ข่าว หุ้น ธุรกิจ เศรษฐกิจ วันที่ 30 มกราคม 2566 (รอบเช้า)
ข่าว หุ้น ธุรกิจ เศรษฐกิจ วันที่ 30 มกราคม 2566 ตลาดจับตาเฟดแถลงผลการประชุมวันพุธนี้ คาดขึ้นดอกเบี้ย
เมื่อวันศุกร์ 12 พ.ย. 64 ที่ผ่านมา เงินบาทปิดตลาดในประเทศที่ระดับ 32.80 เทียบกับระดับ 33.32 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันที่ 5 พ.ย.64 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สรุปความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทว่า เงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 2 เดือนที่ 32.73 บาทต่อดอลลาร์ฯ เงินบาทขยับแข็งค่าขึ้นเกือบตลอดสัปดาห์สอดคล้องกับสัญญาณเงินทุนไหลเข้า โดยเฉพาะตลาดพันธบัตรไทย นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิพันธบัตรไทยประมาณ 4.76 หมื่นล้านบาทระหว่างวันที่ 8-12 พ.ย.64 ประกอบกับน่าจะมีอานิสงส์จากแรงขายเงินดอลลาร์ฯ ของกลุ่มผู้ส่งออกตามจังหวะการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำในตลาดโลก ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ผลสำรวจภาคการผลิตของเฟดสาขานิวยอร์กและเฟดสาขาฟิลาเดลเฟีย ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือนพ.ย. ยอดค้าปลีก การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีราคานำเข้าและส่งออก ข้อมูลการเริ่มสร้างบ้านเดือนต.ค. และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์
โดยเงินบาทลดช่วงแข็งค่าลงบางส่วนระหว่างสัปดาห์ เนื่องจากเงินดอลลาร์ฯ ฟื้นตัวขึ้นหลังจากอัตราเงินเฟ้อ (CPI) ของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 30 ปี ซึ่งทำให้นักลงทุนเริ่มให้น้ำหนักต่อความเป็นไปที่เฟดอาจจะจำเป็นต้องส่งสัญญาณคุมเข้มทางการเงินเร็วขึ้น
สำหรับตลาดยังรอติดตามตัวเลขจีดีพีไตรมาส 3 ของญี่ปุ่นและยูโรโซน ตลอดจนข้อมูลเศรษฐกิจเดือนต.ค. ของจีน อาทิ ยอดค้าปลีก ดัชนีราคาบ้าน การผลิตภาคอุตสาหกรรม และการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร
สำหรับความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นไทย หุ้นไทยปรับตัวขึ้นจากสัปดาห์ก่อน โดยดัชนี SET ปิดที่ระดับ 1,633.94 จุด เพิ่มขึ้น 0.47% จากสัปดาห์ก่อน ขณะที่มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 72,080.92 ล้านบาท ลดลง 6.28% จากสัปดาห์ก่อน ส่วนดัชนี mai เพิ่มขึ้น 1.99% มาปิดที่ 558.09 จุด
ทั้งนี้หุ้นไทยขยับขึ้นตามตลาดหุ้นภูมิภาค โดยมีแรงหนุนช่วงต้นสัปดาห์จากแรงซื้อของต่างชาติ อย่างไรก็ดีหุ้นไทยเคลื่อนไหวในกรอบแคบในช่วงกลางสัปดาห์เนื่องจากขาดปัจจัยหนุนใหม่ๆ
ประกอบกับทิศทางตลาดหุ้นต่างประเทศในภาพรวมถูกกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อของสหรัฐฯ และการคาดการณ์เกี่ยวกับจังหวะการขึ้นดอกเบี้ยของเฟด ในสัปดาห์นี้ หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีร่วงลงจากเรื่องการปรับเกณฑ์คัดหุ้นเข้าดัชนี SET50 และ SET100 ขณะที่หุ้นกลุ่มพลังงานปรับตัวลงตามทิศทางราคาน้ำมันในตลาดโลก
ขอบคุณ : กรุงเทพธุรกิจ
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา คือวันที่ 8-12 พ.ย.64 หุ้นน้องใหม่ไอพีโอ ไม่ทำให้ผู้ถือหุ้นผิดหวังหากขายหุ้นในวันแรก หลังเทรดวันแรก กำไร ด้วย หุ้น เบริล 8 พลัส หรือ BE8 กลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยี โดยเข้าซื้อขายวันแรก ในวันที่ 8 พ.ย.64 อยู่ที่ 26 บาทต่อหุ้น เพิ่มขึ้น 16 บาท ทะยานไปที่ 160% จากราคา IPO 10 บาทต่อหุ้น
ด้าน หุ้น ปิ่นทอง อินดัสเตรียล ปาร์ค หรือ PIN น้องใหม่รายล่าสุดในรอบกว่า 10 ปี ในกลุ่มอุตสาหกรรมนิคมอุตสาหกรรมที่เข้าระดมทุนเมื่อ 9 พ.ย. ที่ผ่านมา โดยเปิดซื้อขายวันแรก 4 บาทต่อหุ้น เพิ่มขึ้น 2.56% จากราคาไอพีโอ 3.90 บาทต่อหุ้น ฟาก “บล.ฟินันเซีย ไซรัส” ระบุว่า หุ้น PIN ถือเป็นผู้ประกอบการนิคมอุตสาหกรรมที่มี “จุดเด่น” ด้านทำเลที่ตั้งในเขตเศรษฐกิจพิเศษ (EEC) แม้ปี 2563-2564 ถูกกระทบจาก Lockdown จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่คาดกำไรกำลังเข้าสู่วัฏจักรการเติบโตอีกครั้งหลังเปิดเมืองและการเปิดให้บริการ PIN6
โดยหลังจากที่บมจ.คอมเซเว่น หรือ COM7 โชว์ตัวเลขผลประกอบการไตรมาส 3 ปี 2564 ได้กำไรสุทธิ 570.5 ล้านบาท พุ่งกว่า 53% ขณะที่โกย รายได้ ไปที่10,098.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12.1% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน แม้ในสถานการณ์โควิด-19 รุนแรง มีการล็อกดาวน์และปิดห้างสรรพสินค้าชั่วคราว แต่ COM7 ปรับกลยุทธ์ด้วยการเพิ่มช่องทาง Pop Up Store และ Stand Alone เสริมทัพ ควบคู่การขายผ่านออนไลน์ด้วย
ด้านบมจ. เจเอเอส แอสเซ็ท หรือ J หนึ่งในบริษัทไซด์เล็กสุดใน กลุ่ม เจมาร์ท (JMART) ได้ฤกษ์เปิดตัวตัวโครงการศูนย์การค้าขนาดเล็ก (Community Mall) แห่งที่ 5 “JAS Green Village” ถนนคู้บอน “สุพจน์ สิริกุลภัสสร์” ซีอีโอ J ลั่นกำลังเร่งทำงานทั้งวันทั้งคืนเพื่อให้เปิดเชิงพาณิชย์ทันต้นเดือนธ.ค.นี้ โดยปัจจันมีเพื่อน (ร้านค้า) เช่าพื้นที่กว่า 90% แล้ว ไม่คิดว่าภายใต้สถานการณ์โควิด-19 จะได้รับกระแสตอบรับจากร้านค้ามากขนาดนี้
ขอบคุณ กรุงเทพธุรกิจ
เรือโทกมลศักดิ์ พรหมประยูร ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ในส่วนของท่าเทียบเรือ F โดยระบุว่า ปัจจุบันร่างสัญญาร่วมลงทุนในโครงการดังกล่าวผ่านการเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 9 พ.ย.ที่ผ่านมา จึงถือว่าขั้นตอนการคัดเลือกเอกชนแล้วเสร็จ หลังจากนี้จะเข้าสู่ขั้นตอนลงนามสัญญา ซึ่งเบื้องต้นคาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ภายในเดือน พ.ย.นี้ หรืออย่างช้าไม่เกินต้นเดือน ธ.ค.2564
โดยโครงการแหลมฉบัง 3 ถือเป็นโครงการในอีอีซีฟาสต์แทร็กที่ล่าช้าที่สุด หากเทียบกับโครงการอื่นอย่างรถไฟความเร็วสูง เมืองการบินอู่ตะเภา และท่าเรือมาบตาพุด เพราะโครงการนี้เสียเวลากับการสู้คดีกรณีเอกชนฟ้องร้องถึงกระบวนการคัดเลือกไปถึง 1 ปี รวมระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่เริ่มเปิดประกวดราคาเป็นเวลากว่า 2 ปี 7 เดือน 12 วัน
หลังจากนี้คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) จะเป็นผู้ประสานการลงนามสัญญากับกลุ่มกิจการร่วมค้า GPC ประกอบด้วย บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) บริษัทพีทีที แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด (PTT TANK) บริษัท ไชน่า ฮาร์เบอร์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด โดยจะเชิญ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีลงนาม
แบ่งออกเป็น 4 โครงการ มูลค่ารวม 5 หมื่นล้านบาท ประกอบด้วย
1.ก่อสร้างงานทางทะเลกับกิจการร่วมค้า ซีเอ็นเอ็นซี วงเงินรวม 21,320 ล้านบาท โดยปัจจุบันได้เริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่วันที่ 5 พ.ค.ที่ผ่านมา คาดแล้วเสร็จ 2566
2.การก่อสร้างอาคาร ท่าเรือเรือ ระบบถนน และระบบสาธารณสุข มูลค่า 6,502 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาเอกสารประกวดราคา (ทีโออาร์) คาดว่าจะสามารถปะกวดราคาภายในปีนี้ เพื่อเร่งรัดให้ทยอยแล้วเสร็จรองรับการส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนในปี 2566
3.สร้างระบบทางรถไฟ จะทยอยดำเนินการหลังจากนี้
4.ลงทุนเทคโนโลยีเข้ามาบริหารจัดการ ตลอดจนหาเครื่องมือระบบกึ่งอัตโนมัติให้บริการ จะทยอยดำเนินการหลังจากนี้
สำหรับโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ตามแผนพัฒนาจะมีมูลค่าการลงทุนรวมประมาณ 1.1 แสนล้านบาท แบ่งออกเป็น ภาครัฐลงทุนประมาณ 5 หมื่นล้านบาท ในส่วนของงานโครงสร้างพื้นฐานที่ระบไว้ข้างต้น ขณะที่เอกชนลงทุนประมาณ 6 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็น 1.ลงทุนในท่าเทียบเรือ F ประมาณ 3หมื่นล้านบาท ที่ปัจจุบันได้กลุ่มกิจการร่วมค้า GPC เป็นผู้ร่วมลงทุน 2.ท่าเทียบเรือ E ประมาณ 2.5 หมื่นล้านบาท และ 3.ท่าเทียบเรือ E0 ประมาณ 5 พันล้านบาท จะเป็นแผนลงทุนในอีก 10 ปีข้างหน้า หรือราวปี 2573
ขณะที่ผลการดำเนินงานในรอบปีงบประมาณ 2564 กทท.มีปริมาณตู้สินค้าผ่านท่า ณ ท่าเรือกรุงเทพ 1.4 ล้าน ที.อี.ยู.ใกล้เคียงปีก่อน ส่วนท่าเรือแหลมฉบัง มีปริมาณรวม 8.42 ล้าน ที.อี.ยู. เพิ่มขึ้น 10% และปริมาณเรือเทียบท่ารวม 11,041 เที่ยว ลดลง 0.46% โดย กทท. มีกำไรสุทธิในภาพรวมประมาณ 6,023 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.99% เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ส่วนในปี 2565 เบื้องต้นประเมินว่าจะมีรายได้ 1.59 หมื่นล้านบาท และเพิ่มต่อเนื่องในปี 2566 คาดรายได้ 1.6 หมื่นล้านบาท
ขอบคุณ กรุงเทพธุรกิจ
นิกเคอิ เอเชีย รายงานว่า เศรษฐกิจดิจิทัลของกลุ่มประเทศอาเซียน ได้รับปัจจัยบวกจากจำนวนผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงสถานการณ์โรคระบาดรุนแรง รวมถึงบริษัทสตาร์ตอัพเทคโนโลยีที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคนี้คาดว่าจะมีมูลค่าถึง 3.63 แสนล้านดอลลาร์ภายในปี 2025 และมีโอกาสแตะระดับ 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2030
e-Conomy SEA Report 2021 จัดทำโดยบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่อย่าง “กูเกิล” ร่วมกับกองทุน “เทมาเส็ก” ของสิงคโปร์ และบริษัทที่ปรึกษาธุรกิจ “เบนแอนด์โค” ล่าสุดเมื่อวันที่ 10 พ.ย.ที่ผ่านมา ที่ทำการสำรวจวิเคราะห์ครอบคลุมประเทศเศรษฐกิจในอาเซียน 6 ประเทศ ได้แก่ เวียดนาม ไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย โดยภูมิภาคอาเซียนมีจำนวนผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตรายใหม่เพิ่มขึ้นถึง 40 ล้านคนในปีนี้ ส่งผลให้ปัจจุบันมียอดรวมของผู้เข้าถึงอินเตอร์เน็ตในอาเซียนอยู่ที่ราว 350 ล้านคน คิดเป็น 75% ของประชากรทั้งภูมิภาค และในจำนวนดังกล่าวราว 8 ใน 10 รายเคยสั่งซื้อของออนไลน์อย่างน้อย 1 ครั้ง
สเตฟานี เดวิส รองประธานกูเกิลประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระบุว่า ก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 เมืองใหญ่ในภูมิภาคเป็นพื้นที่ที่มีการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตและการบริโภคออนไลน์สูงที่สุด แต่เห็นสัญญาณความเปลี่ยนแปลงที่อย่างชัดเจนในเวลานี้ มีจำนวนผู้เข้าถึงอินเตอร์เน็ตในพื้นที่นอกเมืองมีมากขึ้นเรื่อย ๆ และกลายมาเป็นผู้บริโภคกลุ่มใหญ่ในปี 2020 และขยายตัวมากขึ้นในปีนี้ โดยเราจะเริ่มมองไม่เห็นความแตกต่างระหว่างผู้บริโภคในเมืองและในชนบท ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวส่งผลให้มูลค่าของเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียนในปีนี้อยู่ที่ 1.74 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 49% จาก 1.17 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2020 ไม่เพียงจำนวนผู้เข้าถึงอินเตอร์เน็ตที่ขยายตัวเท่านั้น แต่สตาร์ตอัพด้านเทคโนโลยีที่เพิ่มมากขึ้นในภูมิภาคก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้มูลค่าของเศรษฐกิจดิจิทัลของอาเซียนเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะสตาร์ตอัพที่กลายเป็น “ยูนิคอร์น” ด้วยมูลค่าบริษัทสูงกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่ปีนี้มีจำนวนเพิ่มขึ้นถึง 11 ราย ส่งผลให้ปัจจุบันอาเซียนมียูนิคอร์นรวมเป็น 23 ราย ยูนิคอร์นหน้าใหม่ที่เกิดขึ้น อาทิ คาร์โร แพลตฟอร์มขายรถมือสอง, นินจา แวน ผู้ให้บริการขนส่งพัสดุ ซึ่งทั้ง 2 ราย เป็นสตาร์ตอัพของสิงคโปร์ ส่วนบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่อย่าง แกร็บ และ โกทู ยังคงเป็นที่จับตาของนักลงทุนทั่วโลก เช่นเดียวกับกลุ่ม ซี กรุ๊ป ยักษ์เทคโนโลยีของสิงคโปร์ที่กลายเป็นบริษัทมาแรง ด้วยมูลค่าตลาด ถึง 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการเป็นเจ้าของแพลตฟอร์มยอดนิยม ไม่ว่าจะเป็นเกมออนไลน์อย่าง การีน่า และช็อปปิ้งออนไลน์อย่าง ช้อปปี้
โดยกระแสเงินทุนของนักลงทุนทั่วโลกในสตาร์ตอัพเทคโนโลยีของอาเซียนพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ โดยมูลค่าข้อตกลงทางธุรกิจในบริษัทเทคโนโลยีอาเซียนช่วง 6 เดือนแรกปีนี้ อยู่ที่ 11,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นราว 65% จากช่วงเดียวกันของปี 2020 และเกือบเท่ากับมูลค่ารวมของข้อตกลงตลอดทั้งปี 2020 ที่ 11,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ทั้งนี้สำหรับในไทยปีนี้ถือว่าเป็นปีทองของสตาร์ทอัพ เพราะเกิดสตาร์ทอัพ ที่มีมูลค่าธุรกิจ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 33,000 ล้านบาท หรือที่เรียกว่า “ยูนิคอร์น”เกิดขึ้น 3 รายรวด เริ่มต้นจากแฟลช กรุ๊ป ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ และอีคอมเมิร์ซครบวงจร ที่ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาสามารถปิดดีลยักษ์จากการระดมทุนรอบซีรีส์ D+ และ ซีรีส์ฺ E จากกลุ่ม Buer Capital Limited และ SCB 10X เข้าร่วมทุน พร้อม eWTP -โออาร์-เดอเบล-กรุงศรีฟินโนเวต ที่ลงเพิ่มได้เม็ดเงินรวมไปกว่า 150 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 4,700 ล้านบาท นับเป็นสตาร์ทอัพไทยรายแรก ที่สามารถระดมทุนรวมได้มากที่สุดในระยะเวลาเพียงแค่ 3 ปี ทำให้ธุรกิจมีมูลค่ามากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์ หรือกว่า 30,000 กลายเป็นยูนิคอร์นรายแรกของไทย และประกาศขึ้นเป็นขนส่งเอกชนอันดับ 1 ด้วยตัวเลขจัดส่งพัสดุต่อวันสูงสุดร่วม 2 ล้านชิ้น
ล่าสุดที่ปิดดีลกันในเดือนพฤศจิกายน โดยกลุ่มเอสซีบี เอ็กซ์” SCBX เข้าลงทุนใน Bitkub “บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด” (Bitkub Online Co., Ltd.) ผู้นำด้านศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลของประเทศไทย (Digital Asset Exchange) ผ่านการเข้าซื้อหุ้นสามัญในสัดส่วน 51% ของจำนวนหุ้นทั้งหมดจาก Bitkub บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (Bitkub Capital Group Holdings Co., Ltd.) คิดเป็นมูลค่ารวมประมาณ 17,850 ล้านบาท
ขอบคุณ ฐานเศรษฐกิจ
นิกเคอิ เอเชีย รายงานว่า เศรษฐกิจดิจิทัลของกลุ่มประเทศอาเซียน ได้รับปัจจัยบวกจากจำนวนผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงสถานการณ์โรคระบาดรุนแรง รวมถึงบริษัทสตาร์ตอัพเทคโนโลยีที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคนี้คาดว่าจะมีมูลค่าถึง 3.63 แสนล้านดอลลาร์ภายในปี 2025 และมีโอกาสแตะระดับ 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2030
e-Conomy SEA Report 2021 จัดทำโดยบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่อย่าง “กูเกิล” ร่วมกับกองทุน “เทมาเส็ก” ของสิงคโปร์ และบริษัทที่ปรึกษาธุรกิจ “เบนแอนด์โค” ล่าสุดเมื่อวันที่ 10 พ.ย.ที่ผ่านมา ที่ทำการสำรวจวิเคราะห์ครอบคลุมประเทศเศรษฐกิจในอาเซียน 6 ประเทศ ได้แก่ เวียดนาม ไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย โดยภูมิภาคอาเซียนมีจำนวนผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตรายใหม่เพิ่มขึ้นถึง 40 ล้านคนในปีนี้ ส่งผลให้ปัจจุบันมียอดรวมของผู้เข้าถึงอินเตอร์เน็ตในอาเซียนอยู่ที่ราว 350 ล้านคน คิดเป็น 75% ของประชากรทั้งภูมิภาค และในจำนวนดังกล่าวราว 8 ใน 10 รายเคยสั่งซื้อของออนไลน์อย่างน้อย 1 ครั้ง
สเตฟานี เดวิส รองประธานกูเกิลประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระบุว่า ก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 เมืองใหญ่ในภูมิภาคเป็นพื้นที่ที่มีการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตและการบริโภคออนไลน์สูงที่สุด แต่เห็นสัญญาณความเปลี่ยนแปลงที่อย่างชัดเจนในเวลานี้ มีจำนวนผู้เข้าถึงอินเตอร์เน็ตในพื้นที่นอกเมืองมีมากขึ้นเรื่อย ๆ และกลายมาเป็นผู้บริโภคกลุ่มใหญ่ในปี 2020 และขยายตัวมากขึ้นในปีนี้ โดยเราจะเริ่มมองไม่เห็นความแตกต่างระหว่างผู้บริโภคในเมืองและในชนบท ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวส่งผลให้มูลค่าของเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียนในปีนี้อยู่ที่ 1.74 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 49% จาก 1.17 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2020 ไม่เพียงจำนวนผู้เข้าถึงอินเตอร์เน็ตที่ขยายตัวเท่านั้น แต่สตาร์ตอัพด้านเทคโนโลยีที่เพิ่มมากขึ้นในภูมิภาคก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้มูลค่าของเศรษฐกิจดิจิทัลของอาเซียนเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะสตาร์ตอัพที่กลายเป็น “ยูนิคอร์น” ด้วยมูลค่าบริษัทสูงกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่ปีนี้มีจำนวนเพิ่มขึ้นถึง 11 ราย ส่งผลให้ปัจจุบันอาเซียนมียูนิคอร์นรวมเป็น 23 ราย ยูนิคอร์นหน้าใหม่ที่เกิดขึ้น อาทิ คาร์โร แพลตฟอร์มขายรถมือสอง, นินจา แวน ผู้ให้บริการขนส่งพัสดุ ซึ่งทั้ง 2 ราย เป็นสตาร์ตอัพของสิงคโปร์ ส่วนบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่อย่าง แกร็บ และ โกทู ยังคงเป็นที่จับตาของนักลงทุนทั่วโลก เช่นเดียวกับกลุ่ม ซี กรุ๊ป ยักษ์เทคโนโลยีของสิงคโปร์ที่กลายเป็นบริษัทมาแรง ด้วยมูลค่าตลาด ถึง 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการเป็นเจ้าของแพลตฟอร์มยอดนิยม ไม่ว่าจะเป็นเกมออนไลน์อย่าง การีน่า และช็อปปิ้งออนไลน์อย่าง ช้อปปี้
โดยกระแสเงินทุนของนักลงทุนทั่วโลกในสตาร์ตอัพเทคโนโลยีของอาเซียนพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ โดยมูลค่าข้อตกลงทางธุรกิจในบริษัทเทคโนโลยีอาเซียนช่วง 6 เดือนแรกปีนี้ อยู่ที่ 11,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นราว 65% จากช่วงเดียวกันของปี 2020 และเกือบเท่ากับมูลค่ารวมของข้อตกลงตลอดทั้งปี 2020 ที่ 11,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ทั้งนี้สำหรับในไทยปีนี้ถือว่าเป็นปีทองของสตาร์ทอัพ เพราะเกิดสตาร์ทอัพ ที่มีมูลค่าธุรกิจ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 33,000 ล้านบาท หรือที่เรียกว่า “ยูนิคอร์น”เกิดขึ้น 3 รายรวด เริ่มต้นจากแฟลช กรุ๊ป ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ และอีคอมเมิร์ซครบวงจร ที่ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาสามารถปิดดีลยักษ์จากการระดมทุนรอบซีรีส์ D+ และ ซีรีส์ฺ E จากกลุ่ม Buer Capital Limited และ SCB 10X เข้าร่วมทุน พร้อม eWTP -โออาร์-เดอเบล-กรุงศรีฟินโนเวต ที่ลงเพิ่มได้เม็ดเงินรวมไปกว่า 150 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 4,700 ล้านบาท นับเป็นสตาร์ทอัพไทยรายแรก ที่สามารถระดมทุนรวมได้มากที่สุดในระยะเวลาเพียงแค่ 3 ปี ทำให้ธุรกิจมีมูลค่ามากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์ หรือกว่า 30,000 กลายเป็นยูนิคอร์นรายแรกของไทย และประกาศขึ้นเป็นขนส่งเอกชนอันดับ 1 ด้วยตัวเลขจัดส่งพัสดุต่อวันสูงสุดร่วม 2 ล้านชิ้น
ล่าสุดที่ปิดดีลกันในเดือนพฤศจิกายน โดยกลุ่มเอสซีบี เอ็กซ์” SCBX เข้าลงทุนใน Bitkub “บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด” (Bitkub Online Co., Ltd.) ผู้นำด้านศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลของประเทศไทย (Digital Asset Exchange) ผ่านการเข้าซื้อหุ้นสามัญในสัดส่วน 51% ของจำนวนหุ้นทั้งหมดจาก Bitkub บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (Bitkub Capital Group Holdings Co., Ltd.) คิดเป็นมูลค่ารวมประมาณ 17,850 ล้านบาท
ขอบคุณ ฐานเศรษฐกิจ
คลังเปิดขายพันธบัตรออมทรัพย์ ตั้งแต่ 15 พ.ย.-3 ธ.ค64
น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กระทรวงการคลังจะเปิดขายพันธบัตรออมทรัพย์รุ่นออมไปด้วยกัน วงเงิน 8 หมื่นล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 15 พ.ย.-3 ธ.ค. 2564 รัฐบาลจึงขอเชิญชวนประชาชนมาลงทุนเพื่อเป็นอีกทางเลือกในการเพิ่มการออมที่มีความเสี่ยงต่ำ ให้ผลตอบแทนดี โดยช่องทางการจำหน่ายหลากหลาย สะดวกในการเลือกลงทุนแบ่งเป็น 2 รุ่นอายุ คือ อายุ 5 ปี และ 10 ปี ช่องทางการจำหน่ายแยกเป็น 2 ส่วน รายละเอียดดังนี้ ส่วนที่ 1 จำหน่ายในวอลเล็ต สบม. บนแอปพลิเคชันเป๋าตัง วงเงินรวม 1 หมื่นล้านบาท เปิดจำหน่ายตั้งแต่วันที่ 15 พ.ย.-3 ธ.ค. 2564 โดยพันธบัตรรุ่นอายุ 5 ปี จ่ายดอกเบี้ยเป็นขั้นบันได ปีที่ 1 ร้อยละ 1.5 ต่อปี ปีที่ 2-4 ร้อยละ 2 ต่อปี และ ปีที่ 5 ร้อยละ 3 ต่อปี เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.10 ต่อปี ส่วนรุ่นอายุ 10 ปี จ่ายดอกเบี้ยเป็นขั้นบันได ปีที่ 1-3 ร้อยละ 2 ต่อปี ปีที่ 4-5 ร้อยละ 3 ต่อปี ปีที่ 6-9 ร้อยละ 3.50 ต่อปี และปีที่10 ร้อยละ 4 ต่อปี เฉลี่ยร้อยละ 3 ต่อปี จ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน สามารถลงทุนได้ตั้งแต่ 100 บาท ถึง 10 ล้านบาท
คุณสมบัติผู้ซื้อเป็นบุคคลสัญชาติไทยอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป แต่กรณีผู้เยาว์เมื่อลงทะเบียนในวอลเล็ต สบม. บนแอปพลิเคชั่นเป๋าตังแล้วต้องไปยืนยันตัวตนพร้อมผู้ปกครองที่สาขาธนาคารกรุงไทยสำหรับการซื้อครั้งแรก
ส่วนที่ 2 จำหน่ายให้แก่ประชาชนและนิติบุคคลไม่แสวงหากำไรผ่านธนาคารตัวแทนจำหน่าย 4 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ วงเงิน 70,000 ล้านบาท ลงทุนได้ตั้งแต่ 1,000 บาท โดยไม่จำกัดวงเงินซื้อขั้นสูง
โดยจะแยกเป็นการจำหน่ายให้ประชาชนทั่วไปก่อนในวงเงิน 5.5 หมื่นล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 22 พ.ย. – 3 ธ.ค. 2564 อัตราดอกเบี้ยทั้งรุ่นอายุ 5 ปี และ 10 ปี และรอบการจ่ายดอกเบี้ยเหมือนกับผู้ลงทุนผ่านแอปพลิชั่นเป๋าตัง โดยประชาชนที่สนใจสามารถลงทุนผ่านทั้งเคาน์เตอร์ธนาคาร อินเตอร์เน็ตแบงกิ้งและโมบายแบงกิ้งของธนาคารทั้ง 4 แห่ง คุณสมบัติผู้ลงทุนเช่นเดียวกับการลงทุนผ่านแอปพลิเคชั่นเป๋าตัง หากเป็นผู้เยาว์ต้องมีบัญชีธนาคารตัวแทนจำหน่ายและได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองก่อน
ส่วนที่เหลือ 1.5 หมื่นล้านบาทจำหน่ายให้แก่นิติบุคคลไม่แสวงหากำไร มีเฉพาะรุ่นอายุ 10 ปี เปิดจำหน่ายตั้งแต่ 24 พ.ย.-3 ธ.ค. 2564 ดอกเบี้ยคงที่ ร้อยละ 2.20 จ่ายดอกเบี้ยทุก 6 เดือน โดยจำหน่ายเฉพาะช่องทางเคาน์เตอร์ธนาคารทั้ง 4 แห่งรัฐบาลให้ความสำคัญกับการส่งเสริมให้ประชาชนมีการออมในรูปแบบต่างๆ จึงมีการพัฒนาทั้งผลิตภัณฑ์การเงินของภาครัฐ ช่องทางการอำนวยความสะดวกในการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในวงเงิน 8 หมื่นล้านบาท ครั้งนี้กระทรวงการคลังก็ได้เน้นจำหน่ายให้แก่ประชาชนรายย่อย 6.5 หมื่นล้านบาท ส่วนที่เหลือ 1.5 หมื่นล้านบาทจำหน่ายแก่นิติบุคคลไม่แสวงหากำไรกระทรวงการคลังมีแผนออกพันธบัตรออมทรัพย์ในปีงบประมาณ 2565 รวม 1.5 แสนล้านบาท รอบนี้ออกพันธบัตร 8 หมื่นล้านบาทแล้ว ส่วนอีก 7 หมื่นล้านบาท จะออกจำหน่ายช่วงเดือน พ.ค.-ก.ย. 2565
ขอบคุณ สำนักข่าวอินโฟเควสท์
ข่าว หุ้น ธุรกิจ เศรษฐกิจ วันที่ 30 มกราคม 2566 ตลาดจับตาเฟดแถลงผลการประชุมวันพุธนี้ คาดขึ้นดอกเบี้ย
ข่าว หุ้น ธุรกิจ เศรษฐกิจ วันที่ 24 มกราคม 2566 (รอบเช้า) ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก: ยูโรแข็งเทียบดอลล์ ร
ข่าว หุ้น ธุรกิจ เศรษฐกิจ วันที่ 20 มกราคม 2566 (รอบเช้า) ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก: ทองปิดพุ่ง $16.90 เ
ข่าว หุ้น ธุรกิจ เศรษฐกิจ วันที่ 21 ธันวาคม 2565 (รอบเช้า) ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก: ทองปิดพุ่ง $27.7 ด
ข่าว หุ้น ธุรกิจ เศรษฐกิจ วันที่ 20 ธันวาคม 2565 (รอบบ่าย) ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก: ดอลล์แข็งค่าเล็กน้อ
ข่าว หุ้น ธุรกิจ เศรษฐกิจ วันที่ 20 ธันวาคม 2565 (รอบเช้า) ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก: ทองปิดลบ $2.5 บอนด