ข่าว หุ้น ธุรกิจ เศรษฐกิจ วันที่ 30 มกราคม 2566 (รอบเช้า)
ข่าว หุ้น ธุรกิจ เศรษฐกิจ วันที่ 30 มกราคม 2566 ตลาดจับตาเฟดแถลงผลการประชุมวันพุธนี้ คาดขึ้นดอกเบี้ย
จากกรณีธนาคารกสิกรไทย มีการเผยแพร่กระจายภาพโฆษณาผลิตภัณฑ์ประกันภัยใหม่ที่มีข้อความว่า “โดนแฮกเงินหาย” ทางธนาคารกสิกรไทยได้ออกมาขออภัยลูกค้าและประชาชน โดย หยุดขายประกัน “ช้อปออนไลน์” ย้ำไม่ได้มีเจตนาในการเสนอขายผลิตภัณฑ์ ในช่วงสถานการณ์ที่สังคมมีกระแสวิตก
โดยทางธนาคารมีการจัดทำโฆษณาเพื่อสื่อสารทางการตลาดที่สอดคล้องกับประสบการณ์ในการซื้อขายสินค้าออนไลน์ของลูกค้า 7 รูปแบบ ซึ่งข้อเสนอตามภาพเป็นการนำเสนอให้กับลูกค้าเฉพาะกลุ่ม ประมาณ 12,000 คนผ่าน K PLUS เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา
ก่อนจะเกิดกระแสข่าวการตัดเงินที่ผิดปกติผ่านบัตรเครดิตและบัตรเดบิตของประชาชนจำนวนมาก ตามที่สื่อต่าง ๆ ได้มีการนำเสนอในช่วงนี้โดยทันที
หลังจากที่ทราบประเด็นความเดือดร้อนดังกล่าว ธนาคารจึงได้ระงับการโฆษณาผลิตภัณฑ์ด้วยรูปแบบข้างต้นในทุกช่องทาง ประกันดังกล่าวธนาคารเป็นผู้เสนอขาย โดยจะให้ความคุ้มครองความเสียหาย 3 รูปแบบ ได้แก่
ทั้งนี้ ขอยืนยัน ว่าธนาคารไม่ได้มีเจตนาในการเสนอขายผลิตภัณฑ์หรือบริการรูปแบบนี้ ในช่วงสถานการณ์ที่สังคมมีกระแสวิตกเช่นนี้แต่อย่างใด ขออภัยลูกค้าและประชาชนอย่างสูง ที่ทำให้เกิดการเข้าใจผิดต่อกรณีที่เกิดขึ้น
ขอบคุณ : เว็บไซต์ธนาคารกสิกรไทย
จากกรณีที่ประชาชนถูกตัดเงินจำนวนมากจากบัญชีธนาคาร ทำให้เกิดความเสียหายจำนวนมาก ธนาคารแห่งประเทศไทย และ สมาคมธนาคารไทย ได้ออกมาชี้แจงกรณีการตัดเงินที่ผิดปกติ ผ่านบัตรเครดิตและบัตรเดบิตของลูกค้าจำนวนมาก เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม ที่ผ่านมา ว่ามิได้เกิดจากการรั่วไหลของข้อมูลจากระบบธนาคาร โดยสาเหตุสำคัญเกิดจากการที่มิจฉาชีพสุ่มข้อมูลบัตรและนำไปสวมรอยทำธุรกรรมผ่านร้านค้าออนไลน์ต่างประเทศ ที่ไม่มีการใช้ One Time Password (OTP)
พบว่าตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคม มีบัตรที่มีการใช้งานผิดปกติจากเหตุข้างต้นจำนวน 10,700 ใบ โดยในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เป็นรายการใช้จากบัตรเดบิตเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งการใช้งานส่วนใหญ่มีจำนวนเงินต่อรายการต่ำ เช่น 1 ดอลลาร์ สรอ. และมีการใช้เป็นจำนวนหลาย ๆ ครั้ง ทั้งนี้ ธนาคารมีระบบตรวจจับธุรกรรมที่ผิดปกติ โดยแต่ละธนาคารจะกำหนดเพดานและเงื่อนไขการใช้งานของบัตรตามลักษณะประเภทร้านค้าและประเภทสินค้าแตกต่างกันไป นอกจากนี้ ธปท. และ สมาคมธนาคารไทย ได้ร่วมกันกำหนดมาตรการเพิ่มเติมเพื่อป้องกันและแก้ปัญหา ดังนี้
สำหรับกรณีที่ลูกค้าพบความผิดปกติของธุรกรรมด้วยตนเอง สามารถติดต่อคอลเซ็นเตอร์หรือสาขาของธนาคารผู้ออกบัตร เพื่อแจ้งตรวจสอบและยืนยันความถูกต้องของธุรกรรมในทันที โดยธนาคารจะดูแลแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นโดยเร็วที่สุด
สำหรับประชาชนทั่วไป ควรตรวจสอบการทำธุรกรรมของตนเองอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งระมัดระวังการผูกบัตรเดบิตในการทำธุรกรรม โดยเฉพาะกับแพลตฟอร์มที่มีความเสี่ยง เช่น เกมออนไลน์ แพลตฟอร์มที่ไม่มีการยืนยันตัวตนก่อนเข้าใช้งาน หรือไม่มี OTP สำหรับบางธนาคาร ลูกค้ายังสามารถเปิด/ปิดการใช้งานของบัตร หรือเปลี่ยนแปลงวงเงินการใช้บัตร หรืออายัดบัตรได้ด้วยตัวเองผ่านแอพพลิเคชั่นของธนาคาร นอกเหนือจากการติดต่อกับธนาคาร
ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย และ สมาคมธนาคารไทย ย้ำว่า ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับความปลอดภัยในการทำธุรกรรมทางการเงิน และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า โดยธนาคารมีระบบการรักษาความมั่นคงปลอดภัยและมีการตรวจสอบการทำธุรกรรมที่ผิดปกติอย่างต่อเนื่อง ในระยะต่อไป ธปท. และสถาบันการเงินจะร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการยกระดับมาตรการและประสิทธิภาพการตรวจจับและตอบสนองต่อรายการผิดปกติ เพื่อป้องกันและลดผลกระทบจากการเกิดเหตุการณ์ในลักษณะดังกล่าว
ขอบคุณ : ธนาคารแห่งประเทศไทย
20 ต.ค. 64 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวว่า เห็นใจผู้ประกอบการขนส่งทุกคน ปัจจุบันเรามีน้ำมันอยู่หลายประเภท เช่น บี7 บี 10 บี 20 ราคา เป็นราคาที่ต่างกัน เพราะมีส่วนผสมที่แตกต่าง หากเราใช้เงินไปอุดหนุนราคาน้ำมันประเภทใดประเภทหนึ่งมากไป ก็จะทำให้น้ำมันอีกส่วนสูงขึ้นต้องดูตรงนี้ด้วย สำหรับราคาน้ำมันดีเซลพยายามตรึงให้ได้ 30 บาทต่อลิตรก่อน
ที่สำคัญต้องเข้าใจสถานการณ์ราคาน้ำมันโลก ยังมีความขัดแย้งในหลายส่วน หลายกลุ่มด้วยกัน สถานการณ์น้ำมันยังคงเป็นอย่างนี้อีกระยะ ซึ่งปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนจากราคาน้ำมันพุ่งสูงว่า รัฐบาลเข้าใจถึงความเดือดร้อน ของสมาคมขนส่งหรือสมาคมรถบรรทุก รัฐบาลได้พยายามดูแลอย่างเต็มที่ แต่สถานการณ์น้ำมันโลกเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และยังไม่รู้ว่าจะขึ้นอีกเท่าไหร่
ทั้งนี้ในช่วงที่ผ่านมาทุกรัฐบาลได้มีการบริหารจัดการในเรื่องนี้มาตลอด โดยการเอากองทุนน้ำมันออกไปช่วย ทั้งที่ความจริงแล้วราคาน้ำมันสูงมากกว่านี้ โดยตรึงให้ได้ลิตรละ 30 บาท ราคานี้ต้องใช้เงินกองทุนน้ำมันเดือนละประมาณ 6,000 กว่าล้านบาท รวมถึงสถานการณ์ปัจจุบันยังติดลบอยู่ก็ต้องมาพิจารณาว่าอีกสองเดือนข้างหน้าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป
ขอบคุณ: ฐานเศรษฐกิจ
มูลค่าการซื้อขายสะสมตั้งแต่ 1 ม.ค. – 18 ต.ค. กองทุน ขายสุทธิ 50,440.47 ล้านบาท โบรกเกอร์ ซื้อสุทธิ 17,066.92 ล้านบาท นักลงทุนต่างประเทศ ขายสุทธิ 58,961.30 ล้านบาท และรายย่อย ซื้อสุทธิ 92,334.85 ล้านบาท ส่งผลให้มูลค่าการซื้อขายสะสมในช่วง 1 – 18 ต.ค. กองทุน ขายสุทธิ 9,498.40 ล้านบาท โบรกเกอร์ ซื้อสุทธิ 4,339.46 ล้านบาท นักลงทุนต่างประเทศ ซื้อสุทธิ 17,744.04 ล้านบาท และรายย่อย ขายสุทธิ 12,585.10 ล้านบาท
ทั้งนี้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้สรุปมูลค่าการซื้อขายตามกลุ่มนักลงทุนวันที่ 18 ต.ค.64 พบว่า สถาบันกองทุนในประเทศ มียอดขายสุทธิ 1,719.93 ล้านบาท บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ (โบรกเกอร์) ซื้อสุทธิ 76.54 ล้านบาท นักลงทุนต่างประเทศ ซื้อสุทธิ 3,773.87 ล้านบาท และนักลงทุนทั่วไปในประเทศ (รายย่อย) ขายสุทธิ 2,130.49 ล้านบาท
ขอบคุณ : กรุงเทพธุรกิจ
นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กล่าวว่า ผู้ประกอบการไทยควรปรับตัวในเชิงรุกเพื่อป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากการถูกประเทศคู่ค้าเก็บอากร Antidumping: หรือ AD ซึ่งจะทำให้สินค้าส่งออกของไทยมีราคาสูงขึ้น และส่งผลต่อการส่งออกของไทยไปยังประเทศนั้น ๆ ตลอดจนอาจส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังภาคการผลิตและการจ้างงานในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง
เนื่องจากปัจจุบันพบว่าประเทศกำลังพัฒนาใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด AD เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นการใช้มาตรการระหว่างประเทศกำลังพัฒนาด้วยกันถึงเกือบร้อยละ 80 จากสถิติการไต่สวนการทุ่มตลาด และการใช้มาตรการ AD ของสมาชิกองค์การการค้าโลก หรือ WTO ช่วงระหว่างปี 2538 – 2563 พบว่า การเปิดไต่สวนการทุ่มตลาดเพิ่มขึ้นหลังจากปี 2561 โดยในปี 2563 มีการไต่สวน 349 ครั้ง เพิ่มขึ้นกว่าสองเท่า เมื่อเทียบกับปี 2538 และคาดว่าการใช้มาตรการ AD ของสมาชิก WTO หลังจากปี 2563 จะมีแนวโน้มสูงขึ้นตามจำนวนการไต่สวนที่เพิ่มขึ้น
โดยไทย อยู่อันดับที่ 6 ของโลก โดย ถูกไต่สวน 250 ครั้ง และถูกใช้มาตรการ AD 167 ครั้ง ส่วนอินเดียเป็นประเทศที่ใช้มาตรการ AD มากที่สุดใน WTO 718 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 17.64 ตามด้วย สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป นอกจากนี้ อินเดียยังเป็นประเทศที่ใช้มาตรการ AD กับไทยมากที่สุด (จำนวน 39 ครั้ง) รองลงมา ได้แก่ สหภาพยุโรป และออสเตรเลีย จีนเป็นประเทศที่ถูกไต่สวนและถูกใช้มาตรการ AD มากที่สุดใน WTO ถูกไต่สวน 1,478 ครั้ง และถูกใช้มาตรการ AD 1,069 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 23.5 และ 26.26 ตามลำดับ รองลงมา ได้แก่ เกาหลีใต้ และไต้หวัน
ทั้งนี้สินค้าที่สมาชิก WTO เปิดไต่สวน และใช้มาตรการ AD มากที่สุด ได้แก่ เหล็ก เคมีภัณฑ์ เรซิน พลาสติก และยาง ในทำนองเดียวกัน เรซิน พลาสติก และยาง ก็เป็นกลุ่มสินค้าที่ไทยถูกไต่สวน และถูกใช้มาตรการ AD มากที่สุด อย่างไรก็ตามในส่วนของไทย มีการเปิดไต่สวนการทุ่มตลาดแล้วรวม 97 ครั้ง อยู่อันดับที่ 17 ของ WTO และอันดับที่ 3 ของอาเซียนรองจากอินโดนีเซีย และมาเลเซีย และไทยใช้มาตรการ AD แล้ว 60 ครั้ง อยู่อันดับที่ 18 ของ WTO และอันดับที่ 3 ของอาเซียน รองจากอินโดนีเซีย และมาเลเซีย โดยประเทศที่ถูกไทยไต่สวนการทุ่มตลาด และใช้มาตรการ AD สูงสุด ได้แก่ จีน เกาหลีใต้และไต้หวัน
ขอบคุณ : โพสต์ทูเดย์
ข่าว หุ้น ธุรกิจ เศรษฐกิจ วันที่ 30 มกราคม 2566 ตลาดจับตาเฟดแถลงผลการประชุมวันพุธนี้ คาดขึ้นดอกเบี้ย
ข่าว หุ้น ธุรกิจ เศรษฐกิจ วันที่ 24 มกราคม 2566 (รอบเช้า) ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก: ยูโรแข็งเทียบดอลล์ ร
ข่าว หุ้น ธุรกิจ เศรษฐกิจ วันที่ 20 มกราคม 2566 (รอบเช้า) ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก: ทองปิดพุ่ง $16.90 เ
ข่าว หุ้น ธุรกิจ เศรษฐกิจ วันที่ 21 ธันวาคม 2565 (รอบเช้า) ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก: ทองปิดพุ่ง $27.7 ด
ข่าว หุ้น ธุรกิจ เศรษฐกิจ วันที่ 20 ธันวาคม 2565 (รอบบ่าย) ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก: ดอลล์แข็งค่าเล็กน้อ
ข่าว หุ้น ธุรกิจ เศรษฐกิจ วันที่ 20 ธันวาคม 2565 (รอบเช้า) ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก: ทองปิดลบ $2.5 บอนด