LOGO Goo Invest
Categories
ข่าวหุ้น

ข่าว หุ้น ธุรกิจ วันที่ 14 มกราคม 2565

ข่าวหุ้น เศรษฐกิจ การเงิน การลงทุน Goo Invest Trade

ข่าวหุ้นล่าสุด ข่าวเด่นวันนี้ วันที่ 14 มกราคม 2565

หุ้นเด่นวันนี้

  • KTC (เคทีบีเอสที) เป้าเชิงกลยุทธ์ 65.00 บาท ตั้งเป้ารายได้ปี 22 โต 10% ยอดสินเชื่อและยอดการใช้จ่ายจะโตตามเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว สาขาจะทำงานได้มากขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนที่มีการ Lockdown มองเป้าโต 10% Conservative เกินไป การตั้งสำรองและ NPL ปี 65 มีแนวโน้มลดลง หนุนกำไร และอีกหนึ่งจุดแข็งคือการบริหารลูกหนี้ทำได้ดีกว่ากลุ่ม ประเมินกำไรสุทธิปี 64-65 ที่ 5.79 พัน ลบ. และ 6.55 พัน ลบ. +8.7%YoY, +13%YoY ตามลำดับ
  • TTB (ฟินันเซีย ไซรัส) “ซื้อ” เป้าหมาย 1.80 บาท คาดกำไรสุทธิปี 65 จะเติบโตสูงสุดในกลุ่มธนาคาร +32% Y-Y จากประโยชน์หลังการควบรวมเต็มปีทั้งการ Cross Selling รวมถึงลดค่าใช้จ่ายซ้ำซ้อน และเป็นธนาคารเดียวที่ ROE จะสูงเหนือระดับก่อน COVID-19 ฐานลูกค้าที่เป็นรายย่อยมากขึ้นทำให้ Loan Yield สูงและมีโอกาสเกิดการ Rerate Valuation ขึ้น ขณะที่ปัจจุบัน TTB ซื้อขายที่ระดับ PBV เพียง 0.6 เท่า ซึ่งเรามองว่าต่ำเกินไป
  • TNP (กรุงศรี) “ซื้อ” เป้าหมาย Consensus 6.7 บาท คาดการณ์กำไรสุทธิ Q4/64 ยังเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งตามผลบวกของฤดูกาล (High season) ขณะที่ปีนี้ทิศทางกำไรยังโตเด่นจากแผนขยายสาขาเพิ่มขึ้น 6-7 สาขาต่อปีทำให้มี Growth อย่างน้อย 20-30% จากจำนวนสาขาในปัจจุบันที่ 30 สาขา
  • AQ-W5 เริ่มเทรดวันแรกวันนี้ (14 ม.ค.) จำนวนหน่วยใบสำคัญแสดงสิทธิที่เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน 42,660,889,866 หน่วย อัตราการใช้สิทธิ (ใบสำคัญแสดงสิทธิ:หุ้นสามัญใหม่ 1:1) ราคาการใช้สิทธิ 0.028 บาทต่อหุ้น อายุใบสำคัญแสดงสิทธิ 2 ปี 11 เดือน 21วัน นับแต่วันที่ออกใบสำคัญแสดงสิทธิ วันใช้สิทธิครั้งแรก 31 มี.ค.65 วันใช้สิทธิครั้งสุดท้าย 6 ธ.ค.67

ขอบคุณ :  สำนักข่าวอินโฟเควสท์ 

ราคาทองวันนี้ ลดลง 50 บาท

บิตคอยน์วันนี้ ปรับลง 3.17% 

         ราคาบิตคอยน์วันนี้ 14 ม.ค. 65 ปรับลง -3.17% ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง ราคาอยู่ที่ 42,508.70 เหรียญสหรัฐ หรือราว 1,412,564.10 บาท มูลค่าซื้อขายรวม 48.20 พันล้านเหรียญสหรัฐ ตามข้อมูลล่าสุด เมื่อ 6.58 น.

         ราคาเหรียญดิจิทัลคริปโตฯ อื่นๆ Ethereum ปรับลง 4.03% Binance Coin ปรับลง 2.61% และ Dogecoin ร่วงลง 5.8% ในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา

           สรุปราคาเหรียญคริปโทเคอร์เรนซี

  • Bitcoin (BTC) ราคา 42,508.70 เหรียญสหรัฐ เปลี่ยนแปลง -3.17%
  •  Ethereum (ETH) ราคา 3,235.04 เหรียญสหรัฐ เปลี่ยนแปลง -4.03%
  •  BNB (BNB) ราคา 474.31 เหรียญสหรัฐ เปลี่ยนแปลง -2.61%
  • Tether (USDT) ราคา 1.00 เหรียญสหรัฐ เปลี่ยนแปลง -0.01%
  • . Solana (SOL) ราคา 145.59 เหรียญสหรัฐ เปลี่ยนแปลง -3.86%

  •  Dogecoin (DOGE) ราคา 0.17 เหรียญสหรัฐ เปลี่ยนแปลง +5.46%
  •  Cardano (ADA) ราคา 1.23 เหรียญสหรัฐ เปลี่ยนแปลง -5.89%
  •  XRP (XRP) ราคา0.77 เหรียญสหรัฐ เปลี่ยนแปลง -3.94%
  •  Terra (LUNA) ราคา 77.97 เหรียญสหรัฐ เปลี่ยนแปลง -4.86%
  •  Polkadot (DOT) ราคา 25.71 เหรียญสหรัฐ เปลี่ยนแปลง -5.80%

หมายเหตุ : ข้อมูลข้างต้นอาจมีความคลาดเคลื่อนและไม่ควรใช้เพื่อการตัดสินใจลงทุนหรือซื้อขาย ผู้อ่านควรตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ทาง www.sec.or.th

ขอบคุณ :  ประชาชาติธุรกิจ

 

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท 33.23 บาท/ดอลลาร์

      นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน ธนาคารกรุงไทยระบุว่า เงินบาทมีแนวโน้มแกว่งตัว Sideways ในกรอบต่อ จนกว่าจะมีปัจจัยใหม่ๆ เข้ามา โดยปัจจัยด้านแข็งค่ายังคงเป็น การอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์และโฟลว์ขายทำกำไรทองคำ ขณะที่ปัญหาการระบาดของโอมิครอนในประเทศที่กดดันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังคงเป็นแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าที่มองข้ามไม่ได้

          นอกจากนี้ หากเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นจนหลุดระดับ 33.00 บาทต่อดอลลาร์นั้น ต้องอาศัยฟันด์โฟลว์จากนักลงทุนต่างชาติพอสมควร ซึ่งเราเริ่มเห็นสัญญาณการทยอยขายทำกำไรการเก็งเงินบาทฝั่งแข็งค่าจากผู้เล่นต่างชาติ โดยในวันก่อนหน้า นักลงทุนต่างชาติเริ่มขายสุทธิบอนด์ระยะสั้นกว่า -6.3 พันล้านบาท ซึ่งอาจสะท้อนมุมมองของนักลงทุนต่างชาติที่ยังไม่รีบเข้ามาเก็งกำไรการแข็งค่าของเงินบาทและพร้อมที่จะขายทำกำไร หากเงินบาทแข็งค่าถึงระดับเป้าราคาที่ต้องการ

           นอกจากนี้ หากเงินบาทแข็งค่าใกล้ระดับ 33.10-33.20 บาทต่อดอลลาร์ ก็อาจมีแรงซื้อเงินดอลลาร์จากฝั่งผู้นำเข้าช่วยพยุงเงินบาทไม่ให้แข็งค่าไปมากได้

         มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 33.20-33.35 บาท/ดอลลาร์

        ตลาดการเงินเผชิญความผันผวนจากแรงเทขายหุ้นเทคฯ และหุ้นสไตล์ Growth อีกครั้ง หลังถ้อยแถลงของว่าที่รองประธานเฟด Lael Brainard รวมถึงบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดท่านอื่นๆ ต่างส่งสัญญาณว่าเฟดพร้อมที่จะขึ้นดอกเบี้ยในเดือนมีนาคมและเฟดจะใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นเพื่อแก้ปัญหาเงินเฟ้อ

         นอกจากนี้ แรงเทขายหุ้นเทคฯ ยังมาจากมุมมองของผู้เล่นในตลาดที่มองว่า ผลประกอบการของหุ้นกลุ่มเทคฯ อาจจะไม่ได้เติบโตโดดเด่นเมื่อเทียบกับหุ้นในกลุ่มอื่นๆ โดยเฉพาะ หุ้นในกลุ่ม Cyclical ที่จะได้รับอานิสงส์ของการฟื้นตัวเศรษฐกิจ

          ซึ่งภาพดังกล่าวยังคงหนุนให้การเปลี่ยนกลุ่มลงทุนของผู้เล่นในตลาด (Sector & Style Rotation) ยังดำเนินต่อไป ดังจะเห็นได้จากการที่ ดัชนี Dowjones ของสหรัฐฯ ที่มีสัดส่วนหุ้น Cyclical สูง ย่อตัวลงเพียง -0.49% ในขณะที่ดัชนี S&P500 และดัชนีหุ้นเทคฯ Nasdaq ปรับตัวลงกว่า -1.42% และ -2.51% ตามลำดับ

          ส่วนในฝั่งยุโรป ดัชนี STOXX50 ของยุโรป ทรงตัวจากระดับปิดวันก่อนหน้า เพราะถึงแม้ว่า ตลาดหุ้นยุโรปจะถูกกดดันจากแรงขายหุ้นกลุ่มเทคฯ นำโดยการปรับตัวขึ้นต่อเนื่องของหุ้นกลุ่มเทคฯ Adyen -6.0%, SAP -1.4% แต่โดยรวม ตลาดหุ้นยุโรปยังได้แรงหนุนจากการปรับตัวขึ้นของหุ้นกลุ่ม Cyclical อาทิ กลุ่มยานยนต์และกลุ่มการเงิน Daimler +2.7%, BNP Paribas +2.5%, BMW +1.6% ทั้งนี้ เราคงมองว่า การลงทุนในหุ้นยุโรปยังมีความน่าสนใจ จากสัดส่วนหุ้นกลุ่ม Cyclical ที่สูงและมีโอกาสได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังการระบาดของโอมิครอนสงบลง

         ส่วนทางด้านฝั่งตลาดบอนด์ แม้ว่า บรรดาเจ้าหน้าที่เฟดจะส่งสัญญาณพร้อมใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น ทว่า ภาพดังกล่าวกลับไม่ได้กดดันให้บอนด์ยีลด์ปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากเป็นสิ่งที่ผู้เล่นในตลาดรับรู้ไปพอสมควรแล้ว

         อย่างไรก็ดี ภาวะตลาดการเงินไม่กล้าเปิดรับความเสี่ยงและอยู่ในภาวะระมัดระวังตัวกลับหนุนให้ ผู้เล่นบางส่วนทยอยเข้ามาซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย ทำให้บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ย่อตัวลงเล็กน้อย 3bps สู่ระดับ 1.71% สอดคล้องกับมุมมองของเราที่มองว่า ปัจจัยการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดเป็นสิ่งที่ตลาดรับรู้ไปพอสมควรแล้ว

               ดังนั้น การปรับตัวขึ้นของบอนด์ยีลด์จะเกิดขึ้นได้ หากตลาดกล้าเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น หรือ เฟดมีการสื่อสารถึงการลดงบดุลที่ชัดเจนมากขึ้น โดยอาจเป็นการลดงบดุลในอัตราที่สูงกว่าในอดีตที่ผ่านมาในฝั่งตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์ทรงตัวเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก โดยล่าสุด ดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY Index) แกว่งตัวใกล้ระดับ 94.79 จุด โดยเรามองว่า เงินดอลลาร์ยังมีแรงกดดันจากแนวโน้มการทยอยฟื้นตัวของประเทศเศรษฐกิจหลัก

            โดยเฉพาะฝั่งยุโรป หลังสถานการณ์การระบาดในยุโรปใกล้ถึงจุดเลวร้ายสุด ซึ่งภาพดังกล่าวสะท้อนผ่านการทยอยแข็งค่าขึ้นของเงินยูโร (EUR) รวมถึง เงินปอนด์อังกฤษ (GBP) อย่างไรก็ดี เงินดอลลาร์ยังได้แรงหนุนจากภาวะระมัดระวังตัวของผู้เล่นในตลาด ทำให้ผู้เล่นบางส่วนเลือกที่จะถือครองสินทรัพย์ปลอดภัย อย่าง เงินดอลลาร์

           สำหรับวันนี้ ตลาดจะจับตาผลกระทบของการระบาดของโอมิครอนต่อการเติบโตเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยสัญญาณผลกระทบเบื้องต้นอาจสะท้อนผ่าน ยอดค้าปลีก (Retail Sales) ในเดือนธันวาคม ที่อาจหดตัว -0.1%m/m แม้ว่าจะเป็นช่วงเทศกาลที่ปกติแล้วยอดค้าปลีกควรขยายตัวได้ดี

         รวมถึงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (U of Michigan Consumer Sentiment) เดือนมกราคมที่อาจชะลอลงสู่ระดับ 70 จุด นอกจากนี้ ตลาดจะรอลุ้นรายงานผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในสหรัฐฯ โดยเฉพาะหุ้นในกลุ่ม Cyclical อาทิ กลุ่มการเงิน Wells Fargo, Citigroup, JP Morgan เป็นต้น

              ส่วนในฝั่งเอเชีย เราคาดว่า ธนาคารกลางเกาหลีใต้ (BOK) จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 1.00% ก่อน จนกว่า BOK จะมั่นใจว่าการระบาดของโอมิครอนจะไม่ส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น BOK จะสามารถกลับมาขึ้นดอกเบี้ยต่อได้ในช่วงปลายไตรมาส 1 หรือ ในไตรมาสที่ 2

            อย่างไรก็ดีในระยะสั้น ยอดการส่งออกของจีนอาจได้รับผลกระทบจากการระบาดของโอมิครอนบ้าง แต่คาดว่าความต้องการสินค้าจากทั่วโลกจะกลับมาขยายตัวดีขึ้น หลังการระบาดเริ่มสงบลง ซึ่งจะช่วยให้การส่งออกของจีนยังคงขยายตัวได้ดีและช่วยหนุนให้เศรษฐกิจจีนสามารถฟื้นตัวได้ดีขึ้น

           ทางศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า เงินบาทแข็งค่าทดสอบแนว 33.15 บาทต่อดอลลาร์ฯ ก่อนจะกลับมาปรับตัวอยู่ที่ระดับ 33.18 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในช่วงเช้าวันนี้ (9.15 น.) เทียบกับระดับปิดตลาดวันทำการก่อนหน้าที่ 33.20 บาทต่อดอลลาร์ฯ เงินบาทขยับแข็งค่าขึ้น โดยอาจจะมีอานิสงส์ต่อเนื่องจากสัญญาณเงินทุนไหลเข้าในตลาดพันธบัตรไทย

            อย่างไรก็ดีอาจต้องติดตามแรงหนุนเงินดอลลาร์ฯ ในระหว่างวันจากการคาดการณ์เกี่ยวกับแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ หลังข้อมูล PPI สหรัฐฯ ยังคงขยับขึ้น และเจ้าหน้าที่เฟดมีท่าทีสนับสนุนการขึ้นดอกเบี้ยในเดือนมี.ค. นี้

            สำหรับกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทพรุ่งนี้ คาดไว้ที่ 33.10-33.35 บาทต่อดอลลาร์ฯ ขณะที่ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ทิศทางเงินทุนของต่างชาติ สถานการณ์โควิด-19 ถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟด ยอดค้าปลีก ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีราคานำเข้า/ส่งออกเดือนธ.ค. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเบื้องต้นสำหรับเดือนม.ค.

ขอบคุณ : ฐานเศรษฐกิจ

ประกันสังคม แจ้งขายหุ้น TU จำนวน 3 ล้านหุ้น และหุ้น BCH อีก 10 ล้านหุ้น

          ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ได้รับแจ้งจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ระบุเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2565 ก.ล.ต.ได้รับแบบรายงานการได้มา/จำหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการ (แบบ 246-2) ได้เป็นรายงานการจำหน่าย หุ้นของ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ( TU )โดย สำนักงานประกันสังคม ซึ่งเป็นการจำหน่ายเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2565 จำนวนหลักทรัพย์ที่จำหน่าย 3 ล้านหุ้น คิดเป็น 0.0644% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ จำนวนหลักทรัพย์ภายหลังการจำหน่ายคิดเป็น 230,438,108 หุ้น หรือสัดส่วน 4.9501% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ

          นอกจากนี้ยังได้รับแบบรายงานการจำหน่ายหุ้น บมจ.บางกอก เชน ฮอสปิทอล (BCH) โดยสำนักงานประกันสังคม เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2565 จำนวน 10 ล้านหุ้น คิดเป็นสัดส่วน 0.401% ล่าสุดถืออยู่ 123,826,940 หุ้น คิดเป็น 4.9654%

         สำนักงานประกันสังคม รายงานสถานะกองทุนประกันสังคม ล่าสุด ณ วันที่ 30 กันยายน 2564 มีมูลค่าพอร์ต 2,274,718 ล้านบาท โดยมีผลตอบแทนจากการลงทุนที่รับรู้แล้วในปี 2564 ( ม.ค.- ก.ย.2564 ) จำนวน 45,951 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปีอยู่ที่ 3.61%

         โดยเป็นการลงทุนในประเทศ 1,892,867 ล้านบาท คิดเป็น 83.21% ลงทุนต่างประเทศ 381,851 ล้านบาท คิดเป็น 16.79% และแยกมูลค่าการลงทุนตามความเสี่ยง เป็นการลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยง 557,874 ล้านบาท สัดส่วน 24.52% หลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง 1,716,844 ล้านบาท สัดส่วน 75.48%

        ปัจจุบัน ประกันสังคม มีการลงทุนโดยถือหุ้นในบริษัทจดทะเบียน (บจ.)และกองทุนรวมอสังหา/สิทธิการเช่าอสังหา รวมทั้งสิ้น 80 แห่ง มูลค่าการลงทุน ณ วันที่ 13 ม.ค.65 ประมาณ 2.94 แสนล้านบาท

5 อันดับหลักทรัพย์ที่ประกันสังคมถือหุ้นและมีมูลค่าสูงสุดได้แก่

– PTT ถือหุ้น 2.14% มูลค่าราว 23,978 ล้านบาท
– ADVANC ถือหุ้น 3.36% มูลค่าราว 22,188 ล้านบาท
– SCC ถือหุ้น 4.01% มูลค่าราว 18,777 ล้านบาท
– SCB ถือหุ้น 3.54% มูลค่าราว 15,163 ล้านบาท
– BDMS ถือหุ้น 4.08% มูลค่าราว 14,652 ล้านบาท

ขอบคุณ : ฐานเศรษฐกิจ

ข่าวหุ้นล่าสุด ข่าวเด่นวันนี้ วันที่ 14 ธันวาคม 2564

หุ้นวันนี้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *