
ข่าวหุ้นล่าสุด ข่าวเด่นวันนี้ วันที่ 14 มกราคม 2565
หุ้นเด่นวันนี้
– INET (เคทีบีเอสที) เป้าเชิงกลยุทธ์ 12.00 บาท ประเมินรายได้ทั้งการขายและบริการปี 65 โตก้าวกระโดดตาม Demand และการปรับองค์กรของเอกชน โดย Trend การลงทุน ICT จะต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 3-5 ปี รายได้ของกองทุน INETREIT จะโตโดดเด่น เฟส 1 ลูกค้าใช้บริการเต็มอัตรา ส่วนเฟส 2 ล่าสุดมีลูกค้าราว 20% การเพิ่มขึ้นของลูกค้าใหม่สูง พร้อมลงทุนในเฟส 3 และ 4 ในปีถัดไป จับมือกับพันธมิตรและใช้บริษัทลูกในการขาย Program และให้บริการในลักษณะ Bundle ได้ลูกค้ารายใหญ่ทั้งรัฐและเอกชนเกรด A ในมือสร้างความต่อเนื่องให้กับรายได้
– SC (ฟินันเซีย ไซรัส) “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 4.20 บาท ระยะสั้นคาดกำไร Q4/64 เร่งขึ้นทั้ง +30% Q-Q, +50% Y-Y และเป็นไตรมาสที่ดีสุดของปีจาก Backlog 5.2 พันลบ. และคาดทั้งปีรายได้ทะลุเป้าที่ 1.9 หมื่นลบ. เราคาดกำไรปี 64 +9% Y-Y ปี 65 จะเป็นปีที่ดีจากการเริ่มรับรู้คอนโดใหม่ 3 แห่งและแผนเปิดโครงการเชิงรุกรวม 2 หมื่นลบ.เราคาดกำไรปีนี้ +10% Y-Y จุดเด่นคือ Valuation ถูกโดยเทรด PER และ PBV ต่ำเพียง 6 เท่าและ 0.7 เท่า และจ่ายปันผลปีละครั้ง Yield 6%
– บมจ.เทิร์นคีย์ คอมมูนิเคชั่น เซอร์วิส เข้าจดทะเบียนและเริ่มซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยี หมวดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารวันแรก ชื่อย่อ TKC ราคา IPO หุ้นละ 18 บาท เป็นผู้ให้บริการรับเหมาโครงการแบบเบ็ดเสร็จ (Turnkey project) ในงานวางระบบโครงข่ายสื่อสารโทรคมนาคม สื่อสารข้อมูล และความปลอดภัยสาธารณะ รวมถึงงานบริการวิศวกรรมและบำรุงรักษา และจัดจำหน่ายอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ยาวนานกว่า 18 ปี มีพันธมิตรบริษัทชั้นนำระดับโลก เช่น Huawei, Nokia และ Cisco จึงได้รับงานโครงการขนาดใหญ่ต่อเนื่อง
ขอบคุณ : สำนักข่าวอินโฟเควสท์
ราคาทองวันนี้ ขยับขึ้น 50 บาท
ราคาทองวันนี้ 17 ม.ค. 65 ปรับราคาขึ้น 50 บาท เมื่อเทียบกับราคาสุดท้ายเมื่อวานนี้ โดยราคาขายออกทองรูปพรรณ อยู่ที่ 29,150 บาท อ้างอิงข้อมูลล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ ที่เผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ เมื่อเวลา 9.29 น.ที่ผ่านมา
ทองคำแท่งในประเทศ ราคารับซื้ออยู่ที่บาทละ 28,550 บาท ขายออกบาทละ 28,650 บาท ตามประกาศครั้งล่าสุด
ด้านราคาทองรูปพรรณ รับซื้ออยู่ที่บาทละ 28,030.84 บาท และมีราคาขายออกที่ 29,150 บาท ขณะที่ราคาทองคำตลาดโลก (Gold Spot) อยู่ที่ 1,817.00 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์
สรุปราคาทองคำ วันที่ 17 ม.ค. 65
ประกาศครั้งที่ 1
ทองแท่ง
• รับซื้อ บาทละ 28,550 บาท
• ขายออก บาทละ 28,650 บาท
ทองรูปพรรณ
• รับซื้อ บาทละ 28,030.84 บาท
• ขายออก บาทละ 29,150 บาท
ขอบคุณ : ฐานเศรษฐกิจ
บิตคอยน์วันนี้ ปรับลง 0.02%
ราคาบิตคอยน์ประจำวันนี้ 17 ม.ค. 65 ปรับลง -0.02% เมื่อเทียบกับราคาเมื่อ 24 ชั่วโมงก่อน โดยมีราคา 43,087.60 เหรียญสหรัฐ หรือราว 1,430,206.71 บาท มูลค่าซื้อขายรวม 17.89 พันล้านเหรียญสหรัฐ ตามข้อมูลอัพเดต เมื่อเวลา 7.02 น. ของวันนี้
ขณะที่เหรียญดิจิทัลคริปโทเคอร์เรนซีชนิดอื่นๆ Ethereum ขยับขึ้น .67% Binance Coin ขยับขึ้น .75% และ Dogecoin ขยับขึ้น .18% ในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา
สรุปราคาเหรียญคริปโทเคอร์เรนซี
– Bitcoin (BTC) ราคา 43,087.60 เหรียญสหรัฐ เปลี่ยนแปลง -0.02%
– Ethereum (ETH) ราคา 3,350.08 เหรียญสหรัฐ เปลี่ยนแปลง +0.67%
– BNB (BNB) ราคา 498.37 เหรียญสหรัฐ เปลี่ยนแปลง +0.75%
– Tether (USDT) ราคา 1.00 เหรียญสหรัฐ เปลี่ยนแปลง 0.00%
– Cardano (ADA) ราคา 01.41 เหรียญสหรัฐ เปลี่ยนแปลง +9.32%
– Dogecoin (DOGE) ราคา 0.18 เหรียญสหรัฐ เปลี่ยนแปลง -4.29%
– USD Coin (USDC) ราคา 1.00 เหรียญสหรัฐ เปลี่ยนแปลง 0.00%
– XRP (XRP) ราคา0.78 เหรียญสหรัฐ เปลี่ยนแปลง -0.14%
– Terra (LUNA) ราคา 86.97 เหรียญสหรัฐ เปลี่ยนแปลง -0.35%
– Polkadot (DOT) ราคา 27.68 เหรียญสหรัฐ เปลี่ยนแปลง +0.18%
ขอบคุณ : ประชาชาติธุรกิจ
อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท 33.22 บาท/ดอลลาร์
อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 33.22 บาทต่อดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย จากระดับปิดสัปดาห์ก่อนหน้า ที่ระดับ 33.24 บาทต่อดอลลาร์
นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน ธนาคารกรุงไทยระบุว่าสัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดการเงินยังคงผันผวนจากความกังวลเฟดใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นได้เร็ว
สำหรับสัปดาห์นี้ ติดตามรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียน โดยผลประกอบการที่ขยายตัวต่อเนื่องและดีกว่าคาดอาจช่วยหนุนให้ตลาดกลับมาเปิดรับความเสี่ยงได้
โดยในส่วนของรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่น่าสนใจมีดังนี้
ฝั่งสหรัฐฯ – ตลาดจะให้ความสนใจรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียน โดยเฉพาะกลุ่มการเงิน อาทิ Goldman Sachs, Morgan Stanley และ Bank of America โดยผลประกอบการที่ดีกว่าคาดจะยิ่งช่วยหนุนให้ หุ้นกลุ่มการเงินสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้น นอกเหนือจากแรงหนุนจากการเปลี่ยนกลุ่มหุ้นลงทุนของบรรดาผู้เล่นในตลาดที่หันมาลงทุน หุ้นกลุ่ม Cyclical และหุ้น Value มากกว่า หุ้น Tech และหุ้น Growth หลังบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้น ทั้งนี้ รายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียนที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่องและออกมาดีกว่าคาดจะสามารถช่วยให้ผู้เล่นในตลาดทยอยกล้าเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้นได้
ฝั่งยุโรป – การระบาดของโอมิครอนในเยอรมันที่เริ่มเข้าใกล้จุดเลวร้ายสุด อาจสร้างความหวังการฟื้นตัวเศรษฐกิจ หากสถานการณ์การระบาดเริ่มดีขึ้น ซึ่งอาจสะท้อนผ่านดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ (ZEW Economic Sentiment) ในเดือนมกราคม ที่อาจปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 31 จุด จากระดับ 29.9 ในเดือนก่อนหน้า
ส่วนในฝั่งอังกฤษ ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) มีแนวโน้มใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์หรือเดือนมีนาคม หากเศรษฐกิจ โดยเฉพาะ การจ้างงาน ทยอยฟื้นตัวดีขึ้น หลังสถานการณ์การระบาดของโอมิครอนในอังกฤษน่าจะผ่านจุดเลวร้ายสุดไปแล้ว ทั้งนี้ ตลาดประเมินว่า อัตราการว่างงาน (Unemployment) ในเดือนพฤศจิกายน จะลดลงสู่ระดับ 4.1% นอกจากนี้ หากอัตราเงินเฟ้อทั่วไป (CPI) ยังมีแนวโน้มเร่งตัวสูงขึ้นก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสการขึ้นดอกเบี้ยของ BOE ซึ่งตลาดคาดว่า CPI เดือนธันวาคมจะปรับตัวขึ้นแตะ 5.2%
ฝั่งเอเชีย – ตลาดประเมินว่า เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มชะลอตัวลงชัดเจนในไตรมาสที่ 4 จากปัญหาหนี้ในภาคอสังหาฯ ปัญหาขาดแคลนพลังงาน รวมถึงปัญหาการระบาดของ COVID-19 ในช่วงปลายปี ทำให้เศรษฐกิจอาจขยายตัวเพียง +3.6%y/y ในไตรมาสที่ 4
นอกจากนี้ ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญรายเดือนของจีนจะยิ่งสะท้อนภาพการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน โดยในเดือนธันวาคม ยอดผลผลิตอุตสาหกรรม (Industrial Production) จะโต +3.7%y/y ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า เช่นเดียวกันกับ ยอดค้าปลีก (Retail Sales) และยอดการลงทุนสินทรัพย์ถาวร (Fixed Assets Investment) ที่จะขยายตัวในอัตราชะลอลงเหลือ +3.8%y/y และ +4.8%y/y ทั้งนี้ การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนจะเพิ่มโอกาสการผ่อนคลายนโยบายการเงินหรือการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมจากทางการจีน ซึ่งตลาดมองว่า ธนาคารกลางจีน (PBOC) จะคงอัตราดอกเบี้ยลูกหนี้ชั้นดี (LPR) ประเภท 1 ปี ไว้ที่ระดับ 3.80% (หลังจากปรับลดลง 5bps ในเดือนธันวาคม)
ส่วน LPR ประเภท 5 ปี ยังคงไว้ที่ 4.65% ตามเดิม ส่วนในฝั่งญี่ปุ่น เรามองว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ยังจำเป็นต้องใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อเพื่อหนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจ โดยคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ -0.10% และคงเป้าบอนด์ยีลด์ 10 ปี ไว้ที่ระดับ 0.00% ซึ่งต้องจับตาท่าทีของ BOJ ต่อการปรับตัวขึ้นของบอนด์ยีลด์ล่าสุด เพราะหาก BOJ กังวลต่อประเด็นดังกล่าว อาจสะท้อนว่า BOJ พร้อมเพิ่มการซื้อพันธบัตรรัฐบาลเพื่อกดดันให้ยีลด์ย่อตัวลง ซึ่งภาพดังกล่าวอาจส่งผลให้เงินเยนญี่ปุ่น (JPY) อ่อนค่าลงได้ นอกเหนือจาก BOJ ที่จะเดินหน้าใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อนั้น ตลาดประเมินว่า ธนาคารกลางมาเลเซีย (BNM) รวมถึง ธนาคารกลางอินโดนีเซีย (BI) ต่างก็มีความจำเป็นต้องคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 1.75% และ 3.50% ตามลำดับไว้ก่อน จนกว่าเศรษฐกิจจะส่งสัญญาณฟื้นตัวดีขึ้น นอกจากนี้ ทั้ง BNM และ BI อาจมองว่าเงินเฟ้อยังไม่ใช่ปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไขด้วยการทยอยขึ้นดอกเบี้ยแบบธนาคารกลางอื่นๆ
ฝั่งไทย – เรามองว่าการส่งออกของไทยในเดือนธันวาคมอาจได้รับผลกระทบจากปัญหาการระบาดโอมิครอนทั่วโลกบ้าง แต่ทว่า ยอดการส่งออกจะสามารถขยายตัวกว่า +17%y/y ส่วนยอดการนำเข้าอาจโตได้ราว +20%y/y ทำให้ดุลการค้า (Trade Balance) อาจเกินดุลเล็กน้อย +550 ล้านดอลลาร์
สำหรับ แนวโน้มของค่าเงินบาท เรามองว่า เงินบาทยังมีแนวโน้มแกว่งตัว Sideways โดยต้องจับตาฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ ซึ่งอาจส่งผลต่อทิศทางเงินบาทในช่วงที่เศรษฐกิจเผชิญปัญหาการระบาดของโอมิครอน อนึ่ง ตลาดหุ้นไทยซึ่งมีสัดส่วนหุ้นกลุ่ม Cyclical เป็นส่วนใหญ่ อาจยังได้แรงหนุนอยู่ในช่วงที่บอนด์ยีลด์ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติจะไม่ไหลออกจากตลาดหุ้นไทยรุนแรง
ทั้งนี้ หากราคาทองคำสามารถปรับตัวขึ้นใกล้ระดับ 1,820-1,830 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ซึ่งเป็นแนวต้านสำคัญ ก็อาจมีผู้เล่นบางส่วนทยอยขายทำกำไรทองคำ ซึ่งโฟลว์ขายทำกำไรทองคำจะสามารถช่วยหนุนให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นได้บ้าง อย่างไรก็ดี แนวรับสำคัญของเงินบาทจะอยู่ในโซน 33.10 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งผู้นำเข้าต่างรอทยอยเข้าซื้อเงินดอลลาร์ ส่วนแนวต้านสำคัญของเงินบาทจะอยู่ในช่วง 33.40 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งผู้ส่งออกบางส่วนต่างรอทยอยขายเงินดอลลาร์อยู่
ส่วนเงินดอลลาร์อาจกลับมาแข็งค่าขึ้นได้บ้าง หากตลาดการเงินยังคงผันผวน ซึ่งจะหนุนให้ผู้เล่นในตลาดต่างเลือกที่จะถือเงินดอลลาร์เป็นสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe Haven) แต่เราคงมองว่า เงินดอลลาร์จะไม่ปรับตัวขึ้นไปมาก เพราะตลาดเริ่มคลายกังวลแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของเฟด (เพราะตลาดรับรู้การขึ้นดอกเบี้ยของเฟดไปแล้วพอสมควร) และตลาดอาจทยอยเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้นได้ ซึ่งจะลดความน่าสนใจของเงินดอลลาร์ลง
มองกรอบค่าเงินบาทสัปดาห์นี้ ที่ระดับ 33.00-33.50 บาท/ดอลลาร์
ส่วนกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 33.15-33.30 บาท/ดอลลาร์
ทางศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่าเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแคบที่ระดับ 33.25-33.27 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในช่วงเช้าวันนี้ (9.10 น.) อ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาที่ 33.22 บาทต่อดอลลาร์ฯ
โดยเงินบาทและสกุลเงินอื่นๆ ในเอเชียทยอยอ่อนค่าลงสอดคล้องกับทิศทางของเงินหยวน ซึ่งเผชิญแรงกดดันจากสัญญาณผ่อนคลายทางการเงินของธนาคารกลางจีน นอกจากนี้เงินดอลลาร์ฯ ยังคงมีอานิสงส์จากแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด ซึ่งตลาดบางส่วนเริ่มประเมินว่า จำนวนการปรับขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้อาจมากกว่าที่เคยประเมินไว้ก่อนหน้านี้
สำหรับกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันนี้ คาดไว้ที่ 33.15-33.35 บาทต่อดอลลาร์ฯ ขณะที่ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ทิศทางเงินทุนของต่างชาติ สถานการณ์โควิด-19 และข้อมูลเศรษฐกิจจีน
ขอบคุณ : ฐานเศรษฐกิจ
จีนประกาศลดดอกเบี้ย 0.10%
ธนาคารกลางจีนประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ประเภท 1 ปีซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ลง 0.10% สู่ระดับ 2.85% ในวันนี้ ซึ่งเป็นการลดดอกเบี้ยครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนเม.ย. 2564 นอกจากนี้ ธนาคารกลางจีนยังได้อัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบการเงินจำนวน 2 แสนล้านหยวน (3.15 หมื่นล้านดอลลาร์)
การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายมีขึ้นไม่นานหลังจากสำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) รายงานในวันนี้ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในไตรมาส 4/2564 ของจีนขยายตัวเพียง 4% เนื่องจากเศรษฐกิจในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีได้ถูกกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยเฉพาะสายพันธุ์โอมิครอน
จีนพบผู้ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนในหลายเมือง ซึ่งรวมถึงเมืองเทียนจินและเมืองอันยาง ส่งผลให้เมืองเทียนจินประกาศล็อกดาวน์เป็นบางส่วน เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายของรัฐบาลจีนที่ต้องการให้จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 เป็นศูนย์ หรือ Zero-COVID นอกจากนี้ จีนได้ประกาศล็อกดาวน์เมืองอันยางอย่างเต็มรูปแบบ โดยสั่งห้ามประชาชนไม่ให้ออกจากบ้าน และบริษัทเอกชนทุกแห่งในเมืองอันยางได้ถูกสั่งให้ระงับการดำเนินงาน จนกว่าความเสี่ยงของไวรัสโอมิครอนในเมืองอันยางถูกขจัดให้หมดไปอย่างสิ้นเชิง
การแพร่ระบาดของไวรัสโอมิครอนส่งผลให้โกลด์แมน แซคส์ ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจจีนในปี 2565 ลงสู่ระดับ 4.3% จากเดิมที่ระดับ 4.8% โดยระบุว่ารัฐบาลจีนกำลังเผชิญกับความยากลำบากมากขึ้นในการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน
นักวิเคราะห์จากบริษัท Guosheng Securities กล่าวว่า การที่จีนตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในวันนี้ บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มชะลอตัวลง และการดำเนินการดังกล่าวมีเป้าหมายที่จะฉุดต้นทุนการกู้ยืมให้ลดลงเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ การประกาศลดอัตราดอกเบี้ยของจีนยังสวนทางกับจุดยืนของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่ส่งสัญญาณว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมี.ค.นี้ เพื่อสกัดการพุ่งขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ
ขอบคุณ: สำนักข่าวอินโฟเควสท์
ข่าว หุ้น ธุรกิจ เศรษฐกิจ วันที่ 30 มกราคม 2566 (รอบเช้า)
ข่าว หุ้น ธุรกิจ เศรษฐกิจ วันที่ 30 มกราคม 2566 ตลาดจับตาเฟดแถลงผลการประชุมวันพุธนี้ คาดขึ้นดอกเบี้ย
ข่าว หุ้น ธุรกิจ เศรษฐกิจ วันที่ 24 มกราคม 2566 (รอบเช้า)
ข่าว หุ้น ธุรกิจ เศรษฐกิจ วันที่ 24 มกราคม 2566 (รอบเช้า) ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก: ยูโรแข็งเทียบดอลล์ ร
ข่าว หุ้น ธุรกิจ เศรษฐกิจ วันที่ 20 มกราคม 2566 (รอบเช้า)
ข่าว หุ้น ธุรกิจ เศรษฐกิจ วันที่ 20 มกราคม 2566 (รอบเช้า) ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก: ทองปิดพุ่ง $16.90 เ
ข่าว หุ้น ธุรกิจ เศรษฐกิจ วันที่ 21 ธันวาคม 2565 (รอบเช้า)
ข่าว หุ้น ธุรกิจ เศรษฐกิจ วันที่ 21 ธันวาคม 2565 (รอบเช้า) ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก: ทองปิดพุ่ง $27.7 ด
ข่าว หุ้น ธุรกิจ เศรษฐกิจ วันที่ 20 ธันวาคม 2565 (รอบบ่าย)
ข่าว หุ้น ธุรกิจ เศรษฐกิจ วันที่ 20 ธันวาคม 2565 (รอบบ่าย) ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก: ดอลล์แข็งค่าเล็กน้อ
ข่าว หุ้น ธุรกิจ เศรษฐกิจ วันที่ 20 ธันวาคม 2565 (รอบเช้า)
ข่าว หุ้น ธุรกิจ เศรษฐกิจ วันที่ 20 ธันวาคม 2565 (รอบเช้า) ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก: ทองปิดลบ $2.5 บอนด