึง 25ปั้ม และตอนนี้ยังมีบริษัทอัตประจุไฟฟ้า ภายนอกติดต่อมาขอร่วมธุรกิจ อย่าง DELTA ที่มีระบบ fast chage ที่สามารถชาตเต็มภายในไม่กี่นาที และรองรับทุกหัว ให้ลองรับในทุกๆเส้นทางหรือ ตามปั้มของ ปตท. หรือแม้แต่ กฟภ ที่PEA ก็ได้มีการจับมือกับทางปั้ม บางจากไปแล้ว ถึง20 จุด แต่อย่างไรก็ตาม
ก็ยังสรุปไม่ได้ว่า การคิดคำนวนค่าชาต ไฟจะอยู่ในราคาเท่าไหร่ เพราะต้องคำนวนทั้งค่าเช่า ส่วนแบ่งผลกำไรต่างๆ อีกมากมาย และก็ยังไม่แน่นอนที่ว่าสรุปแล้ว or จะจำมือกับใคร ใครจะได้เป็นคนร่วมลงทุน หรือ orจะเป็นคนลงทุนเองทั้งหมด
โอกาสที่สอง นั้นก็คือในเรื่องของแบตเตอร์รี่ ซึ่งเป็นหัวใจหลักหรือหัวใจสำคัญของรถ ที่ใช้เครื่องยนต์ไฟฟ้า แบตเตอร์รี่ตัวไหน ใช้ทนทานกว่า ใช้ได้นานกว่า หรือทำให้รถวิ่งๆได้ไกลกว่า ทำให้ or ได้จับมือกับ GPSC และหลายคนต้องสงสัยกับ GPSC ว่าเค้าทำธุรกิจอะไร GPSCนั้นเป็นบริษัทที่พัฒนาพลังงานทดแทน
หรือพลังงานไฟฟ้า แบตเตอร์รี่ ต่างๆ รวมกระทั้งเครื่องกักเก็บพลังงานที่ได้จากธรรมชาติ เช่นพลังงานแสงอาทิตย์ และ or เล็งเห็นว่า คนเริ่มหันมาใส่ใจโลกมากขึ้น หันมาใช้พลังงานสะอาดมากขึ้นจึงเป็นเรื่องดีที่ or และ GPSC ร่วมกันพัฒนา เพื่อเป็นผู้นำในการให้บริการพลังลังงานทั้งพลังงานจากปิโตเลียม จนไปถึงพลังงานสะอาดอย่างพลังงานไฟฟ้า
และลดต้นทุนในการชื่อจากต่างประเทศ จึงร่วมมือกันพัฒนา แบตเตอร์รี่ต้นแบบ semisolid ที่ให้กำลังไฟเยอะ แต่ต้นทุนแพง ซึ่งor ได้ร่วมลงทุนกับ GPSCในการพัฒนาแบตตัวนี้ถึง 20ล้านเหรียญ ตีเป็นเงินไทยก็ประมาณ 600 ล้านบาท ตั้งแต่ช่วงปี 2562 ตั้งแต่เดือนสิงหา
ซึ่งเป็นเวลา เกือบสองปีที่ร่วมพัฒนา และตอนนี้ก็บอกได้เลยว่า ได้ทำต้นแบบของแบตเตอร์รี่ส่วนนี้สำเร็จแล้ว ซึ่งตอนนี้ก็อยู่ที่ว่าจะเริ่มผลิตเมื่อไหร่เท่านั้นเอง ซึ่งที่คาดการ น่าจะนำมาผลิตที่ประเทศไทย โดย ราคาอยู่ที่ 100us/kWh หรือ ตีเป็นเงินไทยประมาณ 3000บาท/kWh ซึ่งก็เท่ากับที่ TESLA ทำเอาไว้
ซึ่งข่าวตอนนี้บอกว่าโรงงานผลิตเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขาดแต่เครื่องจักและการเซ็ตอัพ ซึ่งก็ติดปัญหาเรื่องของโควิด จึงทำให้ไม่สามารถเคลื่อนย้ายหรือเดินทางมาเซ็ทอัพได้แต่อย่างไรนั้น ถ้าผลิตได้นั้น แน่นอนครับว่านอกจากที่ขายภายในประเทศแล้วนั้น ยังสามารถส่งออกได้ เนื่องจาก ทุกคนต่างต้องการเเท็คโนโลยีที่ดี และราคาที่สามารถสู้กับ เจ้าอื่นได้นั้น ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีของ or เลยทีเดียว
อีกหนึ่งธุรกิจของ or นั้นเป็นก้าวที่ใหญ่ และท้าทายเลยทีเดียวคือการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งทาง orนั้นได้เดินทางไปคุยกับบริษัท รถยนต์ไฟฟ้า สัญชาติจีน ที่เป็นบริษัท น้องใหม่ที่มีกระแสมาแรงมากๆ นั้นก็คือ ค่าย WM motor หรือ WELTMEISTER ซึ่งไปเซ็นสัญญาต่างๆเรียบร้อยแล้ว ซึ่งบอกเลยว่า ค่ายWM motor เป็นนวัตกรรมที่ล้ำสมัยในหลายๆด่านไม่น้อยหน้าTESLA เลยทีเดียว ซึ่งมียอดขายเป็นอันดับต้นๆของจีน แพ้ ค่าย NIO,Li Auto,Xpeng แค่นิดเดียว เท่านั้นเอง
นี้ถือเป็นโอกาสที่ดีของ or ที่จะพัฒนาธุรกิจ และสร้างผลกำไรในอนาคต และนี้เองคือเหตุผลที่ทำให้การเปิดขายหุ้น ของ PTT.OR เป็นกระแสที่มาแรง และมีคนสนใจเป็นจำนวนมาก แล้วถ้ามีข้อมูลอัพเดทหรือข่าวคราวเพิ่มเติมเราจะมาเล่าสู่กันฟังอีกครั้ง
Cr : https://investor.pttor.com/th