LOGO Goo Invest
Categories
ข่าวหุ้น

ข่าว หุ้น ธุรกิจ 13 ตุลาคม 2564

ข่าวหุ้น เศรษฐกิจ การเงิน การลงทุน Goo Invest Trade

ข่าวหุ้นล่าสุด ข่าวเด่นวันนี้ วันที่ 13 ตุลาคม 2564

SUNVENDING จับมือ Rabbit Card ซื้อสินค้าผ่านบัตร ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ยุค New Normal

นายคเณศร์ อรรถไพศาลกุล รองผู้อำนวยการสายงานการตลาด บริษัท ซันเวนดิ้ง เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการ ( SUNVENDING)  และนายเคลวิน เหลียง กรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอก สมาร์ทการ์ด ซิสเทม จำกัด ผู้ให้บริการ (Rabbit Card) จับมือ เพิ่มช่องทางการชำระค่าสินค้า ผ่านบัตรแรบบิท ที่เครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติของ SUN Vending เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ยุค New Normal ในจุดบริการต่างๆ เช่น สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส, ห้างสรรพสินค้าและตามแหล่งชุมชน

พร้อมตอบโจทย์ความสะดวกสบาย ความรวดเร็วและไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคในปัจจุบัน รวมถึงการสนับสนุนให้เกิดการใช้จ่ายเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้เงินสด โดยเฉพาะช่วงที่ทั่วโลกให้ความสำคัญเรื่องการป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 การใช้บัตรแรบบิทแทนเงินสด เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถลดความเสี่ยง เลี่ยงติดเชื้อไวรัสโควิด-19

นายคเณศร์ กล่าวว่า การใช้ Rabbit Card เพื่อชำระสินค้าผ่านเครื่อง SUN Vending  ไม่เพียงเข้ามาช่วยเพิ่มความสะดวก รวดเร็ว ให้กับผู้บริโภค แต่ยังเป็นการใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวันแบบไร้สัมผัส เพื่อรองรับการใช้จ่ายในยุค New Normal ได้เป็นอย่างดี เพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดให้เกิดแก่ผู้บริโภค โดย SVT ขอยืนหยัดในการคัดสรรนำเสนอสิ่งที่ดีที่สุดเพื่อลูกค้าตลอดไป

สำหรับ SUNVENDING   เป็นผู้ดำเนินธุรกิจค้าปลีกผ่านเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ ทั้งหมด 4 รูปแบบ ประกอบด้วย 1.เครื่องจำหน่ายสินค้าประเภทเครื่องดื่ม (Can & Bottle) 2.เครื่องจำหน่ายสินค้าแบบบานกระจก (Glass Front) 3.เครื่องจำหน่ายสินค้าประเภทถ้วยแบบร้อนเย็น (Cup Hot and Cold) 4.เครื่องสำหรับขายอาหารกึ่งสำเร็จรูป (Noodle) สินค้าที่จำหน่ายผ่านเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติเป็นสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น เครื่องดื่ม, ขนมขบเคี้ยว, บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป, ขนมปังเบอเกอรี, อุปกรณ์เสริมสำหรับมือถือ และหน้ากากอนามัย เป็นต้น

ในการร่วมมือทางธุรกิจช่วยตอกย้ำกลยุทธ์มุ่งผสานศักยภาพความร่วมมือระหว่างกัน และเป็นการเพิ่มยอดขายให้กับบริษัทฯ เนื่องจากฐานลูกค้าผู้ใช้บริการบัตรแรบบิทในปัจจุบัน มีมากกว่า 15.5 ล้านใบ ซึ่งเมื่อเดือนกรกฎาคม 2564 มีผู้บริโภคชำระค่าสินค้าผ่านเครื่อง SUN Vending ด้วยบัตรแรบบิท เติบโตขึ้นจากปี 2563 ถึง 400% และคาดว่าเมื่อถึงสิ้นปีจะเติบโต 600%

ทั้งนี้เพื่อรองรับการเติบโตทางบริษัทวางเป้าหมายในการเพิ่มจำนวนตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ ที่สามารถรองรับการชำระเงินและจุดเติมเงินผ่าน Rabbit Card  มากกว่า 1,000 ตู้ภายใน 5 ปี ในกรุงเทพฯและปริมณฑล และตามหัวเมืองใหญ่จังหวัดต่างๆ โดยวางเป้าเพิ่มจำนวนตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ รองรับจุดชำระเงินและเติมเงินผ่าน Rabbit Card มากกว่า 1,000 ตู้ ภายใน 5 ปี

ขอบคุณ : ประชาชาติธุรกิจ

UNIQ แผนเสนอขายให้กับประชาชนทั่วไป ผ่านธนาคารกรุงไทย 1-3 พ.ย. นี้

นายเติมพงษ์  เหมาะสุวรรณ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส กลุ่มงานบัญชีและการเงิน บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ UNIQ กล่าวว่า บริษัทกำหนดอัตราดอกเบี้ยคงที่ สำหรับหุ้นกู้ชนิดระบุชื่อผู้ถือ ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน และมีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ อายุ 3 ปี 8 เดือน ไว้ที่ 4.00% ต่อปี กำหนดจ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน หุ้นกู้ชุดนี้มีแผนเสนอขายให้กับประชาชนทั่วไป ผ่านธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ระหว่างวันที่ 1-3 พฤศจิกายน 64

สำหรับนักลงทุนแสวงหาการลงทุนในตราสารหนี้ที่ผ่านมาให้ผลตอบแทนน่าพอใจ รวมถึงมีอันดับความน่าเชื่อถือในระดับ ‘ลงทุนได้’ (Investment grade)  สำหรับหุ้นกู้  UNIQ  จะได้รับการตอบรับจากนักลงทุนเป็นอย่างดี โดยหุ้นกู้ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในระดับ BBB และอันดับความน่าเชื่อถือของบริษัทอยู่ที่ BBB+ แนวโน้ม Negative จัดอันดับโดยบริษัท ทริส เรทติ้ง จำกัด เมื่อวันที่ 20 กันยายน 64 พิจารณาถึงโอกาสในการเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากการที่บริษัทสามารถชนะการประมูลงานโครงการขนาดใหญ่จากภาครัฐและรัฐวิสาหกิจได้อย่างสม่ำเสมอ ยิ่งสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนมากยิ่งขึ้น

UNIQ เป็นผู้ประกอบการธุรกิจรับเหมาก่อสร้างที่เน้นงานสาธารณูปโภคขนาดกลางและขนาดใหญ่ เช่น งานโยธาสถานีกลางบางซื่อของการรถไฟแห่งประเทศไทย  และยังเป็นผู้เชี่ยวชาญงานก่อสร้างสะพานโครงสร้างเหล็กและสะพานโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก งานก่อสร้างอุโมงค์รถยนต์ลอดใต้ทางแยก งานก่อสร้างทางพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กและแอลฟัลท์ติกคอนกรีต งานระบบสาธารณูปโภคใต้ดินทั้งไฟฟ้า ประปา และโทรศัพท์รวมถึงงานในโครงการรับเหมาก่อสร้างที่มีขนาดใหญ่มูลค่าโครงการสูง หรือเป็นโครงการที่ต้องอาศัยความชำนาญหรือเทคโนโลยีเฉพาะด้าน 

ล่าสุด กิจการร่วมค้า ยูเอ็น-ซีซี  ชนะการประมูลก่อสร้างโครงการทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก สัญญาที่ 1  จากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย มูลค่า 7,350 ล้านบาท โดยเป็นสัดส่วนของ UNIQ 70% หรือมูลค่า 5,145 ล้านบาท และสัดส่วนของ “CCSP” 30% คิดเป็นมูลค่า 2,205 ล้านบาท โดยได้ลงนามสัญญาในวันที่ 11 ตุลาคม 64 เรียบร้อยแล้ว ทำให้บริษัทมีรายได้อย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ลูกค้าของบริษัทจะเป็นหน่วยงานภาครัฐหรือรัฐวิสาหกิจ เช่น กรมทางหลวง การไฟฟ้านครหลวง การทางพิเศษแห่งประเทศไทย การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) การรถไฟแห่งประเทศไทย 

 

ขอบคุณ : ฐานเศรษฐกิจ

 

จี้รัฐบาลแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ขยายมาตรการพักชำระหนี้ กระตุ้นเศรษฐกิจ

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศ กล่าวว่า ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนกันยายน 64 อยู่ที่ระดับ 79.0 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 76.8 ในเดือนสิงหาคม 64 โดยค่าดัชนี ปรับตัวเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน นับตั้งแต่เดือนเมษายน 64

โดยมีปัจจัยที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนี ได้แก่ สถานการณ์โควิด-19 ที่เริ่มคลี่คลายและจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันเริ่มลดลง ส่งผลให้ภาครัฐมีการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด พร้อมทั้งอนุญาตให้กิจการบางประเภทรวมถึงห้างสรรพสินค้าสามารถเปิดดำเนินการได้ภายใต้เงื่อนไข ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น

ขณะที่เศรษฐกิจในประเทศมีทิศทางดีขึ้น นอกจากนี้จำนวนผู้ติดเชื้อในโรงงานอุตสาหกรรมลดลงจากการใช้มาตรการ Bubble and Seal ขณะที่ภาคการผลิตขยายตัวจากอุปสงค์ในประเทศและต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น รวมถึงมีมีปัจจัยลบจากต้นทุนประกอบการปรับตัวสูงขึ้นทั้งราคาวัตถุดิบ ราคาน้ำมันและ ค่าขนส่ง รวมถึงปัญหาน้ำท่วมที่ส่งผลกระทบต่อวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหารและทำให้การขนส่งล่าช้า

นอกจากนี้ ปัญหาความล่าช้าของเรือสินค้าทำให้การส่งออกสินค้าไม่ได้ตามกำหนด ขณะที่ปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และอัตราค่าระวางเรือที่ทรงตัวในระดับสูง รวมถึงปัญหาขาดแคลนชิปเซมิคอนดักเตอร์ในอุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ฯ ยังไม่คลี่คลาย

สำหรับดัชนี คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 93.0 จากระดับ 90.9 ในเดือนสิงหาคม 64 โดยมีผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นว่าความคืบหน้าในการฉีดวัคซีนให้กับประชาชน รวมถึงมีการพิจารณาผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์อย่างต่อเนื่องของภาครัฐ ทั้งนโยบายการเปิดประเทศจะช่วยให้เศรษฐกิจและภาคการท่องเที่ยวค่อยๆ ฟื้นตัว นอกจากนี้ผู้ประกอบการเห็นว่าภาครัฐควรเร่งออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด19

โดยมีข้อเสนอให้ภาครัฐคือ ให้ภาครัฐขยายมาตรการพักชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยออกไปอย่างน้อย 6 เดือน ถึง 1 ปี ให้กับสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของภาครัฐ รวมถึงสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อ เสริมสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการ SMEs รวมถึงเร่งออกมาตรการฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ เพื่อเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศและ เสริมสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการ โดยดำเนินนโยบายที่มีการผ่อนคลายกิจกรรมทางธุรกิจมากขึ้นและบังคับใช้มาตรการควบคุมโรคเท่าที่จำเป็นเพื่อให้เศรษฐกิจเดินต่อไปได้ ซึ่ง ขอให้ภาครัฐเร่งแก้ไขปัญหาน้ำท่วมรวมทั้งประเมินสถานการณ์ล่วงหน้าและวางแผนแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ประกอบการและนักลงทุนต่างชาติ รวมถึงให้ภาครัฐดูแลราคาพลังงาน และราคาน้ำมันให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อลดภาระด้านต้นทุนให้กับผู้ประกอบการ

ทั้งนี้สภาอุตสาหกรรม ได้ทำการรวบรวมข้อมูลผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม และข้อมูลตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมจากหน่วยงานต่างๆ ย้อนหลัง 3 ปีดทำเป็น Dashboard เผยแพร่ในเว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลภาคเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม Industry Data Space (iDS) ของสภาอุตสาหกรรม

ขอบคุณ: เนชั่น

แกะเศรษฐกิจเกาหลี จากกระแสนิยม Squid Game

 แกะเศรษฐกิจเกาหลี จากกระแสนิยม Squid Game

“ Squid Game “ เล่นเกมส์ลุ้นตาย ซีรีส์เกาหลีที่กำลังฉายผ่าน Netflix ที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลกในปัจจุบัน มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับการลงเล่นเกมเด็กๆ ที่กติกาง่ายสุดๆ แถมมีรางวัลมูลค่ามหาศาลรออยู่ ทว่าต้องแลกด้วยชีวิต หากว่าผู้เล่นรายนั้นๆ ตกรอบ

ซี่รี่ย์เรื่องดังกล่าวได้รับความนิยมในหลายประเทศ และถูกพูดถึงเป็นกระแสสังคมในหลายๆ มิติ โดยเนื้อหาที่มีการสอดแทรกเกมพื้นบ้านของคนเกาหลีซึ่งวง BTS และ Blackpink รวมถึงภาพยนตร์ Parasite ได้สร้างประวัติศาสตร์ในสังคมโลกในช่วงรอบปีที่ผ่านมา เพราะผู้คนที่รับชมคอนเทนท์เหล่านี้ต่างก็ต้องซึบซับกับวัฒนธรรมเกาหลีอย่างเลี่ยงไม่ได้

 โดยเมื่อเร็วนี้ๆ ทาง Netflix ประเทศฝรั่งเศส ได้จัดคาเฟ่ Squid Game ที่กรุงปารีส โดยแฟนซีรีส์สามารถเข้ามาเล่นเกมแกะน้ำตาล ซึ่งเป็นเกมในซีรีส์ ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก รวมถึงเมื่อเร็วๆ นี้ ศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีใต้ในกรุงอาบูดาบี ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) ได้ตอบสนองกระแสด้วยการจัดการแข่งขัน Squid Game ของจริง แต่ไม่มีเงินรางวัลและไม่มีการเสี่ยงอันตรายแต่อย่างใด ซึ่งมีการเปิดรับสมัครผู้เข้าแข่งขันจัดงานขึ้นเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ที่ผ่านมา

นอกจากการทำให้คนจำนวนมากรู้จักเกาหลีใต้ในแผนที่โลก แต่ Soft Power ในนามคลื่นเกาหลี ยังสร้างผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจที่น่าพึงพอใจให้กับเกาหลีใต้ แม้จะต้องเผชิญกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกจากการแพร่ระบาดของโควิด-19

ความนิยม “คลื่นเกาหลี” ที่เพิ่มขึ้นในสังคมโลก   เกิดจากการเผยแพร่วัฒนธรรมเกาหลีไปยังต่างประเทศ ผ่านคอนเทนท์ในรูปแบบต่างๆ อาทิ เพลง ซีรี่ส์ หนัง หรือรูปแบบอื่นที่มีการสอดแทรกวัฒนธรรมเกาหลี ซึ่งถูกเรียกรวมเป็นอุตสาหกรรมคอนเทนท์

ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจาก “คลื่นเกาหลี”   แม้ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา เกาหลีใต้ก็ต้องพบเจอกับการหดตัวทางเศรษฐกิจจากการวิกฤติการแพร่ระบาดของโควิด-19 ไม่ต่างจากประเทศอื่นทั่วโลก แต่จากข้อมูลในเว็บไซต์ The Straits Times พบว่า ในปีที่ผ่านมา เกาหลีใต้มีการส่งออกคอนเทนต์ มูลค่าทั้งหมดรวม 1.08 หมื่นล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจากปี 2019 กว่า 610 ล้านดอลาร์ หรือประมาณ 6% โดยทาง Netflix มีส่วนสร้างมูลค่าให้กับเศรษฐกิจเกาหลีใต้ได้ถึง 1.9 พันล้านดอลลาร์ แสดงให้เห็นอุตสาหกรรมคอนเทนท์ของเกาหลีใต้สามารถเอาตัวรอดจากวิกฤติฯ ครั้งนี้ไปได้

นอกจากนั้น ผลพลอยได้ทางเศรษฐกิจจากการส่งออกคอนเทนท์ ยังมาในรูปของสินค้าและบริการที่มีอยู่หรือแฝงมาในคอนเทนท์ ซึ่งสร้างผลประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น

การส่งออกสินค้า ข้อมูลจาก Yonhap News Agency ระบุว่า ในปี 2019 เกาหลีใต้ส่งออกสินค้าวัฒนธรรม อาทิ เกมคอมพิวเตอร์ โปรแกรมทัวร์ และเครื่องสำอาง มูลค่ารวม 1.23 หมื่นล้านดอลลาร์ สูงขึ้นกว่า 22.4% จากปีก่อนหน้า  

ด้านการท่องเที่ยว เปิดเผยข้อมูลก่อนช่วงวิกฤติฯ มีการประเมินว่า 13% ของนักท่องเที่ยวทั้งหมดของเกาหลีใต้ในปี 2019 เข้ามาด้วยจุดประสงค์เพื่อสัมผัสประสบการณ์ Pop culture และเข้าร่วมงานที่จัดขึ้นสำหรับแฟนคลับเหล่านักแสดงหรือศิลปินเกาหลี โดยมูลค่าการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ รวมแล้วสูงถึง 2.7 พันล้านดอลลาร์

 การสร้างงาน สร้างสรรค์ผลงานนั้นเพิ่มขึ้นเช่นกัน จากปี 2009 ถึง 2019 จำนวนคนทำงานด้าน Creative และ Artist service เพิ่มขึ้น 27% และจากการเปิดเผยโดย Netflix ระบุว่า ช่วงปี 2016 ถึง 2020 มีการจ้างพนังงานประจำถึง 16,000 ตำแหน่ง โดยคาดว่าได้สร้างรายได้ให้เศรษฐกิจเกาหลีใต้ มูลค่า 4.7 พันล้านดอลลาร์ แม้อุตสาหกรรมคอนเทนท์จะเติบโตและสร้างมูลค่าให้เศรษฐกิจเกาหลีใต้ได้ในมูลค่ามหาศาล

ทั้งนี้ช่วงวิกฤติฯ ที่เกิดขึ้นก็ได้ส่งผลกระทบให้การเติบโตของมูลค่าไม่สามารถทำได้ในลักษณะเช่นเดิม อาทิ รายได้จากการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่จะหายไป การจัดคอนเสิร์ตหรืองาน Fan Meeting ที่ต้องจัดการเปลี่ยนรูปแบบ  ความยุ่งยากที่เกิดขึ้นแม้จะไม่ได้ทำให้มูลค่าของคลื่นเกาหลีลดลงไป แต่การมีกระแสความนิยมที่เกิดขึ้นจากซีรีส์ Squid Game หรือคอนเทนท์อื่นๆ ก็จะเป็นตัวช่วยหล่อเลี้ยงให้ความนิยมและมูลค่าทางเศรษฐกิจแบบนี้ยังคงอยู่ต่อไปได้  

ขอบคุณ : กรุงเทพธุรกิจ

เผย รายชื่อหุ้นได้รับอนิสงค์ เปิดประเทศ 1 พ.ย. นี้

นายชาญชัย พันทาธนากิจ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สายงานวิจัย บล.เอเซีย พลัส จำกัด กล่าวว่า จากการที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ออกแถลงการณ์ ประกาศเตรียมพร้อม เปิดประเทศ 1 พฤศจิกายน 64 คาดจะส่งผลบวกต่อตลาดหุ้นกลุ่มท่องเที่ยว โดยกลุ่มโรงแรมที่ได้ประโยชน์ทางตรง ได้แก่ บมจ.ดิ เอราวัณ กรุ๊ป (ERW)  คาดว่าจะได้รับประโยชน์มากที่สุด จากสัดส่วนพอร์ตโรงแรม 90% ที่อยู่ในไทย รองลงมา บมจ.โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา (CENTEL) และ บมจ.ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล (MINT) ตามลำดับ

สำหรับส่วนหุ้นกลุ่มอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและน่าสนใจลงทุน ได้แก่ กลุ่มขนส่ง บมจ.ท่าอากาศยานไทย (AOT) กลุ่มค้าปลีก บมจ.ซีพี ออลล์ (CPALL ) และกลุ่มธนาคารพาณิชย์ที่คาดว่าจะได้ประโยชน์ เลือกหุ้นธนาคารกสิกรไทย (KBANK) เป็นหุ้นเด่น จากที่มีพอร์ตลูกค้าธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) รวมถึงธุรกิจท่องเที่ยวมากที่สุด โดยแนะ 5 หุ้นเด่นที่คาดว่าจะได้ประโยชน์จากการเปิดประเทศ และราคาหุ้นยังฟื้นตัวช้า ประกอบด้วย

  1. AOT (ซื้อ/เป้ า 75.00 บาท) ได้ประโยชน์มากสุดจากแผนเปิดประเทศ ส่งผลให้การท่องเที่ยวเริ่มกลับมาฟื้นตัวชัดเจนมากขึ้นช่วยหนุนผลการดำเนินงานเริ่มฟื้นตัวตั้งแต่ 1QFY22E
  2. ERW (ถือ/เป้ า 3.00 บาท) คาดจำนวนนักท่องเที่ยวจะกลับมาฟื้นตัวได้ ช่วยให้ผลการดำเนินงานฟื้นตัวได้ดีกว่าคาดตั้งแต่ 4Q21E เป็นต้นไป ซึ่ง ERW ได้ประโยชน์มากที่สุดจากสัดส่วนรายได้ในประเทศไทยสูงที่สุดในกลุ่มที่ 88%
  3. AMATA (ถือ/เป้ า 19.00 บาท) นักลงทุนสามารถเดินทางเข้าประเทศได้ง่ายขึ้นทำให้ยอด presale และ transfer จะดีขึ้น ถึงแม้ว่าลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นจีนที่ยังไม่อนุญาตให้เดินทางออกนอกประเทศ แต่คาดว่าจะได้รับ Sentiment เชิงบวกของยอด transfer ที่จะเพิ่มขึ้น จากฐานที่ต่ำในช่วงปี 2020-21E
  4. CPALL (ซื้อ/เป้ า 67.00 บาท) คาดรัฐบาลเริ่มคลายเคอร์ฟิวเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว และได้ประโยชน์จากนักท่องเที่ยวที่จะเริ่มกลับมาซึ่งจะทำให้ trafficในร้านสะดวกซื้อสูงขึ้น
  5. BH (Non coverage) เนื่องจากมีสัดส่วนรายได้ผู้ป่วยต่างชาติสูงที่สุดในกลุ่มรองลงมาเป็ น BDMS (ซื้อ/เป้ า 26.50 บาท)ซึ่งจะได้ประโยชน์จากผู้ป่วยต่างชาติ fly-in เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่ม medical tourism ที่อยู่ในกลุ่มประเทศยุโรปและสหรัฐอเมริกา (5% ของรายได้รวม) และตะวันออกกลาง (5% ของรายได้รวม)

   ขอบคุณ : ฐานเศรษฐกิจ

Categories
ข่าวหุ้น

ข่าว หุ้น ธุรกิจ 13 ตุลาคม 2564

ข่าวหุ้น เศรษฐกิจ การเงิน การลงทุน Goo Invest Trade

ข่าวหุ้นล่าสุด ข่าวเด่นวันนี้ วันที่ 13 ตุลาคม 2564

SUNVENDING จับมือ Rabbit Card ซื้อสินค้าผ่านบัตร ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ยุค New Normal

นายคเณศร์ อรรถไพศาลกุล รองผู้อำนวยการสายงานการตลาด บริษัท ซันเวนดิ้ง เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการ ( SUNVENDING)  และนายเคลวิน เหลียง กรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอก สมาร์ทการ์ด ซิสเทม จำกัด ผู้ให้บริการ (Rabbit Card) จับมือ เพิ่มช่องทางการชำระค่าสินค้า ผ่านบัตรแรบบิท ที่เครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติของ SUN Vending เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ยุค New Normal ในจุดบริการต่างๆ เช่น สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส, ห้างสรรพสินค้าและตามแหล่งชุมชน

พร้อมตอบโจทย์ความสะดวกสบาย ความรวดเร็วและไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคในปัจจุบัน รวมถึงการสนับสนุนให้เกิดการใช้จ่ายเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้เงินสด โดยเฉพาะช่วงที่ทั่วโลกให้ความสำคัญเรื่องการป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 การใช้บัตรแรบบิทแทนเงินสด เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถลดความเสี่ยง เลี่ยงติดเชื้อไวรัสโควิด-19

นายคเณศร์ กล่าวว่า การใช้ Rabbit Card เพื่อชำระสินค้าผ่านเครื่อง SUN Vending  ไม่เพียงเข้ามาช่วยเพิ่มความสะดวก รวดเร็ว ให้กับผู้บริโภค แต่ยังเป็นการใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวันแบบไร้สัมผัส เพื่อรองรับการใช้จ่ายในยุค New Normal ได้เป็นอย่างดี เพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดให้เกิดแก่ผู้บริโภค โดย SVT ขอยืนหยัดในการคัดสรรนำเสนอสิ่งที่ดีที่สุดเพื่อลูกค้าตลอดไป

สำหรับ SUNVENDING   เป็นผู้ดำเนินธุรกิจค้าปลีกผ่านเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ ทั้งหมด 4 รูปแบบ ประกอบด้วย 1.เครื่องจำหน่ายสินค้าประเภทเครื่องดื่ม (Can & Bottle) 2.เครื่องจำหน่ายสินค้าแบบบานกระจก (Glass Front) 3.เครื่องจำหน่ายสินค้าประเภทถ้วยแบบร้อนเย็น (Cup Hot and Cold) 4.เครื่องสำหรับขายอาหารกึ่งสำเร็จรูป (Noodle) สินค้าที่จำหน่ายผ่านเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติเป็นสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น เครื่องดื่ม, ขนมขบเคี้ยว, บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป, ขนมปังเบอเกอรี, อุปกรณ์เสริมสำหรับมือถือ และหน้ากากอนามัย เป็นต้น

ในการร่วมมือทางธุรกิจช่วยตอกย้ำกลยุทธ์มุ่งผสานศักยภาพความร่วมมือระหว่างกัน และเป็นการเพิ่มยอดขายให้กับบริษัทฯ เนื่องจากฐานลูกค้าผู้ใช้บริการบัตรแรบบิทในปัจจุบัน มีมากกว่า 15.5 ล้านใบ ซึ่งเมื่อเดือนกรกฎาคม 2564 มีผู้บริโภคชำระค่าสินค้าผ่านเครื่อง SUN Vending ด้วยบัตรแรบบิท เติบโตขึ้นจากปี 2563 ถึง 400% และคาดว่าเมื่อถึงสิ้นปีจะเติบโต 600%

ทั้งนี้เพื่อรองรับการเติบโตทางบริษัทวางเป้าหมายในการเพิ่มจำนวนตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ ที่สามารถรองรับการชำระเงินและจุดเติมเงินผ่าน Rabbit Card  มากกว่า 1,000 ตู้ภายใน 5 ปี ในกรุงเทพฯและปริมณฑล และตามหัวเมืองใหญ่จังหวัดต่างๆ โดยวางเป้าเพิ่มจำนวนตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ รองรับจุดชำระเงินและเติมเงินผ่าน Rabbit Card มากกว่า 1,000 ตู้ ภายใน 5 ป

 

ขอบคุณ : ประชาชาติธุรกิจ

UNIQ แผนเสนอขายให้กับประชาชนทั่วไป ผ่านธนาคารกรุงไทย 1-3 พ.ย. นี้

นายเติมพงษ์  เหมาะสุวรรณ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส กลุ่มงานบัญชีและการเงิน บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ UNIQ กล่าวว่า บริษัทกำหนดอัตราดอกเบี้ยคงที่ สำหรับหุ้นกู้ชนิดระบุชื่อผู้ถือ ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน และมีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ อายุ 3 ปี 8 เดือน ไว้ที่ 4.00% ต่อปี กำหนดจ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน หุ้นกู้ชุดนี้มีแผนเสนอขายให้กับประชาชนทั่วไป ผ่านธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ระหว่างวันที่ 1-3 พฤศจิกายน 64

สำหรับนักลงทุนแสวงหาการลงทุนในตราสารหนี้ที่ผ่านมาให้ผลตอบแทนน่าพอใจ รวมถึงมีอันดับความน่าเชื่อถือในระดับ ‘ลงทุนได้’ (Investment grade)  สำหรับหุ้นกู้  UNIQ  จะได้รับการตอบรับจากนักลงทุนเป็นอย่างดี โดยหุ้นกู้ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในระดับ BBB และอันดับความน่าเชื่อถือของบริษัทอยู่ที่ BBB+ แนวโน้ม Negative จัดอันดับโดยบริษัท ทริส เรทติ้ง จำกัด เมื่อวันที่ 20 กันยายน 64 พิจารณาถึงโอกาสในการเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากการที่บริษัทสามารถชนะการประมูลงานโครงการขนาดใหญ่จากภาครัฐและรัฐวิสาหกิจได้อย่างสม่ำเสมอ ยิ่งสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนมากยิ่งขึ้น

UNIQ เป็นผู้ประกอบการธุรกิจรับเหมาก่อสร้างที่เน้นงานสาธารณูปโภคขนาดกลางและขนาดใหญ่ เช่น งานโยธาสถานีกลางบางซื่อของการรถไฟแห่งประเทศไทย  และยังเป็นผู้เชี่ยวชาญงานก่อสร้างสะพานโครงสร้างเหล็กและสะพานโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก งานก่อสร้างอุโมงค์รถยนต์ลอดใต้ทางแยก งานก่อสร้างทางพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กและแอลฟัลท์ติกคอนกรีต งานระบบสาธารณูปโภคใต้ดินทั้งไฟฟ้า ประปา และโทรศัพท์รวมถึงงานในโครงการรับเหมาก่อสร้างที่มีขนาดใหญ่มูลค่าโครงการสูง หรือเป็นโครงการที่ต้องอาศัยความชำนาญหรือเทคโนโลยีเฉพาะด้าน 

ล่าสุด กิจการร่วมค้า ยูเอ็น-ซีซี  ชนะการประมูลก่อสร้างโครงการทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก สัญญาที่ 1  จากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย มูลค่า 7,350 ล้านบาท โดยเป็นสัดส่วนของ UNIQ 70% หรือมูลค่า 5,145 ล้านบาท และสัดส่วนของ “CCSP” 30% คิดเป็นมูลค่า 2,205 ล้านบาท โดยได้ลงนามสัญญาในวันที่ 11 ตุลาคม 64 เรียบร้อยแล้ว ทำให้บริษัทมีรายได้อย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ลูกค้าของบริษัทจะเป็นหน่วยงานภาครัฐหรือรัฐวิสาหกิจ เช่น กรมทางหลวง การไฟฟ้านครหลวง การทางพิเศษแห่งประเทศไทย การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) การรถไฟแห่งประเทศไทย 

 

ขอบคุณ : ฐานเศรษฐกิจ

 

จี้รัฐบาลแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ขยายมาตรการพักชำระหนี้ กระตุ้นเศรษฐกิจ

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศ กล่าวว่า ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนกันยายน 64 อยู่ที่ระดับ 79.0 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 76.8 ในเดือนสิงหาคม 64 โดยค่าดัชนี ปรับตัวเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน นับตั้งแต่เดือนเมษายน 64

โดยมีปัจจัยที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนี ได้แก่ สถานการณ์โควิด-19 ที่เริ่มคลี่คลายและจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันเริ่มลดลง ส่งผลให้ภาครัฐมีการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด พร้อมทั้งอนุญาตให้กิจการบางประเภทรวมถึงห้างสรรพสินค้าสามารถเปิดดำเนินการได้ภายใต้เงื่อนไข ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น

ขณะที่เศรษฐกิจในประเทศมีทิศทางดีขึ้น นอกจากนี้จำนวนผู้ติดเชื้อในโรงงานอุตสาหกรรมลดลงจากการใช้มาตรการ Bubble and Seal ขณะที่ภาคการผลิตขยายตัวจากอุปสงค์ในประเทศและต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น รวมถึงมีมีปัจจัยลบจากต้นทุนประกอบการปรับตัวสูงขึ้นทั้งราคาวัตถุดิบ ราคาน้ำมันและ ค่าขนส่ง รวมถึงปัญหาน้ำท่วมที่ส่งผลกระทบต่อวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหารและทำให้การขนส่งล่าช้า

นอกจากนี้ ปัญหาความล่าช้าของเรือสินค้าทำให้การส่งออกสินค้าไม่ได้ตามกำหนด ขณะที่ปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และอัตราค่าระวางเรือที่ทรงตัวในระดับสูง รวมถึงปัญหาขาดแคลนชิปเซมิคอนดักเตอร์ในอุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ฯ ยังไม่คลี่คลาย

สำหรับดัชนี คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 93.0 จากระดับ 90.9 ในเดือนสิงหาคม 64 โดยมีผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นว่าความคืบหน้าในการฉีดวัคซีนให้กับประชาชน รวมถึงมีการพิจารณาผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์อย่างต่อเนื่องของภาครัฐ ทั้งนโยบายการเปิดประเทศจะช่วยให้เศรษฐกิจและภาคการท่องเที่ยวค่อยๆ ฟื้นตัว นอกจากนี้ผู้ประกอบการเห็นว่าภาครัฐควรเร่งออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด19

โดยมีข้อเสนอให้ภาครัฐคือ ให้ภาครัฐขยายมาตรการพักชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยออกไปอย่างน้อย 6 เดือน ถึง 1 ปี ให้กับสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของภาครัฐ รวมถึงสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อ เสริมสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการ SMEs รวมถึงเร่งออกมาตรการฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ เพื่อเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศและ เสริมสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการ โดยดำเนินนโยบายที่มีการผ่อนคลายกิจกรรมทางธุรกิจมากขึ้นและบังคับใช้มาตรการควบคุมโรคเท่าที่จำเป็นเพื่อให้เศรษฐกิจเดินต่อไปได้ ซึ่ง ขอให้ภาครัฐเร่งแก้ไขปัญหาน้ำท่วมรวมทั้งประเมินสถานการณ์ล่วงหน้าและวางแผนแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ประกอบการและนักลงทุนต่างชาติ รวมถึงให้ภาครัฐดูแลราคาพลังงาน และราคาน้ำมันให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อลดภาระด้านต้นทุนให้กับผู้ประกอบการ

ทั้งนี้สภาอุตสาหกรรม ได้ทำการรวบรวมข้อมูลผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม และข้อมูลตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมจากหน่วยงานต่างๆ ย้อนหลัง 3 ปีดทำเป็น Dashboard เผยแพร่ในเว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลภาคเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม Industry Data Space (iDS) ของสภาอุตสาหกรรม

ขอบคุณ: เนชั่น

แกะเศรษฐกิจเกาหลี จากกระแสนิยม Squid Game

 แกะเศรษฐกิจเกาหลี จากกระแสนิยม Squid Game

“ Squid Game “ เล่นเกมส์ลุ้นตาย ซีรีส์เกาหลีที่กำลังฉายผ่าน Netflix ที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลกในปัจจุบัน มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับการลงเล่นเกมเด็กๆ ที่กติกาง่ายสุดๆ แถมมีรางวัลมูลค่ามหาศาลรออยู่ ทว่าต้องแลกด้วยชีวิต หากว่าผู้เล่นรายนั้นๆ ตกรอบ

ซี่รี่ย์เรื่องดังกล่าวได้รับความนิยมในหลายประเทศ และถูกพูดถึงเป็นกระแสสังคมในหลายๆ มิติ โดยเนื้อหาที่มีการสอดแทรกเกมพื้นบ้านของคนเกาหลีซึ่งวง BTS และ Blackpink รวมถึงภาพยนตร์ Parasite ได้สร้างประวัติศาสตร์ในสังคมโลกในช่วงรอบปีที่ผ่านมา เพราะผู้คนที่รับชมคอนเทนท์เหล่านี้ต่างก็ต้องซึบซับกับวัฒนธรรมเกาหลีอย่างเลี่ยงไม่ได้

 โดยเมื่อเร็วนี้ๆ ทาง Netflix ประเทศฝรั่งเศส ได้จัดคาเฟ่ Squid Game ที่กรุงปารีส โดยแฟนซีรีส์สามารถเข้ามาเล่นเกมแกะน้ำตาล ซึ่งเป็นเกมในซีรีส์ ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก รวมถึงเมื่อเร็วๆ นี้ ศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีใต้ในกรุงอาบูดาบี ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) ได้ตอบสนองกระแสด้วยการจัดการแข่งขัน Squid Game ของจริง แต่ไม่มีเงินรางวัลและไม่มีการเสี่ยงอันตรายแต่อย่างใด ซึ่งมีการเปิดรับสมัครผู้เข้าแข่งขันจัดงานขึ้นเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ที่ผ่านมา

นอกจากการทำให้คนจำนวนมากรู้จักเกาหลีใต้ในแผนที่โลก แต่ Soft Power ในนามคลื่นเกาหลี ยังสร้างผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจที่น่าพึงพอใจให้กับเกาหลีใต้ แม้จะต้องเผชิญกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกจากการแพร่ระบาดของโควิด-19

ความนิยม “คลื่นเกาหลี” ที่เพิ่มขึ้นในสังคมโลก   เกิดจากการเผยแพร่วัฒนธรรมเกาหลีไปยังต่างประเทศ ผ่านคอนเทนท์ในรูปแบบต่างๆ อาทิ เพลง ซีรี่ส์ หนัง หรือรูปแบบอื่นที่มีการสอดแทรกวัฒนธรรมเกาหลี ซึ่งถูกเรียกรวมเป็นอุตสาหกรรมคอนเทนท์

ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจาก “คลื่นเกาหลี”   แม้ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา เกาหลีใต้ก็ต้องพบเจอกับการหดตัวทางเศรษฐกิจจากการวิกฤติการแพร่ระบาดของโควิด-19 ไม่ต่างจากประเทศอื่นทั่วโลก แต่จากข้อมูลในเว็บไซต์ The Straits Times พบว่า ในปีที่ผ่านมา เกาหลีใต้มีการส่งออกคอนเทนต์ มูลค่าทั้งหมดรวม 1.08 หมื่นล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจากปี 2019 กว่า 610 ล้านดอลาร์ หรือประมาณ 6% โดยทาง Netflix มีส่วนสร้างมูลค่าให้กับเศรษฐกิจเกาหลีใต้ได้ถึง 1.9 พันล้านดอลลาร์ แสดงให้เห็นอุตสาหกรรมคอนเทนท์ของเกาหลีใต้สามารถเอาตัวรอดจากวิกฤติฯ ครั้งนี้ไปได้

นอกจากนั้น ผลพลอยได้ทางเศรษฐกิจจากการส่งออกคอนเทนท์ ยังมาในรูปของสินค้าและบริการที่มีอยู่หรือแฝงมาในคอนเทนท์ ซึ่งสร้างผลประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น

การส่งออกสินค้า ข้อมูลจาก Yonhap News Agency ระบุว่า ในปี 2019 เกาหลีใต้ส่งออกสินค้าวัฒนธรรม อาทิ เกมคอมพิวเตอร์ โปรแกรมทัวร์ และเครื่องสำอาง มูลค่ารวม 1.23 หมื่นล้านดอลลาร์ สูงขึ้นกว่า 22.4% จากปีก่อนหน้า  

ด้านการท่องเที่ยว เปิดเผยข้อมูลก่อนช่วงวิกฤติฯ มีการประเมินว่า 13% ของนักท่องเที่ยวทั้งหมดของเกาหลีใต้ในปี 2019 เข้ามาด้วยจุดประสงค์เพื่อสัมผัสประสบการณ์ Pop culture และเข้าร่วมงานที่จัดขึ้นสำหรับแฟนคลับเหล่านักแสดงหรือศิลปินเกาหลี โดยมูลค่าการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ รวมแล้วสูงถึง 2.7 พันล้านดอลลาร์

 การสร้างงาน สร้างสรรค์ผลงานนั้นเพิ่มขึ้นเช่นกัน จากปี 2009 ถึง 2019 จำนวนคนทำงานด้าน Creative และ Artist service เพิ่มขึ้น 27% และจากการเปิดเผยโดย Netflix ระบุว่า ช่วงปี 2016 ถึง 2020 มีการจ้างพนังงานประจำถึง 16,000 ตำแหน่ง โดยคาดว่าได้สร้างรายได้ให้เศรษฐกิจเกาหลีใต้ มูลค่า 4.7 พันล้านดอลลาร์ แม้อุตสาหกรรมคอนเทนท์จะเติบโตและสร้างมูลค่าให้เศรษฐกิจเกาหลีใต้ได้ในมูลค่ามหาศาล

ทั้งนี้ช่วงวิกฤติฯ ที่เกิดขึ้นก็ได้ส่งผลกระทบให้การเติบโตของมูลค่าไม่สามารถทำได้ในลักษณะเช่นเดิม อาทิ รายได้จากการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่จะหายไป การจัดคอนเสิร์ตหรืองาน Fan Meeting ที่ต้องจัดการเปลี่ยนรูปแบบ  ความยุ่งยากที่เกิดขึ้นแม้จะไม่ได้ทำให้มูลค่าของคลื่นเกาหลีลดลงไป แต่การมีกระแสความนิยมที่เกิดขึ้นจากซีรีส์ Squid Game หรือคอนเทนท์อื่นๆ ก็จะเป็นตัวช่วยหล่อเลี้ยงให้ความนิยมและมูลค่าทางเศรษฐกิจแบบนี้ยังคงอยู่ต่อไปได้  

ขอบคุณ : กรุงเทพธุรกิจ

เผย รายชื่อหุ้นได้รับอนิสงค์ เปิดประเทศ 1 พ.ย. นี้

นายชาญชัย พันทาธนากิจ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สายงานวิจัย บล.เอเซีย พลัส จำกัด กล่าวว่า จากการที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ออกแถลงการณ์ ประกาศเตรียมพร้อม เปิดประเทศ 1 พฤศจิกายน 64 คาดจะส่งผลบวกต่อตลาดหุ้นกลุ่มท่องเที่ยว โดยกลุ่มโรงแรมที่ได้ประโยชน์ทางตรง ได้แก่ บมจ.ดิ เอราวัณ กรุ๊ป (ERW)  คาดว่าจะได้รับประโยชน์มากที่สุด จากสัดส่วนพอร์ตโรงแรม 90% ที่อยู่ในไทย รองลงมา บมจ.โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา (CENTEL) และ บมจ.ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล (MINT) ตามลำดับ

สำหรับส่วนหุ้นกลุ่มอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและน่าสนใจลงทุน ได้แก่ กลุ่มขนส่ง บมจ.ท่าอากาศยานไทย (AOT) กลุ่มค้าปลีก บมจ.ซีพี ออลล์ (CPALL ) และกลุ่มธนาคารพาณิชย์ที่คาดว่าจะได้ประโยชน์ เลือกหุ้นธนาคารกสิกรไทย (KBANK) เป็นหุ้นเด่น จากที่มีพอร์ตลูกค้าธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) รวมถึงธุรกิจท่องเที่ยวมากที่สุด โดยแนะ 5 หุ้นเด่นที่คาดว่าจะได้ประโยชน์จากการเปิดประเทศ และราคาหุ้นยังฟื้นตัวช้า ประกอบด้วย

  1. AOT (ซื้อ/เป้ า 75.00 บาท) ได้ประโยชน์มากสุดจากแผนเปิดประเทศ ส่งผลให้การท่องเที่ยวเริ่มกลับมาฟื้นตัวชัดเจนมากขึ้นช่วยหนุนผลการดำเนินงานเริ่มฟื้นตัวตั้งแต่ 1QFY22E
  2. ERW (ถือ/เป้ า 3.00 บาท) คาดจำนวนนักท่องเที่ยวจะกลับมาฟื้นตัวได้ ช่วยให้ผลการดำเนินงานฟื้นตัวได้ดีกว่าคาดตั้งแต่ 4Q21E เป็นต้นไป ซึ่ง ERW ได้ประโยชน์มากที่สุดจากสัดส่วนรายได้ในประเทศไทยสูงที่สุดในกลุ่มที่ 88%
  3. AMATA (ถือ/เป้ า 19.00 บาท) นักลงทุนสามารถเดินทางเข้าประเทศได้ง่ายขึ้นทำให้ยอด presale และ transfer จะดีขึ้น ถึงแม้ว่าลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นจีนที่ยังไม่อนุญาตให้เดินทางออกนอกประเทศ แต่คาดว่าจะได้รับ Sentiment เชิงบวกของยอด transfer ที่จะเพิ่มขึ้น จากฐานที่ต่ำในช่วงปี 2020-21E
  4. CPALL (ซื้อ/เป้ า 67.00 บาท) คาดรัฐบาลเริ่มคลายเคอร์ฟิวเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว และได้ประโยชน์จากนักท่องเที่ยวที่จะเริ่มกลับมาซึ่งจะทำให้ trafficในร้านสะดวกซื้อสูงขึ้น
  5. BH (Non coverage) เนื่องจากมีสัดส่วนรายได้ผู้ป่วยต่างชาติสูงที่สุดในกลุ่มรองลงมาเป็ น BDMS (ซื้อ/เป้ า 26.50 บาท)ซึ่งจะได้ประโยชน์จากผู้ป่วยต่างชาติ fly-in เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่ม medical tourism ที่อยู่ในกลุ่มประเทศยุโรปและสหรัฐอเมริกา (5% ของรายได้รวม) และตะวันออกกลาง (5% ของรายได้รวม)

   ขอบคุณ : ฐานเศรษฐกิจ

Categories
ข่าวหุ้น

ข่าว หุ้น ธุรกิจ 12 ตุลาคม 2564

ข่าวหุ้น เศรษฐกิจ การเงิน การลงทุน Goo Invest Trade

ข่าวหุ้นล่าสุด ข่าวเด่นวันนี้ วันที่ 12 ตุลาคม 2564

เคอรี่ จับมือ เบทาโกร คลอดธุรกิจ ขนส่งควบคุมอุณหภูมิครบวงจร ตั้งเป้า เบอร์1 ของไทย

บริษัท เคอรี่ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)  จับมือกับ เครือเบทาโกร ผนึกกำลังทางธุรกิจจัดตั้งบริษัทใหม่ “Kerry Betagro Company Limited” คลอดธุรกิจ” KERRY COOL” ที่แรกของไทยที่ให้บริการขนส่งสินค้าด้วยแพลตฟอร์มการขนส่งแบบควบคุมอุณหภูมิ (Cold Delivery Platform) gxHoเทคโนโลยีและบริการที่มีคุณภาพระดับโลก และราคาที่เข้าถึงได้ โดยบริการของ KERRY COOL ได้นำหลักการของวิธีการขนส่งแบบ Hub-and-Spoke มาปรับใช้อย่างเหมาะสมและครอบคลุมทั้งผลิตภัณฑ์อาหารสดแช่เย็น ไปจนถึงเนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์แช่แข็งต่างๆ

นายอเล็กซ์ อึ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เคอรี่ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ประเทศของเราต้องการคุณภาพที่ดีสำหรับการขนส่งผลิตภัณฑ์ทั้งแบบแช่เย็นและแช่แข็ง ซึ่งมีความต้องการอยู่ทั่วประเทศ โดยผู้ให้บริการขนส่งสินค้าแบบควบคุมอุณหภูมิส่วนใหญ่เป็นรายเล็กหลายรายในตลาดและยังดำเนินธุรกิจแบบดั้งเดิม รวมถึงการบริการยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างครบถ้วน ซึ่งรถขนส่งเย็นของเราสามารถเชื่อมต่อข้อมูลของรถทุกคันผ่านระบบดาวเทียมซึ่งทำให้ทราบถึงสถานะการขนส่งแบบเรียลไทม์ และคงอุณหภูมิที่แน่นอนตลอดเส้นทาง ถือเป็นเทคโนโลยีล่าสุดที่เราพร้อมส่งมอบให้กับลูกค้าและสร้างความโดดเด่นแตกต่างจากผู้ประกอบการรายอื่นในตลาด คาดว่าบริษัทจะสามารถครองใจลูกค้าด้วยคุณภาพที่เป็นเลิศเสมือนกับมาตรฐานการให้บริการธุรกิจจัดส่งพัสดุด่วนของเรา

นายวสิษฐ แต้ไพสิฐพงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ เครือเบทาโกร  กล่าวว่า การผนึกกำลังระหว่างเครือเบทาโกร และ เคอรี่ เอ็กซ์เพรส เป็นการพัฒนาธุรกิจ “KERRY COOL” บริการขนส่งสินค้าด้วยแพลตฟอร์มแบบควบคุมอุณหภูมิ (Cold Delivery Platform) ที่ได้มาตรฐานคุณภาพระดับสากล เพื่อให้ผู้บริโภค และผู้ประกอบการ ทั้งรายใหญ่ และ รายย่อย ได้มีทางเลือก ตอบโจทย์ความต้องการในปัจจุบันในการดำเนินธุรกิจ ส่งมอบอาหารที่มีคุณภาพและปลอดภัยสูงสู่มือลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์ความต้องการด้วยราคาที่เข้าถึงได้

สำหรับ KERRY COOL เป็น บริษัท เคอรี่ เบทาโกร จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ร่วมทุนจดทะเบียนขั้นต้น 1 ล้านบาท ซึ่งมีสัดส่วนการลงทุนจากเคอรี่ ร้อยละ 60 และ เบทาโกร ร้อยละ 40 และมีแผนจะเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 50 ล้านบาท โดยมีพื้นที่ให้บริการของจะครอบคลุมทั้งลูกค้า Walk-In ที่สาขาของเคอรี่ เอ็กซ์เพรส และ ร้านในเครือเบทาโกร รวมถึงช่องทาง D2D booking ซึ่งเป็นบริการเข้ารับพัสดุที่หน้าบ้าน ลูกค้าสามารถจองรถเข้ารับพัสดุได้ด้วยตนเองผ่านทั้งทางแอปพลิเคชั่นมือถือและเว็บไซต์

ทั้งนี้จะเปิดให้บริการแบบเต็มรูปแบบช่วงไตรมาส 2 ของปี 2565 ตั้งเป้าหมายยกระดับมาตรฐานการให้บริการขนส่งพัสดุแบบควบคุมอุณหภูมิให้เหมือนกับที่ได้เข้ามาสร้างปรากฎการณ์ในธุรกิจจัดส่งพัสดุด่วนพร้อมกับมอบคุณภาพและมาตรฐานการให้บริการระดับแนวหน้าและเป็นสากล ในราคาที่คนไทยทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงได้

ขอบคุณ : Hooninside,ข่าวหุ้น

DPAINT จัดโรดโชว์ออนไลน์ นำเสนอขายหุ้น IPO

DPAINT จัดโรดโชว์ออนไลน์ แสดงวิสัยทัศน์ความเป็นหนึ่งในผู้นำนวัตกรรมสี นำเสนอข้อมูลสรุปการเสนอขายหุ้น IPO เพื่อแนะนำธุรกิจ และสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุน

นายรณฤทธิ์ ตั้งคารวคุณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สีเดลต้า จำกัด (มหาชน) หรือ DPAINT กล่าวว่า  บริษัทได้เตรียมนำเสนอข้อมูลธุรกิจในงานโรดโชว์ออนไลน์ เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 64 ที่ผ่านมา โดยให้นักลงทุนได้รับทราบเกี่ยวกับรายละเอียดของการดำเนินธุรกิจ จุดเด่น และโอกาสการเติบโตของบริษัทในอนาคต ก่อนเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุน (IPO) ภายในเดือนตุลาคมนี้

ซึ่งการเข้าจดทะเบียนในครั้งนี้ ถือเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับธุรกิจที่ได้รับอานิสงส์จากการอัดฉีดเม็ดเงินเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจ โดยภายหลังสถานการณ์โควิด-19 มีทิศทางที่ดีขึ้น งานก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์เริ่มขับเคลื่อนเดินหน้าตามแผนงานที่วางไว้ ส่งผลให้ความต้องการสีทาอาคารเติบโตตามมา จึงมองว่า DPAINT จะเป็นหุ้นคุณภาพสำหรับนักลงทุนที่กำลังมองหาบริษัทซึ่งมีเส้นทางและปัจจัยส่งเสริมการเติบโตที่มั่นคง

โดยผลประกอบการในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา รายได้และกำไรเติบโตต่อเนื่องทุกปี แม้ภายใต้สถานการณ์โควิด-19 โดยปี 2563 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีรายได้จากการขายและบริการ 596.2 ล้านบาท กำไรสุทธิอยู่ที่ 41.9 ล้านบาท อัตรากำไรขั้นต้น 41.9% อัตรากำไรสุทธิ 7.0% ส่วนภาพรวมผลการดำเนินงานงวด 6 เดือนแรกปี 64 มีรายได้จากการขายและบริการ 387.7 ล้านบาท เติบโตจากงวดเดียวกันของปีก่อน 31.7% กำไรสุทธิ 32.9 ล้านบาท เติบโต 48.2% อัตรากำไรขั้นต้น 43.3% อัตรากำไรสุทธิ 8.5%.

ทั้งนี้ DPAINT ถิอเป็นผู้นำการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สีทาอาคารที่มีคุณสูง ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาเสริมพอร์ต เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า และเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดสีทาอาคารในประเทศไทยที่มีมูลค่ารวมสูงถึง 20,000 ล้านบาท โดยการระดมทุนครั้งนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ขีดความสามารถทางการแข่งขัน และเดินหน้าสู่การเป็นผู้นำตลาดสีด้านนวัตกรรมได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ โดย DPAINT อยู่ระหว่างเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่ประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) จำนวน 53.25 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (Par) 1.00 บาทต่อหุ้น คิดเป็น 23.15% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนในครั้งนี้

ขอบคุณ: ข่าวออนไลน์RYT9

MAKRO เดินหน้าขอไฟลิ่งขาย PO ต่อ หวังเพิ่มฟรีโฟลทเป็น 15% ดันมาร์เก็ตแคปเข้าดัชนี SET50 วางแผนลงทุน 5 ปีใช้งบ 130,000 ล้านบาท

นางสุชาดา อิทธิจารุกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ MAKRO กล่าวว่า หลังเสนอขาย PO จะทำให้สัดส่วนการถือหุ้นในมือของรายย่อย (ฟรีโฟลท) เพิ่มขึ้นเป็นไม่ต่ำกว่า 15% จากปัจจุบัน 7%  และช่วยให้มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เก็ตแคป) เพิ่มขึ้น สามารถเข้าไปอยู่ในดัชนี SET50 ได้แน่นอน และแม้รวมกิจการของกลุ่มโลตัสส์เข้ามาในบริษัท แต่ยังคงยึดมั่นการทำธุรกิจที่เป็นคู่คิดทางธุรกิจทุกกลุ่มผู้ประกอบการ พร้อมสนับสนุนผู้ผลิตสินค้าและร้านค้าปลีกรายย่อย ตลอดจนให้ความสำคัญกับการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงจำหน่ายสินค้าในราคาที่เป็นธรรม

ในการเข้าถือหุ้นและรับโอนกิจการทั้งหมดของกลุ่มโลตัสส์จะเพิ่มโอกาสการเติบโตจากการขยายธุรกิจในต่างประเทศ โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งเป็นตลาดที่มีศักยภาพและมีประชากรจำนวนมาก เพื่อรองรับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหลังโควิด-19 และร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น

โดยเตรียมงบลงทุนในช่วง 5 ปีข้างหน้าสำหรับธุรกิจของ MAKRO และกลุ่มโลตัสส์ 1.3 แสนล้านบาท แบ่งเป็นธุรกิจกลุ่ม MAKRO6 หมื่นล้านบาท และกลุ่มโลตัสส์ 7 หมื่นล้านบาท ใช้พัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการ ซึ่งนอกจากการขยายสาขาแล้ว จะหันมาเน้นการลงทุนด้านดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น

ขณะเดียวกัน ตั้งเป้าจะขยายสัดส่วนรายได้จากต่างประเทศเพิ่มเป็นไม่ต่ำกว่า 10% ของรายได้รวมภายในช่วง 5 ปีหรือในปี 2568 จากปัจจุบัน 5% ส่วนหนึ่งจะมีการรับรู้รายได้จากสาขาในประเทศมาเลเซียรวมถึงมีแผนขยายสาขาทั้ง MAKRO และโลตัสส์ในต่างประเทศเพิ่มขึ้น จากเดิม MAKRO มี 7 สาขาในต่างประเทศ โดยปัจจุบันได้เริ่มศึกษารูปแบบของตลาดทั้งแบบ B2B และ B2C และการลงทุนแบบก่อสร้างใหม่เอง หรือไปร่วมลงทุนกับพันธมิตรที่อยู่ในประเทศนั้นด้วย

นางเสาวลักษณ์ ถิฐาพันธ์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจสยามแม็คโครสายงาน Group Shared Service กล่าวว่า การรับโอนกิจการของกลุ่มโลตัสส์ครั้งนี้ จะทำให้บริษัทมีมาร์เก็ตที่ใหญ่ขึ้น ซึ่งส่งผลดีต่อภาพรวมของผลการดำเนินงานของบริษัทที่สามารถรับรู้รายได้ของกลุ่มโลตัสส์ รวมถึงรายได้จากพื้นที่เช่าที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น หลังจากที่รัฐบาลผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ ที่มีผลดีต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นในการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค

หากได้รับการอนุมัติจากผู้ถือหุ้น บริษัทเตรียมยื่นขออนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)เพื่อเสนอขายหุ้น PO คาดว่า จะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ โดยที่ผู้ถือหุ้นเดิมคือบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) (CPALL), บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และบริษัท ซี.พี.เมอร์แชนไดซิ่ง จำกัด ที่ได้รับหุ้น PP จากการรับโอนกิจการดังกล่าว จะร่วมเสนอขายหุ้นสามัญที่ถืออยู่ในบริษัทด้วยบางส่วน พร้อมกับการทำ PO ในครั้งนี้ เพื่อเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นโดยผู้ถือหุ้นรายย่อย

ทั้งนี้หลังประกาศปรับโครงสร้างธุรกิจค้าปลีกครั้งใหญ่ของ “เครือซีพี” ให้บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) (MAKRO) รับโอนกิจการทั้งหมดของบริษัทซี.พี. รีเทล โฮลดิ้ง จำกัด (CPRH) ที่ถือหุ้นในบริษัท ซี.พี. รีเทล ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (CPRD) ในสัดส่วน 99.99% และ CPRD ถือหุ้นสัดส่วน 99.99% ในบริษัท โลตัสส์สโตร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกภายใต้ชื่อ Lotus’s ในประเทศไทย และถือหุ้นสัดส่วน 100% ใน Lotuss Stores (Malaysia) Sdn. Bhd. ประกอบธุรกิจค้าปลีกภายใต้ชื่อ Lotus’s ในประเทศมาเลเซียด้ว

ขอบคุณ: ฐานเศรษฐกิจ

“เถ้าแก่น้อย” โมเดลโรงงานต้นแบบป้องกันโควิด19 เดินหน้าขยายกิจการในจีน

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ผ่านมามีผลกระทบทุกบริษัทหนึ่งในนั้นก็คือ บริษัท เถ้าแก่น้อย ฟู๊ดแอนด์มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน)    ทำให้ทางกระทรวงสาธารณสุขออกมตราการต่างๆมา ทำให้ทุกบริษัทต้องดำเนินการตามแนวทางปฎิบัติที่กระทรวงสาธารณสุขแนะนำ โดยจัดหาที่พักให้กับพนักงานทั้งในและนอกโรงงาน จัดทำทะเบียนพนักงาน พัฒนาโปรแกรมในโทรศัพท์มือถือมาใช้ในการกำกับดูแลพนักงาน สามารถระบุสถานที่หรือเวลาพนักงานทำงานอยู่ รวมถึงระบุที่นั่งบนรถรับ-ส่งพนักงาน และจำกัดที่นั่งไม่เกิน 50%

               สำหรับบริษัทเถ้าแก่น้อย  ได้ปรับมาตรการเชิงรุกและให้ความสำคัญการดำเนินการตามมาตรการป้องกันโรคในพื้นที่เฉพาะ (Bubble and Seal) เพื่อป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19  จนได้รับเกียรติบัตรสถานประกอบกิจการที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาอยุธยาโมเดล ถือเป็นโรงงานต้นแบบมาตรฐานในการจัดการป้องกันควบคุมโรคโควิด 19 ภายใต้ “เศรษฐกิจเดินหน้า อยุธยาปลอดภัย ทุกภาคส่วนร่วมใจ ห่างไกลโควิด” จากหน่วยงานราชการในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

               นายอิทธิพัทธ์ พีระเดชาพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เถ้าแก่น้อย ฟู๊ดแอนด์มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าจากการปรับมาตรการเชิงรุกในการบริหารจัดการภายในโรงงานผลิต ส่งผลดีต่อกระบวนการผลิตสินค้าในโรงงานและความสามารถการผลิตสินค้า ล่าสุดได้ทยอยติดตั้งเครื่องจักรใหม่เพื่อขยายกำลังการผลิต รองรับคำสั่งซื้อสินค้าจากประเทศจีนที่เพิ่มขึ้นในช่วงปลายปีนี้ ปัจจุบัน TKN มียอดคำสั่งซื้อจากจีนเฉลี่ย 150-170 ตู้คอนเทนเนอร์ และได้ร่วมกับคู่ค้าวางแผนบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์เพื่อแก้ไขปัญหาค่าระวางการขนส่งสินค้าทางเรือและตู้คอนเทนเนอร์ที่เพิ่มขึ้นกว่า 500%

ซึ่งแนวโน้มตลาดในไตรมาสสุดท้ายนี้ คาดว่าจะเติบโตอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา หลังจากที่บริษัทเร่งปรับกลยุทธ์การจัดจำหน่ายในประเทศจีน เพื่อรองรับกำลังซื้อของผู้บริโภคที่กำลังฟื้นตัว ส่งผลให้มียอดคำสั่งซื้อทยอยกลับมาตั้งแต่ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2564 

 ทั้งนี้ในการปรับกลยุทธ์การขายในประเทศจีนโดยการเพิ่มตัวแทนจำหน่ายสินค้า ปัจจุบันเริ่มเห็นผลลัพธ์ที่ดี เห็นได้จากออเดอร์ที่เข้ามาตั้งแต่ช่วงต้นครึ่งปีหลัง 2564 แต่บริษัทไม่สามารถตอบสนอง Supply สินค้าได้ทันตามออเดอร์ที่เข้ามา เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 หลังจากได้วางมาตรการเชิงรุกเพื่อป้องกันและควบคุมโรคโควิด 19 ภายในโรงงาน ส่งผลให้แนวโน้มดีขึ้นในไตรมาส 4/64 ประกอบกับบริษัทได้สั่งซื้อเครื่องจักรใหม่เพิ่มเติม ทำให้สามารถเดินเครื่องจักรผลิตสินค้าได้ทันกับความต้องการของลูกค้าในจีนได้

ขอบคุณ: ฐานเศรษฐกิจ